ผู้เขียน หัวข้อ: กรมอนามัยเตือนจัดฟันเถื่อนไม่ได้มาตรฐาน ‘เสี่ยงติดเชื้อในช่องปาก-กรามเน่า’  (อ่าน 556 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
กรมอนามัยเตือนจัดฟันเถื่อนไม่ได้มาตรฐาน ‘เสี่ยงติดเชื้อในช่องปาก-กรามเน่า’



กรมอนามัย เตือนผู้ที่นิยมจัดฟันเถื่อนกับผู้ที่ไม่ใช่ทันตแพทย์ หรือคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน มีโอกาสติดเชื้อในช่องปากสูง และเสี่ยงอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ พร้อมแนะวิธีดูแลความสะอาดฟันและเครื่องมือจัดฟันที่ถูกวิธี

ทพ.สุธา เจียรมณีโชติชัย รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวถึงอันตรายของการจัดฟันเถื่อนที่ไม่ได้มาตรฐาน ว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากที่เกิดจากการจัดฟันเถื่อนยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยหลักของการจัดฟันและผู้ที่มีความจำเป็นต้องจัดฟัน คือ มีฟันเก ฟันห่าง ฟันยื่น ฟันเหยิน ฟันซ้อน ลักษณะดังกล่าวทำให้การสบฟันผิดปกติ บดเคี้ยวลำบาก หรือเคี้ยวแล้วเจ็บข้อต่อขากรรไกร หรือมีเศษอาหารไปติดยัด ทำให้แปรงฟันลำบาก เกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ และอื่นๆ

การจัดฟันจะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ฟันอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง ทำให้การสบฟันถูกต้อง เพื่อให้อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการบดเคี้ยวสามารถทำหน้าที่ได้ดี ส่วนความสวยงามจะเป็นผลตามมาจากการเรียงตัวของฟันในตำแหน่งที่ถูกต้อง

ที่สำคัญการจัดฟันต้องทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทางเท่านั้น และต้องทำในคลินิกทันตกรรม ซึ่งมีวัสดุอุปกรณ์ที่มีมาตรฐาน ปลอดเชื้อเพราะผ่านการฆ่าเชื้อมาอย่างดี ขั้นตอนเทคนิคการทำต้องกระทำโดยทันตแพทย์ที่มีความรู้เรื่องโครงสร้างของขากรรไกรและฟัน ซึ่งหากให้คนทั่วไปที่ไม่ใช่ทันตแพทย์มาทำหรือทำเอง จะเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้ เช่น การพิมพ์ปากด้วยตนเอง ผงพิมพ์ปากต้องมีสัดส่วนที่ชัดเจน หรือขั้นตอนการพิมพ์ปาก หากทำผิดวิธีเครื่องมือพิมพ์ปากอาจกดเหงือกเจ็บเป็นแผล หรือวัสดุพิมพ์ปากอาจตกลงไปติดคอ สำลักได้ การพิมพ์ปากที่ไม่ถูกวิธีจะทำให้ได้แบบจำลองฟันที่บิดเบี้ยวไป ทำให้อุปกรณ์ที่ติดฟันไม่แนบสนิท กดลงบนตัวฟันหรือเหงือก จนเกิดอันตรายตามมาได้

ทพ.สุธา กล่าวต่อว่า การจัดฟันเป็นการเคลื่อนฟันในกระดูกขากรรไกร เนื่องจากสภาพความผิดปกติของการสบฟันของแต่ละคนไม่เหมือนกัน จำเป็นต้องใช้วิธีการและเครื่องมือจัดฟันที่แตกต่างกันออกไป หากไม่ทำโดยทันตแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ แต่ไปใช้บริการกับคลินิกเถื่อนหรือหมอเถื่อนทำให้มีโอกาสที่จะติดเชื้อในช่องปากสูง เพราะวัสดุที่เอาเข้าไปในปากไม่ถูกสุขลักษณะ ลวดอาจทิ่มไปโดนเหงือก หากเหงือกอักเสบอยู่แล้วยิ่งมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น โรคติดเชื้อจากเหงือกฟันผุ กรามเน่าเป็นหนอง เกิดอาการบวม เชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไปยังกล้ามเนื้อ เส้นเลือดสู่อวัยวะอื่นในร่างกาย อาทิ ปอด หัวใจ เป็นต้น ติดเชื้อร้ายแรงสุดถึงขั้นเสียชีวิตได้ ซึ่งการจัดฟันขึ้นอยู่กับการพิจารณาของทันตแพทย์เท่านั้น หากฟันดีอยู่แล้วไม่มีข้อบ่งชี้ว่ามีความจำเป็นต้องจัดฟัน

“ทั้งนี้ ผู้ที่กำลังใส่เครื่องมือจัดฟัน ต้องเพิ่มการดูแลความสะอาดของฟันมากยิ่งขึ้น เพราะส่วนของเครื่องมือ หรือลวดจะเป็นที่กักเก็บของเศษอาหาร ทำให้เกิดโรคฟันผุและเหงืออักเสบได้ง่าย หากใส่เครื่องมือจัดฟันชนิดถอดได้ ควรถอดเครื่องมือทั้งชิ้นออกมาแปรงให้สะอาดทุกครั้งหลังการกินอาหาร พร้อมทั้งแปรงฟันด้วย หรือในกรณีที่ใช้เครื่องมือติดแน่นก็ควรแปรงฟันหลังการรับประทานอาหารทุกครั้งเช่นกัน ซึ่งอาจจะเลือกใช้แปรงสีฟันชนิดพิเศษที่ออกแบบให้มีร่องอยู่กึ่งกลางตามความยาวของหัวแปรง ช่วยให้แปรงฟันคร่อมเครื่องมือจัดฟันที่ติดอยู่ได้สะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งทันตแพทย์ผู้ทำการรักษาจะแนะนำวิธีปฎิบัติตัวและการดูแลอนามัยช่องปาก เพื่อไม่ให้เกิดผลแทรกซ้อนตามมา การใส่เครื่องมือจัดฟันส่วนใหญ่จะใช้เวลานาน จึงต้องดูแล ความสะอาดช่องปากอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุ เหงือกอักเสบ” รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าว








*********************************************
ที่มา : http://www.hfocus.org/news