ผู้เขียน หัวข้อ: ญี่ปุ่นโชว์แผงพลังงานแสงแดด เลียนแบบดอกไม้ แถมรูปการ์ตูนคิกขุ  (อ่าน 1399 ครั้ง)

ออฟไลน์ beebee

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 1550
    • อีเมล์











 

 
เมื่อ 19 ส.ค. เอเอฟพีรายงานความสำเร็จการคิดค้นนวัตกรรมพลังงานจากแสงอาทิตย์รูปแบบใหม่ที่มีลักษณะเลียนแบบดอก “ไฮเดรนเยีย” โดยฝีมือของศาสตราจารย์ ฮิโรชิ เซงาวะ จากศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูง มหาวิทยาลัยโตเกียว นักวิทยาศาสตร์จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งพยายามค้นหาพลังงานทดแทนที่มีรูปลักษณ์สวยงาม
 
 จากภาพของเอเอฟพี ศ.เซงาวะโชว์ต้นแบบแผงโซลาร์เซลล์ออร์แกนิกให้ชม เป็นภาพการ์ตูนเลียนใบหน้าประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ ผู้นำฝรั่งเศส 1 อัน และอีกอันเป็นภาพตัวการ์ตูนญี่ปุ่น “ฮัตสึเนะ มิขุ” มาสค็อตชื่อดังของโปรแกรมประพันธ์เพลงยอดนิยมของญี่ปุ่น
 สิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวสร้างขึ้นจากรงควัตถุที่กระตุ้นได้ด้วยแสง(โฟตอน)จึงเป็นแผงรับพลังงานจากแสงอาทิตย์ที่อยู่ในรูปแบบของวัสดุคล้ายแก้วขึ้นรูปเลียนแบบกลีบประกอบกันจนกลายเป็นดอกไฮเดรนเยียภายใต้ชื่อ“แอนนาเบลของเซงาวะ”(Segawa’s Annabelle) ตามชื่อสายพันธุ์ของดอกไฮเดรนเยีย (Hydrangea arborescens) บรรจุลงในกล่องไม้กลัดลวดลายตารางตามแบบฉบับดั้งเดิมของญี่ปุ่น
 กล่องดังกล่าวมีความกว้าง 20 เซนติเมตร และมีศักยภาพในการเก็บประจุไฟฟ้าสูงสุดได้เพียงพอสำหรับการเติมประจุไฟให้สมาร์ตโฟนทั่วไปได้ถึง 2 ครั้ง ซึ่งกลีบของแอนนาเบล จะทำหน้าที่เปลี่ยนโฟตอนเป็นพลังงานไฟฟ้าและนำไปเก็บสะสมไว้ในแกนกลางของดอกไม้ประดิษฐ์ ส่งผลให้กลีบของแอนนาเบล เปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเข้มขึ้น โดยแปรผันตรงตามปริมาณกระแสที่เก็บสะสมไว้ แต่เมื่อแอนนาเบลปล่อยกระแสไฟฟ้าออกมา กลีบที่มีสีน้ำเงินดังกล่าวจะค่อยมีสีอ่อนลง จนกระทั่งกลายเป็นสีขาวเหมือนกับดอกไฮเดรนเยียของจริง เมื่อกระแสไฟหมด
 ศ.เซงาวะ กล่าวว่า คนทั่วไปมักมีจินตภาพเกี่ยวกับเรื่องพลังงานไม่ค่อยดีนัก เช่น พลังงานนิวเคลียร์ ส่วนพลังงานความร้อนทำให้มักนึกถึงภาพไอร้อนและถ่านหินสีดำสกปรก พลังงานจากแสงอาทิตย์ก็นึกถึงฟาร์มแผงกระจกที่ใช้เนื้อที่มาก ขณะที่พลังงานจากลมก็มีปัญหาเสียงดังและขวางทางบินของนก แต่แอนนาเบลไม่มีปัญหาไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมแบบนั้น
 นอกจากนี้ แอนนาเบลยังกักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแสงของหลอดไฟประดิษฐ์ด้วย และนำไปประยุกต์ทำเป็นรูปแบบอื่นๆ ได้มากมาย เช่น รูปการ์ตูนเหมือนนายออลล็องด์ ผู้นำฝรั่งเศส และฮัตสึเนะ มิขุ
 “เราสามารถทำให้ตัวละครแอนิเมะ รูปภาพของบุคคลจริง และสิ่งของหลายๆ อย่าง เป็นแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ได้หมด” ศ.เซกาวะ กล่าว
 ไม่ได้คาดหวังว่า แอนนาเบล จะมีขีดความสามารถเทียบเท่ากับแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วไปที่ใช้กันส่วนใหญ่ แต่คาดหวังให้แวดวงดังกล่าวมีที่ว่างให้สิ่งประดิษฐ์ในลักษณะที่ดู “เจริญตา” สามารถเติบโตได้ เพื่อช่วยเพิ่มทัศนียภาพที่สวยงามให้แก่อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน
 ทั้งนี้ ตั้งแต่ประเทศญี่ปุ่นประสบเหตุรังสีรั่วไหลจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ฟูกูชิมะ เมื่อปี 2554 ทางการญี่ปุ่นสั่งปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งหมด ทำให้พลังงานไฟฟ้าหายไปกว่า 1 ใน 4 จากเดิม ส่งผลให้รัฐบาลพยายามริเริ่มผลักดันการใช้พลังงานทางเลือกอื่นๆ อาทิ พลังงานจากแสงอาทิตย์ ที่กำลังมีแนวโน้มเติบโตอย่างมากในประเทศ
 อย่างไรก็ตาม ยังคิดเป็นสัดส่วนเพียงร้อยละ 4.7 ซึ่งถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับพลังงานทั้งหมดที่ญี่ปุ่นใช้ (ไม่นับรวมพลังงานจากน้ำ) และน้อยกว่าประเทศพัฒนาแล้วรายอื่น เช่น อังกฤษ ร้อยละ 10.4 และเยอรมนี ร้อยละ 20.1