ผู้เขียน หัวข้อ: โรคอันตรายจาก “แมลงหวี่” หากปล่อยให้บินตอมตา-อาหาร  (อ่าน 605 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์




ประเทศไทยมักมีอากาศร้อนชื้นอยู่ตลอดทั้งปี และเป็นภูมิอากาศในแบบที่ “แมลงหวี่” สามารถอาศัยอยู่ได้อย่างสบายๆ ดังนั้นคนไทยจึงอาจพบแมลงหวี่ได้ค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะในแหล่งที่มีอากาศร้อนอบอ้าว และมีความชื้นสูง

อย่างไรก็ตาม นอกจากจำสร้างความรำคาญให้เราแล้ว แมลงหวี่ยังเป็นพาหะนำโรคอันตรายมาให้เราหลายโรคเลยด้วย


รู้จัก “แมลงหวี่”

นางนิภา เบญจพงศ์ นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ 8ว. ฝ่ายพิพิธภัณฑ์แมลงและอนุกรมวิธาน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า แมลงหวี่ เป็นแมลงตัวเล็กๆ ยาวประมาณ 3-4 มม. มักจะมีสีเหลือง ตาสีแดง เป็นแมลงที่ไม่มีความสำคัญทางการแพทย์ แต่อาจจะมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ เนื่องจากมักพบตามพืชผักและผลไม้เน่าเปื่อยต่างๆ ผลไม้ที่เก็บไว้ในบ้านเราก็อาจจะถูกแมลงตัวนี้รบกวนเสมอ ตัวหนอนมักจะอาศัยอยู่ในผลไม้ที่เสียมีเชื้อราเกิดขึ้น ก็จะพบตัวหนอนเหล่านี้กินเชื้อยีสต์ที่เจริญอยู่ในผลไม้

แมลงหวี่อยู่ที่ไหนบ้าง

กองสุขาภิบาลอาหาร สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ระบุว่า แมลงหวี่ เป็นพาหะนำโรคที่พบเห็นไดทั่วไป โดยเฉพาะบริเวณตามกองขยะแหล่งอาหารเศษ เปลือกผลไม้ ผลไม้เน่า ผักเน่า ถังหมักน้ำผลไม้ ถังหมักเหล้าไวน์ โรงงานน้ำสมสายชู อาหารหมักดอง เพลี้ย น้ำเลี้ยงที่ออกจากแผลตามลําต้นของพืช และยังอาจพบได้ตามป่าเขา ริมถนนหนทางต่างๆ และตามบ้านเรือนด้วย

โรคอันตรายจากแมลงหวี่

เนื่องจากแมลงหวี่เพาะพันธุ์ตามแหล่งขยะ ผัก ผลไม้ดอง เน่าเปื่อย เชื้อรา สิ่งปฏิกูล มูลสัตว์ และ ตามลำตัว ขา มีขนทำให้เชื้อโรคต่างๆ เช่น

      - บิด ไทฟอยด์ มีโอกาสติดมากับแมลงหวี่ที่มาตอมอาหารทำให้ เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคต่างๆ ในอาหารของคน ทำให้สามารถถ่ายทอดโรคทางเดินอาหารสู่คนได้

      - ตาแดง แมลงหวี่เป็นแมลงขนาดเล็กมีนิสัยชอบบินเป็นกลุ่ม ตอมตามที่ชื้น เช่น ตาของคนทำให้แพร่เชื้อโรคตาแดงได้

      - แผลปากหมู แมลงหวี่ยังเป็นพาหะนำโรคแผลในปากหมูได้อีกด้วย

วิธีควบคุม และกำจัดแมลงหวี่

      - การปรับปรุงสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม
             1. ทิ้งเศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ ขยะต่างๆ ในถังขยะที่ฝาปิดมิดชิด ไม่รั่วหรือซึมน้ำและนำ ขยะไปกำจัดโดยการเผา ฝัง หมักทำปุ๋ย ถมที่ หรือเลี้ยงสัตว์ และต้องนำถังขยะไปทำความสะอาด

             2. กำจัดมูลสัตว์ สิ่งปฏิกูล โดยการฝัง หมักทำปุ๋ย หมักในถังหมักแก๊สชีวภาพ

             3. ควรเก็บผัก ผลไม้ ของหมักดองในภาชนะ ตู้เก็บอาหาร หรือมีฝาชีตาละเอียด ไม่ให้แมลงหวี่ตอม

             4. บริเวณสถานที่ประกอบอาหาร ห้องครัว ภัตตาคาร ร้านอาหาร ควรกรุด้วยมุ้งลวดตาข่าย ป้องกันไม่ให้แมลงหวี่เข้าไปรบกวนหรือตอมอาหาร
      - การทำลายตัวอ่อนของแมลงหวี่
      - นำมูลสัตว์ไปผึ่งแดดทำลายไข่/หนอนของแมลงหวี่
      - ใช้สารเคมีทำลายหนองแมลงหวี่ตามคำแนะนำการใช้ฉลาก เช่น ใช้สารไพเรทริน ไดอะซีมอน คลอไพริฟอส มาลาไทออน
      - การทำลายตัวแก่ของแมลงหวี่

         วิธีกล: ใช้ยางขนุนหรือกาวจับแมลงทาเชือกนำไปแขวนเหนือผลไม้เน่า เพื่อดักจับแมลงหวี่

         วิธีสารเคมี:

      - ใช้สารเคมีชนิดที่มีอันตรายน้อยต่อมนุษย์ เช่น ไพเรทริน 0.1-0.4% ฉีดพ่นในอาคารบ้านเรือน

      - ใช้สารเคมีพ่นตามแหล่งเพาะพันธุ์นอกอาคารบ้านเรือน เช่น
                  Malathion 2-5%
                  Diazinon 0.5-1%
                  Fenetrothion 0.5-1%
                  Ronnel 1%
                  ใช้ของหมักดอง เช่น มะม่วงดอง ผักเสี้ยนดอง หรือสับปะรดผสมกับ Proproxur 0.1-2% ผสมเหยื่อล่อแมลงหวี่ ทั้งนี้ต้องทำด้วยความระมัดระวัง



ที่มา...https://www.sanook.com/health/22741/