Thaimedtechjob.com

TMTJ : NEWS => บทความสุขภาพ => ข้อความที่เริ่มโดย: admin ที่ มิถุนายน 12, 2017, 07:40:00 pm

หัวข้อ: 5 สมุนไพรลดความดัน
เริ่มหัวข้อโดย: admin ที่ มิถุนายน 12, 2017, 07:40:00 pm
(http://www.thaihealth.or.th/data/content/2017/06/37118/cms/newscms_thaihealth_c_abcelprtu458.jpg)

5 สมุนไพรลดความดัน
นอกจากยาแผนปัจจุบันที่กินเพื่อลดความดันโลหิตได้แล้ว  ยังมี สมุนไพรลดความดัน แบบพื้นบ้านอีกหลายตัวที่มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้ไม่แพ้ยาแผนปัจจุบันเลยทีเดียว
(http://www.thaihealth.or.th/data/content/2017/06/37118/cms/newscms_thaihealth_c_gjkmoqrtv489.jpg)

1. กระเทียม
ซอยกระเทียมสดประมาณครึ่งช้อนชา  กินพร้อมอาหารวันละ 2-3 ครั้ง   หรือจะเคี้ยวกระเทียมสดๆก็ได้  กระเทียมมีสรรพคุณช่วยลดไขมันในเลือด    แต่ห้ามกินตอนท้องว่าง  เพราะฤทธิ์ร้อนของกระเทียมจะทําให้แสบกระเพาะอาหารได้(http://www.thaihealth.or.th/data/content/2017/06/37118/cms/newscms_thaihealth_c_abdeluwxy245.jpg)

2. กระเจี๊ยบแดง
ต้มกลีบเลี้ยงแห้งกับน้ำ ดื่มลดความดันโลหิต  ลดคอเลสเตอรอล     แก้นิ่ว   และลดไข้ได้(http://www.thaihealth.or.th/data/content/2017/06/37118/cms/newscms_thaihealth_c_cjlmopsvz237.jpg)

3. บัวบก
ในตํารายาไทยทั่วไปใช้เป็นยาบํารุงหัวใจ  แก้อ่อนเพลีย     ขับปัสสาวะ    แก้ร้อนใน    แต่ในตํารายาพื้นบ้านนํามาลดความดันโลหิต โดยใช้   ต้นสด 1-2 กํามือต้มกับน้ำดื่มได้(http://www.thaihealth.or.th/data/content/2017/06/37118/cms/newscms_thaihealth_c_bdhjkmq46789.jpg)
4. อบเชย
ช่วยลดไขมันในเลือดและแก้ความดันโลหิตสูงได้ดี เหมาะกับคนที่มีธาตุไฟไม่สูงจนเกินไป เพราะอบเชยเป็นยาฤทธิ์อุ่น ใช้อบเชย 1 ท่อน   ต้มกับน้ำ 500 ซีซี (ลูกบาศก์เซนติเมตร)แล้วดื่ม(http://www.thaihealth.or.th/data/content/2017/06/37118/cms/newscms_thaihealth_c_fgijlnpqsu36.jpg)
5. ฟ้าทลายโจร
ช่วยลดความดันโลหิต  แต่ถ้ากินต่อเนื่องแล้วรู้สึกท้องอืดต้องหยุดกิน เพราะแสดงว่าธาตุไฟในกายดับ จึงส่งผลให้ระบบย่อยอาหารซึ่งใช้ธาตุไฟทํางานไม่ปกติ  อาจกินสดๆหรือกินเป็นแคปซูล ขนาด 500 มิลลิกรัม    ครั้งละ 1-2 เม็ด  เช้า-เย็น
นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรที่เราใช้ปรุงอาหารและมีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตได้อีก เช่น  ขิง  ขี้เหล็ก    ผักชี  ผักชีฝรั่ง   มะขาม   แมงลัก   ฯลฯ
ทั้งนี้ทั้งนั้น      หลังจากกินสมุนไพรต่างๆแล้วก็ควรสังเกตตัวเองด้วยว่ากินแล้วอาการดีขึ้นหรือไม่  ถ้ารู้สึกไม่ดี  หรือไม่สบายตัวก็ควรหยุดกิน เพราะใช่ว่ายาทุกตัวจะเหมาะกับคนทุกคน และการจะกินยาสมุนไพรให้ได้ผลดียังต้องอาศัยปัจจัยอื่นอีกหลายอย่างเป็นส่วนประกอบ  ไม่ว่าจะเป็นธาตุเจ้าเรือน   สภาวะร่างกายของแต่ละคน สภาพอากาศ     หรือฤดูกาล
ดังนั้น ตัวเราเองเท่านั้นที่จะบอกได้ว่า สมุนไพรชนิดใดเหมาะกับเรามากที่สุด

ที่มา:http://www.thaihealth.or.th/Content/37118-5%20%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%94%E0%B8%B1%E0%B8%99.html