ผู้เขียน หัวข้อ: แพทย์เตือน ป่วยไข้เลือดออกซ้ำ เสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง  (อ่าน 1551 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์


แพทย์ รพ.รามาธิบดี เผย ไข้เลือดออกระบาดหนักปีเว้นปี ยังไม่มียารักษาโดยตรง เตือน เป็นไข้สูงกว่า 3 วันรีบพบแพทย์ด่วน หากผู้ป่วยเคยเป็นไข้เลือดออกมาก่อน จะมีอาการรุนแรงขึ้น หากเกิดภาวะช็อก เสี่ยงต่อการแทรกซ้อนของโรคต่างๆ สูง...

เมื่อวันที่ 16 ก.ค. 58 ทาง ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ ผศ.นพ.ชนเมธ เตชะแสนศิริ หัวหน้าสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เกี่ยวกับ การติดเชื้อไข้เลือดออกและภาวะความรุนแรงของโรคไข้เลือดออก ว่า ไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อ ไวรัสแดงกี่ ซึ่งมียุงลายเป็นพาหะนำโรค ทั้งนี้ ในประเทศไทยมีเชื้อไวรัสแดงกี่อยู่ 4 สายพันธุ์ ตั้งแต่ไม่รุนแรงจนกระทั่งรุนแรง หรือขั้นภาวะช็อก บางชนิดทำให้เกิดความรุนแรงมากกว่าบางชนิด แต่โดยรวมแล้วทั้ง 4 สายพันธุ์มีโอกาสทำให้เกิดความรุนแรงได้ทั้งหมด ซึ่งส่วนใหญ่คนไทยจะเป็นชนิดที่ 2 จำนวนมาก จะระบาดปีเว้นปี เมื่อเทียบกับปีที่แล้วถือว่าปีนี้มีผู้ป่วยสูง แต่เมื่อเทียบกับปี 2556 ถือว่ายังน้อย และสามารถควบคุมได้ ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องตื่นตระหนก

ลักษณะอาการทั่วไปของโรคไข้เลือดออก ในระยะแรกจะเป็นไข้สูงประมาณ 3 วัน อาเจียน ปวดท้อง หรือเป็นผื่นแดงนิดหน่อย อ่อนเพลีย ซึม ให้รีบไปพบแพทย์ทันที ต่อมาจะเข้าสู่ระยะที่มีการรั่วของน้ำออกนอกเส้นเลือด หรือ ภาวะขาดน้ำ จะแสดงอาการช่วงที่ไข้กำลังลดลง ซึ่งอาจทำให้คนไข้ช็อก หากผ่านช่วงช็อกไปได้ น้ำที่รั่วออกนอกเส้นเลือด เยื่อหุ้มปอด หรือช่องท้อง จะไหลกลับเข้าอวัยวะของคนไข้ และเข้าสู่ระยะของการฟื้นตัว ทั้งนี้ช่วงที่เข้าสู่ภาวะช็อก บางคนอาจมีปัญหาเกล็ดเลือดต่ำ เลือดออกแล้วหยุดยาก ต้องให้การรักษาไปตามความเหมาะสม ส่วนใหญ่หากเกิดอาหารช็อกก็จะรั่วเยอะ ฉะนั้น การรักษาต้องให้น้ำเกลือทันที หากไม่ทันคนไข้มีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน และถึงขั้นเสียชีวิต ขณะเดียวกันหากเรารักษาสภาวะช็อกได้ดี แต่ให้น้ำไม่เหมาะสม เกินบ้างน้อยบ้าง อาจทำให้เป็นปัญหาขณะพักฟื้นได้อีก ฉะนั้นต้องคสบคุมปริมาณน้ำให้เหมาะสม ไม่มากหรือน้อยจนเกินไป

ทั้งนี้ การติดเชื้อครั้งแรกและครั้งที่สองมีความต่างกัน ซึ่งสังเกตได้ว่า การติดเชื้อที่ทำให้อาการรุนแรง คือ การติดเชื้อครั้งหลัง หรือครั้งที่ 2 ขึ้นไป เนื่องจากการติดเชื้อครั้งแรก ร่างกายของเราจะมีภูมิต้านทาน แต่ภูมิต้านทานไม่ได้อยู่ถาวร หรือป้องกันชนิดอื่นๆ สามารถป้องกันได้เพียงสายพันธุ์ที่เคยติดมาแล้ว เมื่อเมื่อสายพันธุ์อื่นเข้ามาสู่ร่างกาย จะไปกระตุ้นทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้น ขณะเดียวกันก็พบคนที่ติดครั้งแรกและอาการรุนแรง เพียงแต่พบน้อยกว่า

"การเป็นไข้เลือดออก เลือดสามารถออกได้ทุกส่วนของร่างกาย ส่วนใหญ่พบในกระเพาะอาหารและลำไส้ หรือเด็กอาจจะมีเลือดกำเดาไหล ปัจจุบันยังไม่สามารถคาดเดาจากการดูลักษณะภายนอกได้ว่า จะมีอาการรุนแรงขั้นไหน ฉะนั้นจะต้องเฝ้าติดตาม โดยเฉพาะช่วงที่ไข้ลง เพราะจะอยู่ในภาวะช็อก สำหรับคนที่มีความผิดปกติของเลือด หรือเกิดภาวะช็อกเป็นเวลานานๆ อาจเป็นปัญหาต่อตับและไต รวมทั้งการขาดเลือดไปเลี้ยงที่สมอง"

ปัจจุบัน ยังไม่มียาที่จะนำมารักษาโรคโดยตรง การรักษาจึงเป็นการประคับประคองไปตามโรคมากกว่า หากอาการยังไม่รุนแรงก็สามารถพักฟื้นที่บ้าน ทานน้ำเกลือและอาหารอ่อนย่อยง่าย ส่วนผู้ที่เริ่มมีอาการรุนแรง คือ ขาดน้ำหรือเข้าสู่ภาวะช็อก ก็ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาล โดยการรักษาจะให้สารน้ำ หรือน้ำเกลือ และต้องปรับความเข้มข้นของน้ำเกลือให้เหมาะสมกับผู้ป่วย รวมไปถึงการให้เลือดหรือส่วนประกอบของเลือด แพทย์จะให้ก็ต่อเมื่อจำเป็นเท่านั้น ซึ่งเกล็ดเลือดต่ำ เป็นภาวะที่เจอได้เป็นปกติอยู่แล้วในโรคไข้เลือดออก ส่วนใหญ่เกล็ดเลือดจะต่ำลงอีกในเวลาสั้นๆ ถ้าไม่มีเลือดออกมาจนควบคุมไม่ได้ เราก็จะไม่ให้เกล็ดเลือด หากสามารถประคับประคองไปได้ ก็จะผ่านวิกฤติ ทั่วไปก็จะพยายามใช้ให้น้อยที่สุด

ขณะนี้ ทุกกลุ่มอายุเสี่ยงเป็นไข้เลือดออก แต่ปัจจุบันกลุ่มที่พบว่าป่วยมากที่สุดคือ เด็กโต หรือผู้ใหญ่ตอนต้น ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง ยังไม่มีการรายงานอย่างชัดเจน แต่ปัจจัยหนึ่งในนั้น คือ การตอบสนองของภาวะภูมิคุ้มกันของร่างกาย นอกจากนี้ การรับประทานยาบางชนิดมีความเสี่ยงที่ทำให้เลือดออกง่ายผิดปกติ นั้นคือ แอสไพริน ยาเอ็นเสด ซึ่งยาจำพวกนี้อาจทำให้เป็นแผลในกระเพาะ และเกิดเลือดออกได้ง่าย หากพบว่า เป็นไข้ควรทานยาในหมวดของยาพาราเซตามอล ทั้งนี้ ก็ต้องระวังเรื่อง ขนาดในการรับประทานให้เหมาะสม หากรับประทานเกินขนาดอาจเกิดภาวะตับอักเสบ หรือตับวาย

วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ การทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ตามพาชนะโอ่ง ไห ยางล้อรถ หรือเศษกระเบื้องที่มีน้ำขัง รวมไปถึงการฉีดยากันยุง หรือพ่นยากันยุง ก็สามารถช่วยระงับการแพร่กระจายของเชื้อไข้เลือดออกได้.





ที่มา http://www.thairath.co.th/