ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อควรรู้ของการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีทางห้องปฏิบัติการ  (อ่าน 12859 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
ข้อควรรู้ของการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีทางห้องปฏิบัติการ



            โดย สมาคมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาธินัดดามาตุ
เชื้อเอชไอวีเป็นสาเหตุของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ ในปัจจุบันมียาต้านไวรัสใช้เพื่อลดปริมาณไวรัสทำให้ร่างกายสามารถควบคุมเชื้อได้ และยังเป็นการป้องกันการแพร่เชื้อจากมารดาที่ติดเชื้อไปสู่ทารกได้แล้ว ดังนั้นการทราบสถานะภาพการติดเชื้อไวรัสนี้จึงมีความสำคัญในการป้องกันการแพร่เชื้อเละพิจารณาการรักษา
              คำนิยามผู้ติดเชื้อเอชไอวีหมายถึงผู้ได้รับการตรวจพบว่ามีการติดเชื้อไวรัสจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ อาจมีอาการหรือยังไม่มีอาการแสดงใดๆก็ได้ การทดสอบที่นิยมตรวจมากที่สุดเป็นหาแอนติบอดีต่อเชื้อ (anti-HIV) ในเลือด เนื่องจากผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่สร้าง anti-HIV หลังติดเชื้อโดยเฉลี่ยประมาณ 2-3 สัปดาห์ ถ้าผลการตรวจไม่พบในชุดคัดกรองเบื้องต้น ห้องปฏิบัติการสามารถรายงานหรือตอบได้เลยว่าเป็นผลลบ แต่ถ้าตรวจพบ (reactive) ในครั้งแรกจะตรวจวิเคราะห์ต่อด้วยชุดคัดกรองเสริมที่แตกต่างไปอีกสองชุดการตรวจให้ครบ เพื่อวินิจฉัยได้ว่าผลบวกจากการติดเชื้อเอชไอวี กลวิธีหรือลำดับขั้นตอนการทดสอบรูปแบบนี้เป็นแนวทางการวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีรายบุคคลในระดับชาติตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ถ้าตรวจพบตรงกันทั้ง 3 วิธี จึงรายงานผล anti-HIV เป็นผลบวก (positive) ในกรณีเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่หรือตรวจเป็นครั้งแรก แนะนำให้มีการเจาะเลือดตรวจซ้ำเพื่อยืนยันตัวบุคคล แต่ถ้าการทดสอบให้ผลไม่ตรงกัน ทางห้องปฏิบัติการรายงานเป็นสรุปผลไม่ได้ (inconclusive) แนะนำตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสเพื่อสนับสนุนการติดเชื้อเพิ่มเติม หรือติดตามเจาะเลือดตรวจ anti-HIV ซ้ำใหม่เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงเป็นระยะ
               ในผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีเช่น ผู้ติดสารเสพติดที่ใช้เข็มร่วมกัน หรือผู้ที่อาจมีโอกาสแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นเช่น ผู้บริจาคเลือดหรือหญิงตั้งครรภ์ มีความจำเป็นต้องค้นหาร่องรอยของการติดเชื้อเพื่อความปลอดภัยของผู้รับหรือทารกในครรภ์ การตรวจหา anti-HIV เพียงอย่างเดียวอาจตรวจไม่พบโดยเฉพาะในกรณีที่เพิ่งติดเชื้อ ทางห้องปฏิบัติการจะตรวจหาแอนติเจนของเชื้อไวรัสร่วมกับ anti-HIV พร้อมกันไปด้วย





*************************************
ที่มา : https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=880349998712237&id=121179724629272&fref=nf




ออฟไลน์ Ideezuba

  • medtech ปี 1
  • *
  • กระทู้: 2
แบบนี้นี่เอง