ผู้เขียน หัวข้อ: กรมการแพทย์เผยแผนรับอุบัติภัยสารเคมีและรังสี พร้อมช่วยเหลือผู้ป่วยได้ทันที  (อ่าน 466 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
อธิบดีกรมการแพทย์ชี้อันตรายจากสารเคมีเป็นอันตรายใกล้ตัวคนไทยมากขึ้น เผยพร้อมพัฒนา ทีมแพทย์ ไทยทั่วไทยรับมืออุบัติภัยสารเคมีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉิน

          วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมซ้อมแผนรับอุบัติภัยสารเคมี และรังสี ว่าจากข้อมูลการนำข้าสารเคมีในประเทศไทย พบว่ามีเพิ่มมากขึ้นทุกปี จากปี 2533 มีการนำเข้า 0.9 ล้านตัน จนถึงปี 2554 มีการนำเข้าสูงถึง 41 ล้านตัน สารเคมีเหล่านี้ มีการใช้ การขนส่ง และการเก็บ ทั่วประเทศ จากสถิติการใช้บริการสายด่วนเรื่องสารเคมีในปี 2555 ของกรมควบคุมมลพิษพบว่ามีสูงถึง 918 ครั้ง และสูงเป็น 967 ครั้งในปี 2556 ซึ่งนับว่าจะมีจำนวนสูงขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังมีอุบัติภัยสาร เคมีจำนวนมาก โดยมีข้อมูล 51 ครั้งในปี 2555 โดยมีจำนวนผู้บาดเจ็บ 385 ราย ผู้เสียชีวิต 18 ราย มีมูลค่า ความเสียหายถึง 1800 ล้านบาท โดยมีอุบัติเหตุเฉลี่ยเดือนละ 4 ครั้ง จะเห็นว่าอุบัติภัยสารเคมีนั้นไม่ได้พบยาก แต่บุคลากรทางการแพทย์ยังไม่คุ้นเคยเท่าไรนัก ในแผนความปลอดภัยเคมีวัตถุแห่งชาติ ฉบับที่ 4 นั้น กรมการแพทย์ได้กำหนดให้โรงพยาบาลนพรัตนราชธานีรับผิดชอบในการพัฒนาศูนย์พิษ ให้ครอบคลุมทุกภูมิภาค โดยเน้นการป้องกัน การจัดทำแผนให้เกิดความพร้อมรับผู้ป่วยปนเปื้อนสารเคมี รวมทั้งการวินิจฉัย ดูแล รักษาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งได้พัฒนาการซ้อมแผนรับอุบัติภัยสารเคมีที่เชื่อมโยงระบบบัญชาการสถานการณ์ และการสื่อสาร ความเสี่ยง ทุกหน่วยงานในพื้นที่ รวมถึงชุมชน เพื่อพัฒนาให้เกิดแผนตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน ด้านภัยสุขภาพ สารเคมีและรังสี ระดับประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการทดสอบระบบ และเป็นต้นแบบให้โรง      พยาบาลต่าง ๆ ทั่วประเทศสามารถนำไปประยุกต์ใช้และสามารถรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษได้อย่างทันท่วงที เนื่องจากการฝึกซ้อมแผนเป็นประจำนั้น จะทำให้มีความชำนาญปละปฏิบัติงานได้อย่างถูกวิธี และสามารถประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
     นายแพทย์อุทัย ตัณศลารักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี กล่าวว่า การประชุมการซ้อมแผนรับอุบัติภัยสารเคมีและรังสี เป็นการเตรียมความพร้อมด้านการรองรับอุบัติเหตุ อุบัติภัยสารเคมี ซึ่งจะทำให้เกิดความพร้อมและเกิดระบบการดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ ที่สำคัญจะทำให้เกิดระบบความปลอดภัยสำหรับบุคลากรในการดูแลผู้ป่วยที่ปนเปื้อนสารเคมีโดยไม่รับการปนเปื้อนสารเคมีจากผู้ป่วย ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายเป็นแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ประมาณ 350 คน ทั้งนี้การรักษาผู้ป่วยที่ได้รับสารพิษคือต้องทราบชนิดของสารพิษและรู้หลักการล้างพิษ Decontamination ออกจากร่างกายให้เร็วที่สุด ซึ่งวิธีง่ายๆ ในเบื้องต้นหากได้รับสารดังกล่าวทางผิวหนัง ให้ผู้ป่วยเปลี่ยนเสื้อผ้าและอาบน้ำด้วยน้ำสะอาด จะช่วยล้างสารพิษที่สัมผัสทางผิวหนังมากกว่า 90% กรณีสารพิษสัมผัสดวงตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดปริมาณมาก ๆ เพื่อลดความเข้มข้นของสารเคมีที่เข้าตา โดยให้ผู้ป่วยนอนตะแคงให้น้ำผ่านตาและไหลออกด้านข้าง เพื่อจะได้ไม่กระทบดวงตาอีกข้าง พร้อมกับนำฉลากหรือภาชนะที่ใช้บรรจุสารพิษที่สงสัยมาโรงพยาบาลเพื่อได้รับการวินิจฉัยอย่างถูกต้องและรวดเร็วที่สุด





*********************************
ที่มา : http://www.moph.go.th/moph2/index4.php