Thaimedtechjob.com

TMTJ : NEWS => บทความสุขภาพ => ข้อความที่เริ่มโดย: pigky ที่ กันยายน 12, 2011, 06:23:25 pm

หัวข้อ: ยารักษาโรคผิวหนังหลายตัวมีผลเสียต่อตับ
เริ่มหัวข้อโดย: pigky ที่ กันยายน 12, 2011, 06:23:25 pm
(http://www.healthmee.com/images/forum/255406/car_05231735.jpg)ยารักษาโรคผิวหนังหลายตัวมีผลเสียต่อตับ

ยารักษาโรคผิวหนังหลายตัวมีผลเสียต่อตับ จึงต้องควรระมัดระวังไม่ใช้ยาเหล่านี้โดยไม่จำเป็น หรือต้องคอยตรวจการเปลี่ยนแปลงทางห้องปฏิบัติการของตับอยู่เสมอ เช่น
1.ยา methotrexate ที่ใช้รักษาโรคสะเก็ดเงิน อาจทำให้ตับแข็งได้
2.ยากลุ่มกรดวิตามินเอที่ใช้รักษาโรคสิวและโรคสะเก็ดเงิน อาจมีพิษต่อตับและทำให้มีค่า เอนไซม์ตับสูงขึ้นได้ ดังเช่นที่คุณรจนาถามมา
3.ยา minocycline ที่ใช้รักษาโรคสิวอาจทำให้ตับอักเสบได้
4.ยา griseofulvin , ketoconazole , terbinafine ที่รักษาการติดเชื้อราและยีสต์ของผิวหนัง อาจมีพิษต่อตับได้

โรคผิวหนังอักเสบและการดูแลรักษา

สาเหตุเกิดจากสาเหตุหลายประการ แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

สาเหตุภายในร่างกาย เกิดจากเป็นโรคภูมิแพ้โดยกำเนิดมีการเปลี่ยนแปลงในระบบภายในร่างกายทำให้เกิดภูมิแพ้ที่ผิวหนัง มีลักษณะผิวแห้งทั่วตัว ในเด็กทารกมักเป็นที่ศีรษะ หน้า คอ และแขน ในเด็กโตและผู้ใหญ่มักพบบริเวณข้อพับของแขนและขา
สาเหตุจากภานนอกร่างกาย เกิดจากการสัมผัสสารที่ระคายเคือง หรือสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ บริเวณที่เป็นขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น เป็นที่ติ่งหูจากการแพ้ต่างหู หรือเป็นที่ข้อมือจากการแพ้สายนาฬิกา เป็นที่หลังเท้าจากการแพ้รองเท้า เป็นต้น

อาการโรคผิวหนังอักเสบแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ
ระยะเฉียบพลัน จะมีลักษณะเป็นรอยแดง บวม ต่มแดง ตุ่มน้ำ มีน้ำเหลืองซึม ลอกเป้นขุย และตกสะเก็ด
ระยะเรื้อรัง จะมีลักษณะเป็นรอยหนา ผิวด้าน ลอกเป็นขุย มีอาการคันเรื้อรัง

การรักษาระยะเฉียบพลัน ทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างแผลหรือน้ำเกลือที่บริเวณตุ่มหนอง หรือแผลผุพองมีน้ำเหลือง โดยใช้ผ้าพันแผล หรือผ้าขาวบางพันประมาณ 3-4 ชั้น ชุบน้ำยาประคบผื่นไว้ 20 นาที วันละ 2 ครั้ง หลังการชะล้างซับให้แห้ง เมื่อผื่นพุพองแห้งแล้วให้หยุดประคบ มิฉะนั้นจะทำให้ผิวแห้งและตึงเกินไป เมื่อแห้งดีแล้วให้ทาครีมหรือขี้ผึ้งคอร์ติโคสเตียรอยด์จนกว่าจะหายดี

ระยะเรื้อรัง ล้างน้ำฟอกสบู่บริเวณตุ่มให้สะอาดก่อนทายา ใช้ครีมหรือขี้ผึ้งคอร์ติโคสเตียรอยด์ โคลทารหรือกรดซาลิซิลิก
ในรายที่เป็นมานานจนผิวหนาหรือเป็นตุ่มแข็ง แพทย์อาจใช้วิธีฉีดยาบริเวณที่เป็นเพื่อช่วยให้หายเร็วขึ้น
กรณีจำเป็นแพทย์จะให้รับประทานยา เช่น มีอาการอักเสบรุนแรงอาจให้รับประทานคอร์ติโคสเตียรอยด์ หรือถ้ามีการติดเชื้อให้รับประทานยาปฏิชีวนะ

การป้องกันและการปฏิบัติตนเมื่อผิวหนังอักเสบ  สำหรับรายที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติของแต่ละคนโดยไม่เกี่ยวข้องกับสาเหตุภายนอก ควรดูแลสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพื่อให้เพิ่มภูมิต้านทานโรค ด้วยการรับประทานอาหารที่มีคุณภาพ พักผ่อนเพียงพอจิตใจสดชื่น ไม่ดื่มของมึนเมา หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้โรคกำเริบ
รายที่เกิดจากการแพ้สารที่สัมผัส ควรหลีกเลี่ยงและป้องกันสาเหตุ เนื่องจากถ้ายังสัมผัสกับสารที่เป็นต้นเหตุอยู่เสมอโรคจะไม่หายขาด เพื่อความชัดเจนว่าแพ้สารชนิดใดอาจให้แพทย์ทำการทดสอบผิวหนัง ถ้าไม่สามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัสได้ ให้ใช้เครื่องป้องกัน เช่น ถุงมือยาง ผ้ากันเปื้อน รองเท้าบู้ท ครีมป้องกันผิว เป็นต้น
       โรคผิวหนังอักเสบ เป็นภาวะผิวหนังอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุและมีความรุนแรงต่าง ๆ กัน สาเหตุที่ทำ ให้ผิวหนังอักเสบแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มที่มีสาเหตุจากโรคหรือภาวะผิดปกติภายในร่างกายที่ส่งผลกระทบมาที่ผิวหนังทำ ให้เกิดผื่นหรือผิวหนังอักเสบขึ้น ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิแพ้ผิวหนังจะอักเสบได้บ่อยและง่ายกว่าคนทั่วไป บางกรณีเช่น ผู้ประกอบอาชีพที่ต้องยืนนาน ๆ เช่นครูหรือช่างเสริมสวย อาจเกิดการอักเสบของผิวหนังบริเวณขาส่วนล่างได้ง่าย จากผลของปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงภายในของระบบไหลเวียนโลหิตส่วนล่างเป็นต้นและกลุ่มที่มีสาเหตุจากภายนอกร่างกายเช่น สารระคายเคืองหรือการแพ้สารที่มาสัมผัสผิวหนังได้แก่ สารเคมีหรือส่วนผสมของสารเคมี โลหะหรือส่วนผสมของโลหะ ยางหรือผลิตภัณฑ์จากยาง รังสีจากแสงแดดหรือรังสีจากเครื่องกำ เนิดแสงต่าง ๆ เป็นต้น

การอักเสบของผิวหนังแบ่งเป็น

1. การอักเสบเฉียบพลัน
2. การอักเสบปานกลาง
3. การอักเสบเรื้อรัง
การอักเสบเฉียบพลัน ผิวหนังจะแดงมีผื่นบวมแดง มีตุ่มนูนแดงร่วมด้วย บางตุ่มเป็นตุ่มนํ้าและมีนํ้าเหลืองไหล การอักเสบปานกลาง ผิวหนังและผื่นจะแดงน้อยกว่าระยะแรก ตุ่มยังคงแดง มีตุ่มนํ้าเพียงเล็กน้อย เริ่มมีสะเก็ด การอักเสบเรื้อรัง ผิวหนังเป็นสีแดงคลํ้าหรือค่อนข้างดำ ผื่นจะหนานูน มีสะเก็ดและขุยมากขึ้น

การรักษาโรคผิวหนังอักเสบ
เริ่มจากการหาสาเหตุของการอักเสบ จากการสังเกตหรือการทดสอบผิวหนังรวมทั้งตรวจโรคที่เกี่ยวข้องกับการอักเสบ การหลีกเลี่ยงไม่สัมผัสกับสารสัมผัสที่เป็นสาเหตุของการอักเสบนั้น ๆ และรักษาอาการอักเสบในระยะต่างๆ ได้แก่การประคบนํ้า ยาในระยะเฉียบพลัน การทายาบรรเทาอาการอักเสบ การรับประทานยาแก้คันในระยะการอักเสบรุนแรง และการรับประทานยาหรือทายาปฏิชีวนะ เมื่อมาการอักเสบเป็นหนอง

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่เป็นโรคผิวหนังอักเสบ
สำหรับผู้ที่ผิวหนังอักเสบเฉียบพลัน
1. ควรประคบผื่นอักเสบนั้นด้วยนํ้ายาที่แพทย์แนะนำ ให้อย่างน้อยวันละ 2-3 ครั้งและ
ปิดบริเวณรอยโรคด้วยผ้าก๊อซที่สะอาดทุกครั้งที่ประคบแผลเสร็จแล้ว และหยุด
ประคบเมื่อผื่นแห้งดีแล้ว
2. ไม่ควรทายาอื่นใดจนกว่าผื่นอักเสบจะแห้งเป็นปกติ จึงจะทายาที่แพทย์ให้ได้
3. ไม่แคะ แกะหรือเกาผื่น
4. ควรตัดเล็บให้สั้นและล้างมือก่อนการประคบแผลทุกครั้ง

สำหรับผู้ที่ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง
1. ควรให้ความสำ คัญในการทายาและรับประทานยาแก้คันตามคำ สั่งแพทย์
2. หลีกเลี่ยงการรับประทานยาแก้คันขณะขับรถหรือทำ งานที่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ
3. ไม่ควรแคะแกะหรือเกาบริเวณผื่น ตัดเล็บให้สั้น รักษาความสะอาดมือและเล็บอย่างสมํ่าเสมอ
4. สำหรับผู้ที่ต้องยืนทำ งานเป็นเวลานาน ควรใช้ผ้าพันขาส่วนล่างช่วยขณะนั่งหรือยืนทำงาน หรือนอนยกขาสูงขณะพัก
5. ผู้ที่แพ้แสงแดด ควรหลีกเลี่ยงการถูกกับแสงแดด สวมเสื่อผ้ามิดชิดทาครีมกันแดดอย่างสมํ่าเสมอเป็นประจำ ทุกวัน

สำหรับผู้ที่ผิวหนังอักเสบจากสารสัมผัส
หมั่นสำรวจตัวเองและหลีกเลี่ยงไม่สัมผัสหรือใช้สารที่เป็นต้นเหตุทำ ให้ผิวหนังอักเสบเช่นสารสัมผัสที่มีส่วนของสารเคมีเช่น เครื่องสำ อาง ยาดัดผม แต่งผม นํ้ายาล้างเล็บ น้ำ้หอม น้ำยาทาความสะอาดต่าง ๆ หรือสารสัมผัส โลหะหนักเช่น นาฬิกา ตุ้มหู แหวน ปากกา กระดุม หัวเข็มขัดที่ทำ จากโลหะสารสัมผัสจากการประกอบอาชีพเช่น ช่างปูน ช่างไม้ หรือช่างทำ สี ควรป้องกันโดยการสวมถุงมือผ้าขณะทำ งานหรือหลีกเลี่ยงโดยเปลี่ยนไปทำ งานแผนกอื่นที่ไม่ต้องสัมผัสกับสารที่ทำ ให้แพ้อีกต่อไป
 
          ข้อควรคำนึง
การใช้ยาประเภทคอร์ติโคสเตียรอยด์ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ผิวบางลง ผิวแตกคล้ายหน้าท้องสตรีมีครรภ์ เส้นเลือดขยายตัว และผิวด่าง ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาให้ทายาสลับกับครีมชุ่มชื้น เพื่อลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ต้องใช้ยานานหรือใช้ยาในขนาดเจือจางเมื่ออาการดีขึ้นแล้ว
หัวข้อ: Re: ยารักษาโรคผิวหนังหลายตัวมีผลเสียต่อตับ
เริ่มหัวข้อโดย: pluskit023 ที่ พฤศจิกายน 13, 2012, 02:55:37 pm
เหอะๆ แล้วผมกินเป้นประจำต้องทำไง