ผู้เขียน หัวข้อ: มาลาเรีย กาลังจะหมดไปหรือมาใหม่พร้อม AEC  (อ่าน 3379 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
มาลาเรีย กาลังจะหมดไปหรือมาใหม่พร้อม AEC

อ.ดร.จิราภรณ์ คุ้ยทรัพย์

            ทุกวันนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่ากระแส AEC กาลังมาแรงและมีการกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงในทุกๆวงการ ทางด้านสาธารณสุขก็เช่นเดียวกัน ถึงแม้ว่าระบบบริการทางการแพทย์และระบบสาธารณสุขในเชิงควบคุมป้องกันโรคของประเทศไทยจะก้าวหน้ากว่าประเทศอื่นๆ ในอาเซียน แต่ก็ยังน่าเป็นห่วงว่าโรคที่เคยหายไปจากประเทศของเราอาจตีตั๋วเข้ามาใหม่หรือโรคที่กาลังสงบและอยู่ในการควบคุมอาจกลับมาระบาดใหม่พร้อมกับการเคลื่อนย้ายของประชากรเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศหลังการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนในปี 2558 หนึ่งในโรคที่ต้องจับตามองคือมาลาเรีย
            มาลาเรีย ไข้จับสั่น หรือไข้ป่า เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อปรสิตที่ชื่อว่า พลาสโมเดียม โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนาโรค ในปัจจุบันเชื้อพลาสโมเดียมที่ก่อโรคมาลาเรียในคนมี 5 ชนิดคือ ชนิดฟัลซิพารัม ชนิดไวแวกซ์ ชนิดมาลาเรียอี ชนิดโอวัลเล่ และชนิดโนวเลซี โดยชนิดที่พบมากคือชนิดฟัลซิพารัมซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้ และชนิดไวแวกซ์ซึ่งปัจจุบันมีการระบาดมากขึ้นในหลายพื้นที่ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาพบว่าสถานการณ์โรคมาลาเรียทั่วโลกลดลง 25% รวมทั้งในอาเซียนด้วย เนื่องจากประเทศต่างๆ มีความมุ่งมั่นจะลดการดื้อยาและยับยั้งการแพร่เชื้อมาลาเรีย อย่างไรก็ตามถึงแม้อัตราการเกิดโรคจะลดลงอย่างมากจนคนรุ่นใหม่บางคนอาจไม่รู้จัก แต่มาลาเรียก็ยังเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประชากรที่อาศัยอยู่บริเวณป่าเขาและเชิงเขาซึ่งมักเป็นพื้นที่ชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทั้ง พม่า ลาว กัมพูชา และมาเลเซีย นอกจากนี้ปัญหาใหญ่ที่พบคือเชื้อดื้อยาทาให้เป็นอุปสรรคต่อการรักษา และในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของเราก็เป็นพื้นที่ที่พบเชื้อดื้อยาสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลกด้วย
             การติดต่อของโรคนี้เกิดจากการที่ยุงก้นปล่องตัวเมียกัดผู้ป่วยมาลาเรียแล้วไปกัดคนปกติทาให้เกิดการแพร่เชื้อ ซึ่งอาจมีคนถูกกัดมากกว่าหนึ่งคนได้ จึงน่าเป็นห่วงว่าช่วงที่มีการเคลื่อนย้ายประชากรหลังการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน แรงงานต่างชาติอาจหลั่งไหลเข้ามาในประเทศ และอาจทาให้อุบัติการณ์ของโรคนี้เพิ่มสูงขึ้นได้ มาถึงตอนนี้หลายคนอาจร้อนๆ หนาวๆ แล้ว เพราะว่าปัจจุบันแม้จะยังไม่ก้าวเข้าสู่การเปิดเสรี
             ประชาคมอาเซียนอย่างสมบูรณ์ แต่เราสามารถพบเห็นแรงงานต่างชาติที่มาจากประเทศเพื่อนบ้านได้ทั่วไปตามท้องถนน ทั้งร้านข้าว ร้านน้า แหล่งขนถ่ายสินค้าและห้างร้านทั่วไป แล้วคงเกิดความสงสัยว่าเขาเหล่านั้นจะทาให้เราตกอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อมาลาเรียหรือไม่ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าการติดเชื้อมาลาเรียจากการถูกยุงกัดนั้นต้องมีปัจจัยสาคัญๆคือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อมาลาเรียในกระแสเลือด (ถึงแม้จะไม่รู้ตัวว่าป่วยก็ตาม) และยุงพาหะ ได้แก่ยุงก้นปล่องที่นาโรค ซึ่งยุงก้นปล่องจะต่างกับยุงลายที่พบได้ทั่วไปตามบ้านเรือน เพราะแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงก้นปล่องที่นาโรคมาลาเรียคือลาธารหรือลาห้วยที่น้าไหลช้าๆ แหล่งน้าซับน้าซึม ที่มีแสงแดดส่องถึง หรือแหล่งน้าขังตามแอ่งหิน รอยเท้าสัตว์ ที่มีร่มเงาตามป่าทึบ และหลุมขุดพลอย ซึ่งหากเราอยู่ในพื้นที่ที่ไม่ใช่แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงพาหะ ก็เป็นไปได้ยากที่จะติดเชื้อมาลาเรียจากการถูกยุงกัด เพราะวงจรในการเกิดโรคไม่สมบูรณ์ แต่สาหรับคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งระบาดก็อาจมีภาวะเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น ดังนั้นการดูแลตนเองจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการป้องกันทาได้โดยการสวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด ใช้เสื้อผ้าสีอ่อนๆ ทายากันยุง นอนในมุ้ง หรือพ่นยากันยุง
             การก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของประเทศไทย อาจทาให้พบการแพร่ระบาดของโรคมาลาเรียมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ดังนั้นการดูแลตนเองและกลยุทธที่ดีในการควบคุมโรคจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งสาคัญต่อสุขภาพของประชากรไทย รวมทั้งเพื่อนสมาชิกอาเซียนด้วย


******************************
ที่มา : http://www.allied.tu.ac.th

ออฟไลน์ ballnolimit

  • medtech ปี 1
  • *
  • กระทู้: 2
    • อีเมล์
Re: มาลาเรีย กาลังจะหมดไปหรือมาใหม่พร้อม AEC
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 22, 2014, 10:28:48 am »
น่ากลัวจังเลย

ออฟไลน์ Sumojii

  • medtech ปี 1
  • *
  • กระทู้: 2
    • อีเมล์
Re: มาลาเรีย กาลังจะหมดไปหรือมาใหม่พร้อม AEC
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: ธันวาคม 04, 2014, 02:37:49 pm »
ได้ความรู้เพิ่มเลยนะเนี่ย