ผู้เขียน หัวข้อ: รามาฯ เปิดคลินิกแปลงเพศสาวหล่อ เนรมิตเจ้าโลกจากเนื้อต้นขา  (อ่าน 1135 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์


โรงพยาบาลรามาธิบดีเล็งขยับขยายบริการคลินิกเพศหลากหลายในวัยรุ่น ทำเป็น Excellent Center เชื่อมบริการเรื่องเพศครบวงจร รวมถึงการผ่าตัดแปลงเพศ ศัลยแพทย์ชี้ผ่าตัดเปลี่ยนหญิงเป็นชายยากกว่าเปลี่ยนชายเป็นหญิง พร้อมปรับวิธีสร้าง “เจ้าโลก” ให้กับสาวอยากหล่อ เล็งพัฒนาใช้เนื้อต้นขาแทนท้องแขน

จากกระแสความหลากหลายทางเพศและกลุ่มผู้ต้องการแปลงเพศมีเพิ่มขึ้น ผู้สื่อข่าวรายงานเมื่อวันที่ 20 ก.ค. หลังได้รับการเปิดเผยจาก พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น คลินิกเพศหลากหลายในวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ว่า ปัจจุบันคลินิกเพศหลากหลายในวัยรุ่นของโรงพยาบาลรามาธิบดีจะเน้นให้คำปรึกษาเพื่อความเข้าใจในเรื่องความหลากหลายทางเพศ รวมไปถึงเรื่องการใช้ฮอร์โมนในการเปลี่ยนแปลงเพศอย่างเหมาะสม ส่วนการผ่าตัดเปลี่ยนแปลงเพศนั้น โรงพยาบาลรามาธิบดีมีให้บริการอยู่แล้ว แต่เป็นคนละส่วนกับคลินิก แต่ทางโรงพยาบาลอยู่ระหว่างหารือว่าจะมีการดำเนินการให้คลินิกเป็นเอ็กเซลเลนท์ เซ็นเตอร์ (Excellent Center) เพื่อให้บริการอย่างครบวงจรหรือไม่

ขณะที่ พญ.งามเฉิด สิตภาหุล ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมพลาสติก โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึงการผ่าตัดแปลงเพศว่า ไม่ใช่ผ่าตัดแค่ตัวอวัยวะเพศ แต่เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจากเพศชายกลายเป็นเพศหญิง หรือจากเพศหญิงกลายเป็นเพศชาย เช่น หน้า หน้าอก กราม เป็นต้น ทั้งนี้ การแปลงเพศชายเป็นหญิงง่ายกว่า เพราะผู้ชายมีเนื้อเยอะกว่า เพียงตัดองคชาตออก สร้างรู แล้วเอาปุ่มความรู้สึกส่วนปลายองคชาตมาเป็นปุ่มกระสัน หรือคริตอริสของผู้หญิง แล้วเอาเนื้อที่ตัดออกที่เหลือมาทำแคมนอก แคมใน

ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมพลาสติก กล่าวอีกว่า ส่วนการแปลงผู้หญิงเป็นผู้ชาย จะต้องตัดหน้าอกลดขนาด ดูดไขมันออก เพราะสรีระผู้หญิงไขมันมักไปกองที่หน้าท้อง บั้นท้าย และต้นขา ส่วนการสร้างอวัยวะเพศชายขึ้นมาจะลำบาก เพราะผู้หญิงมีเนื้อไม่พอ ที่นิยมคือใช้เนื้อบริเวณท้องแขนมาสร้างเป็นอวัยวะเพศชายแล้วต่อเส้นเลือด แต่ขณะนี้ รพ.รามาฯกำลังพัฒนาใช้เนื้อที่ต้นขา มาสร้างเป็นอวัยวะเพศ เพราะจะมองเห็นแผลยากกว่าท้องแขน

นพ.พัฒน์ มหาโชคเลิศวัฒนา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวถึงการผ่าตัดแปลงเพศว่า ฮอร์โมนเพศจะส่งผลกระทบต่อรูปร่างเมื่อโตเป็นหนุ่มสาว โดยเพศชายจะผลิตฮอร์โมนเพศจากอัณฑะ ส่วนเพศหญิงผลิตจากรังไข่ หากต้องการเปลี่ยนแปลงเพศก็ต้องหาทางยับยั้งฮอร์โมนเพศตัวเอง อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่รอการแปลงเพศ ต้องทดลองใช้ชีวิตข้ามเพศ 1 ปี ว่ามีปัญหาหรือไม่ นอกจากนี้ หลังผ่าตัดแปลงเพศแล้วต้องกินฮอร์โมนข้ามเพศไปตลอดชีวิต และการจะเปลี่ยนเพศต้องมีการประเมินจากจิตแพทย์วัยรุ่นด้วยล





ที่มา http://www.thairath.co.th/