ผู้เขียน หัวข้อ: ไหมเย็บแผลอัจฉริยะที่สามารถช่วยรักษาแผลได้  (อ่าน 4621 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
หลังจากที่หมอเย็บแผลหรือตัดแผลมักจะปิดแผลด้วยผ้าปิดแผล แต่เมื่อใช้ผ้าปิดแผลก็จะทำให้เรามองไม่เห็นว่าแผลนั้นเริ่มหายหรือยังและอาจเป็นปัญหาหนึ่งที่ทำให้แผลติดเชื้อ ปัญหาเหล่านี้อาจจะไม่มีสัญญาณเตือนจนกว่าจะเป็นหนักจนต้องการการรักษา ในปัจจุบันนักวิจัยได้พัฒนาไหมเย็บแผลอัจฉริยะที่สามารถเตือนผู้ให้การรักษาเมื่อแผลมีปัญหา สำหรับรุ่นในอนาคตนั้นอาจจะสามารถส่งถ่ายยาเพื่อช่วยให้แผลที่เย็บนั้นหายได้เร็วขึ้น





ไหมเย็บแผลคือเส้นไหมหรือเส้นใยที่ใช้เย็บปิดแผล ไหมเย็บแผลส่วนมากทำมากจากวัสดุธรรมชาติ เช่น ฝ้ายหรือใยไหม บางชนิดทำมาจากพลาสติก และยังมีบางชนิดที่ทำด้วยวัสดุที่สามารถละลายได้ในร่างกายเมื่อผ่านไปเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามทุกชนิดมีวัตถุประสงค์เหมือนกันคือยึดแผลขนาดใหญ่หรือรอยบากเข้าไว้ด้วยกัน

“แต่บางครั้งแผลไม่ได้สมานอย่างที่ควรจะเป็น เนื้อเยื่อสามารถบวมและนูนทำให้ไหมเย็บแผลแน่นเกินไปได้ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดรอยแผลเป็นที่น่าเกลียด หรือแผลอาจติดเชื้อ ทำให้เนื้อเยื่อเป็นสีแดงและร้อนขึ้น ถ้าอาการเหล่านี้ไม่ทำให้เราเจ็บปวด การมีการติดเชื้อซ่อนอยู่และทำให้แผลติดเชื้ออันตรายมากขึ้นได้ภายใต้ผ้าปิดแผลที่หนาเตอะ” Sameer Sonkusale กล่าว เขาเป็นวิศวกรไฟฟ้าที่ Tufts University ใน Medford, Mass ดังนั้นเขาและทีมวิจัยค้นพบหนทางที่จะเปลี่ยนไหมเย็บแผลให้กลายเป็นเซ็นเซอร์ ไหมเย็บแผลแบบพิเศษสามารถรายงานได้ว่าเกิดอะไรขึ้นภายใต้ผ้าปิดแผล เส้นไหมยังสามารถที่จะส่งข้อมูลสุขภาพจากภายในร่างกายได้ด้วย

กุญแจสำคัญในการสร้างไหมเย็บแผลอัจฉริยะนี้คือการที่ทำให้มันนำไฟฟ้าได้ เส้นไหมเพียงอย่างเดียวนั้นไม่สามารถที่จะนำไฟฟ้าได้ ดังนั้นนักวิจัยได้ทำการเคลือบเส้นใยฝ้ายด้วยวัสดุที่นำไฟฟ้า สารเคลือบบางชนิดไวต่อการยืดของกล้ามเนื้อทำให้บอกได้ว่าแผลมีอาการบวม ในกรณีอื่น ๆ สารเคลือบบางนิดสามารถวัดค่า pH หรือความเป็นกรดของเนื้อเยื่อได้ การเปลี่ยนแปลงของ pH อาจระบุการพัฒนาของอาการติดเชื้อ ในบางครั้งทีมวิจัยได้เพิ่มเซนเซอร์ขนาดเล็กเข้าไปในเส้นใยเพื่อใช้วัดอุณหภูมิของร่างกาย พวกเขาสามารถตรวจจับสัญญาณเริ่มต้นของการติดเชื้อได้จากความร้อน

เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น เช่น การยืด อุณหภูมิ หรือ ค่าpH จะมีการเปลี่ยนแปลงความต้านทานของกระแสไฟฟ้าเพียงเล็กน้อยบนไหมเย็บแผล สิ่งนี้จะส่งผลต่อการเก็บกระแสไฟฟ้าบนไหมเย็บแผลว่าเก็บได้มากเท่าไหร่ การเปลี่ยนแปลงความต้านทานสามารถวัดได้จากอุปกรณ์วัดที่มีลักษณะคล้ายนาฬิกา อุปกรณ์ชนิดนี้จะส่งกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ เข้าไปในไหมเย็บแผล ซึ่งเราสามารถสวมไว้ที่แขนหรือติดไว้ที่เสื้อก็ได้ หลังจากนั้นอุปกรณ์ชนิดนี้จะส่งข้อมูลไร้สายเกี่ยวกับแผลแบบไปยังอุปกรณ์สมาร์ทโฟนที่อยู่ใกล้ ๆ หรือ คอมพิวเตอร์เพื่อบันทึกข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล

นักวิจัยได้อธิบายไหมเย็บแผลอัจฉริยะ นี้ไว้ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ใน Microsystems & Nanoengineering

“ทีมนักวิจัยได้พัฒนาหนทางที่น่าสนใจในการฝังเซ็นเซอร์เข้าไปโดยตรงในผิวของคนไข้” John Rogers กล่าว เขาเป็นนักวัสดุศาสตร์ที่ Northwestern University ที่ Evanston, Ill การฝังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เข้าไปในร่างกายสามารถเก็บข้อมูลได้แม่นยำมากกว่าอุปกรณ์ที่สวมใส่ภายนอก เช่น อุปกรณ์ติดตามการออกกำลังกาย

ในวันหนึ่ง ไหมเย็บแผลอัจฉริยะอาจจะถูกปรับแต่งเพื่อใช้ในการวัดโปรตีนในเลือด หรือ อาจจะใช้ในการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดของคนที่เป็นโรคเบาหวาน

ที่มา:

JOURNAL: P. Mostafalu et al. A toolkit of thread-based microfluidics, sensors, and electronics for 3D tissue embedding for medical diagnostics. Microsystems and Nanoengineering. Published online July 18, 2016. doi: 10.1038/micronano.2016.39.