ผู้เขียน หัวข้อ: สบส.ส่งทีมตรวจ ‘มาตรฐาน-ความเที่ยงตรง’ เครื่องมือแพทย์ใน รพ.สธ.  (อ่าน 1097 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
สบส.ส่งทีมตรวจ ‘มาตรฐาน-ความเที่ยงตรง’ เครื่องมือแพทย์ใน รพ.สธ.



สบส.ส่งทีมวิศวกรตรวจสอบมาตรฐานความเที่ยงตรงของเครื่องมือแพทย์ใน รพ.สังกัด สธ.ทั่วประเทศ และตรวจสอบความปลอดภัย 7 ระบบหลักใน รพ.พร้อมจัดทำคู่มือมาตรฐานทดสอบเครื่องมือตรวจวัดทางการแพทย์ซึ่งมีประมาณ 2 แสนเครื่องครั้งแรกในประเทศ หนุนประสิทธิภาพการรักษาแม่นยำ พร้อมประกาศใช้ปีนี้ 3 รายการ ได้แก่เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ เครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอล และเครื่องวัดไข้แบบดิจิตอล อยู่ระหว่างดำเนินการอีก 9 รายการ

นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2559 นี้ สบส.ได้ส่งทีมวิศวกรสาขาต่างๆ จากสำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 12 แห่ง ดูแลด้านอาคาร สภาพแวดล้อมและระบบการให้บริการของโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่มีกว่า 800 แห่งทั่วประเทศใน 3 เรื่องหลัก เพื่อส่งเสริมให้ได้ตามเกณฑ์คุณภาพมาตรฐานความปลอดภัยในระดับสากล

1.การตรวจสอบควบคุมมาตรฐานความเที่ยงตรงของเครื่องมือแพทย์ ซึ่งมีความสำคัญมากต่อการดูแลรักษาผู้ป่วย แต่ละเขตมีประมาณ 25,000 ชิ้น โดยเฉพาะเครื่องมือ 7 ชนิดที่ต้องใช้การได้ตลอดเวลา ได้แก่ เครื่องให้สารสลบ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุกหัวใจ เครื่องติดตามสัญญาณชีพผู้ป่วย เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำ เครื่องจี้ตัดด้วยไฟฟ้าและตู้อบเด็ก ขณะนี้เร่งพัฒนาให้สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 1-12 มีห้องปฏิบัติการสำหรับใช้ทดสอบและสอบเทียบเครื่องมือที่ใช้ตรวจวัดทางการแพทย์เช่นเครื่องวัดความดันโลหิตแบบดิจิตอลเป็นต้น เพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นคุณภาพการรักษาพยาบาล

ทั้งนี้ สบส.ได้ร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ ผู้ใช้เครื่องมือในโรงพยาบาล ผู้แทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์และผู้ประกอบการห้องปฏิบัติการจัดทำคู่มือมาตรฐานการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่ใช้สำหรับตรวจวัดทางการแพทย์ ประกอบการตรวจวินิจฉัย การรักษาของแพทย์อย่างเที่ยงตรง แม่นยำ ซึ่งมีประมาณ 200,000 เครื่องในโรงพยาบาลทั่วประเทศ ทั้งนี้เพื่อควบคุมประสิทธิภาพให้เป็นไปตามมาตรฐานระหว่างใช้งานและภายหลังใช้งานและตรวจสอบตามระยะเวลา เป็นการจัดทำอย่างเป็นทางการครั้งแรก   ซึ่งยังไม่เคยมีการจัดทำมาก่อนในประเทศ

นพ.บุญเรือง กล่าวต่อว่า ขณะนี้จัดทำสำเร็จแล้ว 3 รายการได้แก่ เครื่องให้สารละลายทางหลอดเลือดดำหรือเรียกว่าเครื่องให้น้ำเกลืออัตโนมัติ  เครื่องตรวจวัดความดันโลหิตระบบดิจิตอล และเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายทางช่องหูด้วยอินฟาเรด  ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการจัดพิมพ์ พร้อมประกาศใช้อย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ อยู่ระหว่างดำเนินการยกร่างวิธีการทดสอบเครื่องมือแพทย์ที่สำคัญอีก 9 รายการ เช่น เครื่องให้สารสลบในห้องผ่าตัด เครื่องช่วยหายใจ เครื่องกระตุกหัวใจ เครื่องติดตามสัญญาณชีพผู้ป่วย ตู้อบเด็ก เป็นต้น คาดว่าจะเสร็จภายในปีนี้ และประกาศใช้เพื่อให้เป็นมาตรฐานกลางของประเทศในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ และเป็นผู้นำด้านนี้ในประชาคมอาเซียนด้วย

2.การตรวจสอบระบบความปลอดภัยในโรงพยาบาล 7 ระบบ ได้แก่ ระบบลิฟต์และขนส่ง ระบบหม้อไอน้ำอบฆ่าเชื้อโรค ระบบบำบัดน้ำเสีย ระบบไฟฟ้า ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ และระบบก๊าซทางการแพทย์ที่ใช้กับผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ เนื่องจากโรงพยาบาลเป็นสถานบริการที่เปิดทำการตลอด 24 ชั่วโมง โดยจัดส่งทีมวิศวกรจากสำนักงานเขตฯ 12 แห่ง ดูแลโรงพยาบาลทุกระดับภายในเขตให้ครบ 100 เปอร์เซ็นต์

และ 3.การสร้างความพร้อมเครื่องมือการสื่อสารของโรงพยาบาลในพื้นที่ทั่วไปและพื้นที่ทุรกันดาร พร้อมรองรับภัยพิบัติทางธรรมชาติ เพื่อสนับสนุนให้การดูแลรักษาพยาบาลประชาชนทุกสถานการณ์




************************************
ที่มา : http://www.hfocus.org/news