Thaimedtechjob.com

TMTJ : NEWS => บทความสุขภาพ => ข้อความที่เริ่มโดย: webmaster ที่ เมษายน 09, 2018, 09:23:43 am

หัวข้อ: ผ่าตัดลดน้ำหนัก ช่วยลดความเสี่ยงโรคหัวใจและเบาหวาน
เริ่มหัวข้อโดย: webmaster ที่ เมษายน 09, 2018, 09:23:43 am
(http://my.haijai.com/article/diet/20160201_diet_2.jpg)




จากการเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัยในประเทศอังกฤษตลอดระยะเวลา 4 ปี พบว่า การผ่าตัดกระเพาะอาหารในผู้ป่วยโรคอ้วนมากกว่า 8,000 ราย ช่วยลดอัตราการเกิดโรคหัวใจและเบาหวานได้ งานวิจัยยังคาดการณ์ต่อไปอีกว่า หากผู้ที่มีน้ำหนักเกินในประเทศอังกฤษราว 1.4 ล้านคน ได้รับการผ่าตัดเพื่อลดน้ำหนัก จะช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้มากกว่า 5,000 คน และป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้มากกว่า 40,000 คน

 

 

อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดเพื่อลดปริมาณในกระเพาะอาหารที่ช่วยลดน้ำหนักได้นั้น อาจไม่ใช่ทางเลือกที่ดีที่สุด เนื่องจากการผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยง ดังนั้น การผ่าตัดรักษาโรคอ้วนนี้จึงเหมาะสมกับผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 40 กก./ตร.ม. หรือผู้ที่มีดัชนีมวลกายมากกว่า 35 กก./ตร.ม. และตรวจพบว่ามีโรคร่วมแล้ว อาทิ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หรือ โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ เป็นต้น

 

 

การผ่าตัดมี 3 ประเภท ได้แก่

 

1.การผ่าตัดบายพาส (Gastric Bypass) คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องขนาดเล็ก เพื่อผ่าตัดกระเพาะอาหารด้านบนให้มีขนาดเล็ก และตัดเอาลำไส้ส่วนล่างเข้าไปต่อใหม่ เพื่อลดปริมาณการดูดซึมไขมันหรือสารอาหาร การผ่าตัดแบบบายพาสนี้ช่วยลดน้ำหนักได้ดี แต่หลังผ่าตัดผู้ป่วยต้องกินวิตามินและแคลเซียมเสริม เนื่องจากร่างกายจะถูดซึมสารอาหารเหล่านี้น้อยลง

 

 

2.การผ่าตัดรัดกระเพาะอาหาร (Gastric Banding) คือ การผ่าตัดโดยใช้กล้องขนาดเล็ก เพื่อนำสายซิลิโคน (Silicone Band) ไปวางและรัดไว้ที่ขั้วของกระเพาะอาหาร โดยด้านในของสายจะมีบอลลูนเชื่อมต่อกับท่อที่เรียกว่า Port ซึ่งจะนำมาวางไว้ใต้ผิวหนัง Port นี้ใช้สำหรับฉีดน้ำเกลือเข้าไปหรือดูดออก เพื่อให้บอลลูนโป่งขึ้น-แฟบลง เมื่อบอลลูนโป่งจะทำให้ผู้ป่วยกินอาหารได้น้อย

 

 

3.การผ่าตัดแบบสลีฟ (Sleeve Gastrectomy) คล้ายกับการผ่าตัดรัดกระเพาะอาหาร แต่ทำการผ่าตัดกระเพาะอาหารให้มีรูปร่างคล้ายกล้วยหอมแทนการใส่สายรัด โดยตัดกระเพาะอาหารส่วนล่างออกไปจากร่างกาย ผู้ป่วยจึงมีกระเพาะอาหารที่เล็ก ทำให้กินอาหารได้น้อยลง

 

 

การผ่าตัดรักษาโรคอ้วนไม่ได้เป็นไปเพื่อความสวยงาม แต่เพื่อการักษาและป้องกันการเกิดโรคในอนาคต ซึ่งผู้ป่วยต้องให้ความร่วมมือกับแพทย์ควบคู่ไปด้วย เช่น การควบคุมอาหารและออกกำลังกาย จึงจะเป็นผลสำเร็จ อย่างไรก็ตามในการป้องกันโรคอ้วนนั้น ผู้ป่วยควรเคร่งครัดที่จะปรับพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ





ที่มา...http://health.haijai.com/4113/