ผู้เขียน หัวข้อ: ระบบแพทย์ฉุกเฉิน ‘สสจ.-อบจ.อุบล’ รวมศูนย์แจ้งเหตุทุกประเภทเบ็ดเสร็จที่ 1669  (อ่าน 475 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
ระบบแพทย์ฉุกเฉิน ‘สสจ.-อบจ.อุบล’ รวมศูนย์แจ้งเหตุทุกประเภทเบ็ดเสร็จที่ 1669




              รมว.สธ.ชื่นชมระบบการแพทย์ฉุกเฉิน จังหวัดอุบลราชธานี ผนึกกำลังร่วมกับท้องถิ่น รวมศูนย์รับแจ้งเหตุทุกประเภทเบ็ดเสร็จที่สายด่วน 1669 พร้อมตั้งชุดปฏิบัติการรับมือปัญหาสาธารณภัยต่างๆ

             นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังการตรวจเยี่ยมการดำเนินงานบริการการแพทย์ฉุกเฉิน โครงการกู้ชีพเฉลิมราชย์ 60 ปี จ.อุบลราชธานี ที่ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ จ.อุบลราชธานี ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้เร่งพัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉิน โดยเน้นระบบการแพทย์ฉุกเฉินนอกโรงพยาบาล ให้มีทีมแพทย์กู้ชีพออกไปช่วยเหลือผู้ป่วยในที่เกิดเหตุหรือที่บ้าน เพื่อให้ได้รับการช่วยเหลือด้วยวิธีที่ถูกต้องก่อนนำส่งต่อไปยังโรงพยาบาล พร้อมชื่นชมระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน จ.อุบลราชธานี ดำเนินการโดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานี ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี เป็นแหล่งรวมศูนย์รับแจ้งเหตุทุกประเภท ตั้งแต่การเจ็บป่วยฉุกเฉิน อุบัติเหตุ อุบัติภัยและภัยพิบัติ

             โดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานีจะทำหน้าที่เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ จ่ายงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุบลราชธานีจะทำหน้าที่พัฒนาระบบและควบคุม กำกับ ตรวจสอบมาตรฐานการปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉิน จดทะเบียนทีมปฏิบัติการ นับว่าทาง จ.อุบลราชธานี ได้จัดระบบการแพทย์ฉุกเฉินรองรับครอบคลุมทั้งจังหวัด โดยมีการประสานการทำงานภายใต้ศูนย์สั่งการเดียว จนได้รับการยอมรับจากประชาชน

              หากประชาชนต้องการแจ้งเหตุ สามารถติดต่อได้ที่ 1669 หมายเลขเดียว ซึ่งพร้อมให้บริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง มีสายโทรศัพท์ 50 คู่สาย วิทยุสื่อสาร 5 ระบบ มีหน่วยบริการรถกู้ชีพที่มีระบบดาวเทียมนำทาง 220 คัน มีชุดปฏิบัติการการแพทย์ฉุกเฉินสังกัดกระทรวงสาธารณสุข องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มูลนิธิและหน่วยงานอื่น 212 ชุด กระจายอยู่ครบทุกตำบล รับผิดชอบชีวิตประชาชนกว่า 1.8 ล้านคน เฉลี่ย 8,000 คนต่อ 1 หน่วยกู้ชีพ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเฉลี่ยวันละ 400 ครั้ง ซึ่ง 3 ใน 4 เป็นผู้ใช้บริการเจ็บป่วยฉุกเฉิน เน้นให้ปฏิบัติการกู้ชีพขั้นต้น

              นอกจากนี้ ยังได้เตรียมความพร้อมในการรับมือปัญหาสาธารณภัยต่างๆ ทั้งอัคคีภัยในอาคารสูง อุบัติเหตุหมู่ อุบัติเหตุทางน้ำ โดยตั้งทีมมินิเมิร์ทที่เป็นสหวิชาชีพ ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตำรวจ มูลนิธิและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเตรียมพร้อมด้านวัสดุอุปกรณ์ เช่น เรือ-รถกู้ชีพ เวชภัณฑ์ฉุกเฉิน เสื้อชูชีพ รองเท้าบู๊ท อุปกรณ์ยังชีพ วิทยุสื่อสาร รถบรรทุก ไว้ใช้ยามเกิดเหตุฉุกเฉินอีกด้วย





*********************************************
ที่มา : http://www.hfocus.org/headline