ผู้เขียน หัวข้อ: กรมการแพทย์ ผนึกเครือข่ายเข้มแข็ง ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ  (อ่าน 487 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
กรมการแพทย์ ผนึกเครือข่ายเข้มแข็ง ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ






              อธิบดีกรมการแพทย์ เผยสถาบันโรคทรวงอกจัดโครงการ “วิกฤตโรคหัวใจ ปลอดภัยทั่วไทย” (Save Thais from Heart Diseases) อบรมแพทย์ พยาบาล เพิ่มขีดความสามารถและขยายบริการการรักษาผู้ป่วย ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต

              วันนี้(12กุมภาพันธ์ 2558)ที่ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ กรุงเทพมหานคร นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา  อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ปัจุบันผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาการบริการทางการแพทย์ เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว จึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดเป็นโรคที่เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุขของประเทศไทยและของโลก จากข้อมูลสถิติขององค์การอนามัยโลกในปี 2553พบว่า มีคนเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจ 7.2 ล้านราย หรือคิดเป็น 12.2 %ของสาเหตุการเสียชีวิตทั้งหมด สำหรับอัตราการเสียชีวิต จากโรคหัวใจและหลอดเลือด ในประเทศไทยประมาณปีละ 37,000ราย ในระหว่างปี 2548-2552  คนไทยป่วยเป็นโรคหัวใจ ต้องนอนโรงพยาบาลวันละ 1,185 ราย โดยเป็นโรคหัวใจขาดเลือดประมาณ 450 รายต่อวันเสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันในประเทศไทยจะมีอัตราตายสูงกว่าที่อื่นประมาณ 4-6 เท่าสะท้อนให้เห็นความสำคัญของโรคดังกล่าว สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ จึงได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ ให้เป็นเครือข่ายดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ตามรูปแบบเครือข่ายการบริการ(ServicePlan)โดยจะมีการกำหนดพื้นที่บริการและระบบส่งต่อที่ชัดเจนเพิ่มศักยภาพครุภัณฑ์การแพทย์ด้านการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ทันสมัยในหน่วยงานเครือข่ายการบริการในภูมิภาคต่างๆ พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อให้สามารถส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วพร้อมทั้งมีทีมงาน (heart team) ซึ่งประกอบด้วยแพทย์ ผู้ช่วยแพทย์ พยาบาลห้องสวนหัวใจ พยาบาลห้องผู้ป่วยหนักหัวใจ ที่สามารถดูแลส่งต่อผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีช่องทางด่วน (Fast track) เพื่อลดระยะเวลาและขั้นตอนการรักษาผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ลดอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยลงได้
        อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ที่มีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจมักมีปัจจัยเสี่ยงจากความดันโลหิตสูง  เบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ การสูบบุหรี่ ความเครียด ไม่ออกกำลังกาย ไม่กินผักผลไม้ ภาวะอ้วน ในเพศชาย รอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว ในเพศหญิง รอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว อายุที่เพิ่มขึ้น ในเพศชาย อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เพศหญิง 50 ปีขึ้นไป โดยสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ จุกแน่นหน้าอก จะมีอาการจุกบริเวณยอดอกตรงกลาง มักเป็นในขณะออกกำลังกาย หลังจากหยุดออกกำลังกายอาการจะดีขึ้น เจ็บหน้าอกลักษณะเหมือนมีอะไรมากดทับ และอาการเจ็บนี้จะปวดร้าวไปที่หัวไหล่ซ้ายหรือไปที่กราม ถ้าอาการเจ็บหน้าอกนี้เป็นนานเกินกว่า 5 นาที พักแล้วไม่ทุเลาหรืออาการเจ็บรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ต้องรีบไปพบแพทย์ นอกจากนี้ยังมีอาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติโดยเฉพาะเวลาทำงาน หัวใจเต้นผิดปกติ จังหวะการเต้นของชีพจรมีสะดุดหรือไม่สม่ำเสมอ

             ดังนั้นขอให้ประชาชนปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด คือ ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รับประทานอาหารให้ครบ 5หมู่ งดอาหารเค็ม อาหารมัน เน้นรับประทานผักและผลไม้ ทำจิตใจให้แจ่มใสเพื่อลดความเครียด งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ บุหรี่ ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อย่างน้อย 30นาทีต่อวัน  ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี จะช่วยลดการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันได้และหากพบอาการผิดปกติหรือสัญญาณเตือนของโรคหลอดเลือดหัวใจข้างต้น ให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด





*******************************
ที่มา : http://www.moph.go.th/moph2/index4.php