ผู้เขียน หัวข้อ: การรายงานผล HbA1C และ estimated Average Glucose (eAG)  (อ่าน 3694 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
การรายงานผล HbA1C และ estimated Average Glucose (eAG)
« เมื่อ: พฤษภาคม 15, 2014, 10:35:24 pm »
การรายงานผล HbA1C และ estimated Average Glucose (eAG)



            การตรวจวิเคราะห์ HbA1c นั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางให้เป็นการวัดระดับกลูโคสในระยะยาว  ซึ่งหมายถึงการวัดระดับความเข้มข้นของกลูโคสที่สะสมในช่วงเวลาหนึ่งๆไปจนถึงระยะเวลา 3 เดือน การศึกษาทางด้านระบาดวิทยาและการทดสอบทางคลินิก เช่น UK Prospective Diabetes Study ( UKPDS)  และ Diabetes Control and Complications Trial (DCCT) ได้แสดงเห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับ  HbA1c และความเสี่ยงของโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานในระยะยาว โดยทั่วไป HbA1c ที่มีเป้าหมายสำหรับการบริหารจัดการโรคเบาหวานถูกใช้ในความหมายของการถ่วงเวลาหรือป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน



            ในอดีตหลักการที่ใช้วิเคราะห์   HbA1c อยู่หลายหลักการ ซึ่งหลักการที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ ion exchange chromatography และ affinity chromatography แต่ยังพบข้อจำกัดบางประการของหลักการวิเคราะห์ทั้ง 2 หลักการนี้อยู่บ้าง เช่น
ion exchange chromatography  ขาดความจำเพาะต่อ  HbA1c เนื่องจาก Hb–variant หรือ derivative ของ  Hb จะถูก elude  ออกมาปะปนกับ  HbA1c  และถูกวัดรวมไปด้วย นอกจากนี้ยัง interferes ด้วยสารที่มีความคล้ายคลึง กับ HbA1c เช่น carbamylation  (มีปริมาณของ urea ในเลือดสูง) และ acetylation ( ได้รับ aspirin ในปริมาณมาก) เป็นต้น

             boronate affinity สามารถวัดได้เพียง  glycated hemoglobin (GHb) ดังนั้นจึงต้องทำการคำนวณกลับเป็นค่าร้อยละ HbA1c ภายหลัง  ส่วนหลักการ  Immunological methods นั้นได้พัฒนา antibody ที่จำเพาะต่อโมเลกุลของ glucose ที่จับกับ amino acid – valine ตรงตำแหน่ง N- terminal ของสายโปรตีน B- chain ซึ่งเป็นตำแน่งที่กำหนดให้ทำการวัดค่าของ HbA1c หลักการ immunoassay นั้น ในปัจจุบันมีอยู่หลายหลักการ เช่น enzyme immunoassay (EIA), turbidimetrical inhibition immunoassay เป็นต้น หลักการ immunoassay นี้ไม่ถูก interfere ด้วย Hb–variants และ carbamylated Hb

             ดังนั้นสาระสำคัญของการวิเคราะห์และการรายงานผล  HbA1c จึงต้องมีการสอบเทียบวิธีการวิเคราะห์กับวิธีมาตรฐานของการวิเคราะห์ HbA1c กับสถาบัน International Federation of Clinical Chemistry and Laboratory Medicine (IFCC) เพื่อให้การตรวจวิเคราะห์ของ HbA1c มีความถูกต้องแม่นยำตามาตรฐานสากลและมีการเทียบเคียงกับวิธีเดิมของ NGSP (National Glycohemoglobin   Standard Program)

             นอกจากนั้น  ยังมีการศึกษาการทดสอบ HbA1c เพิ่มเติมภายหลัง  Standardize  reference  methods  กับ IFCC  โดย 3 สถาบันหลัก  คือ  ADA/EASD/IDF  Working  Group  ในผู้ป่วยเบาหวานจำนวน  507  คน เป็นเวลา 3 ปี (2006-2008) โดยที่ความสัมพันธ์ของ HbA1c ที่ 3 เดือนและ Average  glucose  ระหว่าง 3 เดือนที่ผ่านมา โดยแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญของ % HbA1c และ  Average  glucose  (AG)



และยังได้นำเสนอให้มีการคำนวณผล  ค่าประมาณการเฉลี่ยระดับ Glucose  หรือที่เรียกว่า  estimated  Average  Glucose  (eAG)  หรือ A1c  Derived  Average  Glucose  (ADAG)   ดังตาราง



จากผลการศึกษาของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวจึงได้นำเสนอในห้องปฏิบัติการ  ทำการรายงานผลการทดสอบ  HbA1c ทั้งในระบบ NGSP (%) และ IFCC (mmol/mol) ร่วมกับการแสดงค่า eAG เพื่อให้แพทย์ผู้เกี่ยวข้องคุ้นเคยกับหน่วยงานใหม่ IFCC และช่วยให้ผู้ป่วยสามารถเทียบเคียงการตรวจ HbA1c กับการตรวจติดตามผลน้ำตาลปลายนิ้วด้วยตนเองได้คร่าวๆช่วยทำให้แพทย์สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกทางหนึ่ง

**หมายเหตุ**

ADA – American Diabetes Association

EASD – European Association for a Study of Diabetes

IDF – International diabetes Federation

NGSP – National Glycohemoglobin Standard Program

DCCT – The Diabetes Control and Complications Trial

แหล่งที่มา  Sudaporn Kraivapee  DIAGTODAY Roche Diagnostics Thailand Issue 2-2010


****************************
ที่มา : http://nampadlab.igetweb.com/