ผู้เขียน หัวข้อ: เตือน “เรดอน” ภัยเงียบในบ้านเสี่ยงมะเร็งปอด  (อ่าน 1717 ครั้ง)

ออฟไลน์ pigky

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 1170



   



อุปกรณ์ตรวจวัดก๊าซเรดอนของ สทน.
 

 

 
สทน.เตือน ถึงเวลาคนไทยตระหนักถึง “เรดอน” ภัยเงียบในบ้านเพิ่มความเสี่ยงมะเร็งปอด
   
   สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สทน.แจ้งข่าวถึงอันตรายของ “เรดอน” ก๊าซเฉื่อยที่ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และไม่มีรส ว่าหากได้รับมากเกินจำเป็นเสี่ยงเป็นมะเร็งปอด แนะคนอยู่คฤหาสน์ หรือบ้านปูน ใส่ใจสร้างระบบระบายอากาศ เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้ สามารถลดความเสี่ยงได้ ปัจจุบันมีคนจำนวนมากสร้างบ้านเป็นคฤหาสน์หลังใหญ่โต เลือกใช้วัสดุที่ราคาแพง แข็งแรงคงทน หรูหรา อย่างคอนกรีต หินแกรนิต หินอ่อน กระเบื้องโมเสคต่างๆ
   
   “วัสดุเหล่านั้นใช่ว่าจะมีผลดีต่อสุขภาพคนเรา เพราะบ้านท่านอาจจะปะปนไปด้วย ก๊าซเรดอน ซึ่งเป็นก๊าซกัมมันตรังสีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ จากการเสื่อมสลายตัวของธาตุยูเรเนียม ซึ่งมีปะปนอยู่ในหินดินทรายทั่วโลก จนกลายเป็นเรเดียมและกลายมาเป็นก๊าซเรดอนในที่สุด โดยเมื่อเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ก๊าซเรดอนจะสลายตัวปล่อยรังสีอัลฟาพลังงานสูงออกมาทำลายเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ และกลายเป็นมะเร็งในที่สุด” จดหมายจาก สทน.ระบุ
   
   ทั้งนี้ เรดอนเกิดจากธรรมชาติ ปะปนอยู่ในชั้นหิน แร่หิน ที่สำคัญก๊าซเรดอนไม่มีสี ไม่มีกลิ่น คนเราไม่สามารถรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสใดๆ มันสามารถแทรกตัวผ่านพื้นดินเข้ามาในตัวบ้านโดยตรง หรือผ่านทางท่อ รูเปิดต่างๆ และรอยแตกร้าว นอกจากนั้นยังอาจจะมาจากหินหรือทรายที่มีแร่เรเดียมปนเปื้อน แล้วนำมาใช้ในการสร้างบ้าน
   
   มีข้อมูลระบุว่าก๊าซเรดอนที่สะสมในบ้านเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปอดและทำให้ผู้ป่วยในสหภาพยุโรปเสียชีวิตปีละ 20,000 คน ส่วนในสหรัฐอเมริกาพบว่าบ้าน 1 ในทุก 15 หลัง จะมีระดับก๊าซเรดอนสูง จนองค์การวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศจัดให้ก๊าซเรดอนเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์อย่างเป็นทางการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 หรือ 25 ปี มาแล้ว
   
   องค์การพิทักษ์สิ่งแวดล้อม ประเทศสหรัฐอเมริกา (The U.S. Environmental Protection Agency; EPA) ได้กําหนดระดับก๊าซเรดอนในอาคารที่พักอาศัยไว้ที่ 4 pCi/L (หรือ 148 Bq/m3) และกำหนดเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ก๊าซเรดอนจะมีปริมาณน้อยกว่า 4 pCi/L ก็ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และควรจะต้อง ลดปริมาณลงให้น้อยกว่านี้อีก ซึ่งจากงานวิจัยพบว่าบ้านในประเทศสหรัฐอเมริกามีประมาณ 6% ที่มีปริมาณก๊าซเรดอน ในบ้านสูงกว่าหรือเท่ากับระดับที่กำหนด
   
   ต่อมาในปี 2009 องค์การอนามัยโลก (The World Health Organization: WHO) ได้ปรับลดค่าเรดอนภายในอาคารที่พักอาศัยเป็น 2.7 pCi/L (หรือ 100 Bq/m3) เพื่อให้มีระดับความปลอดภัยแก่ ประชาชนมากยิ่งขึ้น แต่ในประเทศไทยเรายังไม่มีกฎหมายกำหนดปริมาณก๊าซเรดอนที่ปลอดภัย
   
   ด้าน ​ดร.สมพร จองคำ ผู้อำนวยการ สทน.กล่าวว่า เจ้าของบ้านอาจจะไม่รู้ว่ามีก๊าซชนิดนี้วนเวียนอยู่ในบ้านเราหรือไม่ แต่ไม่ได้หมายความว่าเราจะไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าบ้านเรามีก๊าซเรดอนในปริมาณสูงมากน้อยเพียงใด เพราะในประเทศไทยมีเครื่องมือในการวัดปริมาณก๊าซเรดอนและนักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้อยู่ที่ สทน.ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวสามารถวัดปริมาณก๊าซเรดอนในพื้นที่เป้าหมายได้ผลอย่างแม่นยำ ​
   
   ดร.สมพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถหลีกเลี่ยงที่จะต้องอาศัยอยู่ในบ้านที่มีก๊าซเรดอน แต่เราสามารถลดปริมาณก๊าซเรดอนภายในบ้านได้ ซึ่งทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การออกแบบบ้านให้มีช่องระบายอากาศ และไม่ปิดทึบจนเกินไป การเลือกใช้วัสดุก่อสร้างที่ไม่มีสารกัมมันตรังสี และการระบายอากาศภายในบ้าน โดยการเปิดประตู หน้าต่าง และช่องระบายลม เพื่อไม่ให้มีก๊าซเรดอนอยู่ภายในบ้านสูงเกินไป และที่สำคัญคือ การอุดรอยร้าวและรอยแยก ตามพื้นและผนังของบ้าน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เรดอนเข้าสู่ภายในบ้าน
   
   “หากผู้ประกอบการบ้านจัดสรร โดยเฉพาะหมู่บ้านจัดสรรที่มีราคาสูงใช้วัสดุอย่างดีในการก่อสร้างบ้าน เพราะไม่ว่าจะเป็นทรายที่นำมาผสมกับปูน หินแกรนิต หรือใยหินต่างๆ ก็อาจมีเรดอนปะปนอยู่ แต่ไม่ทราบว่ามากน้อยเท่าไร ขอแนะนำผู้ประกอบการสามารถติดต่อกับ สทน.เพื่อขอรับบริการวัดก๊าซเรดอนได้ สทน.จะนำเครื่องวัดก๊าซเรดอนไปให้บริการวัดก๊าซเรดอนให้กับท่าน การวัดนั้นสามารถทำได้ปีละครั้งก็ยังดี ถือเป็นบริการหลังจากการขายดีๆ จากผู้ประกอบการ และยังเป็นการดูแลสุขภาพแก่ลูกบ้านให้อยู่กันอย่างมีความสุขไปอีกนานเท่านาน” ผู้อำนวยการ สทน.กล่าว