ผู้เขียน หัวข้อ: อปสข.เขต 4 อนุมัติงบส่งต่อ รพ.เอกชนในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ต้องรักษาด่วน  (อ่าน 1356 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
อปสข.เขต 4 อนุมัติงบส่งต่อ รพ.เอกชน ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่ต้องรักษาด่วน


            อปสข.เขต 4 สระบุรีอนุมัติส่งต่อผู้ป่วยสิทธิบัตรทองโรคหัวใจและหลอดเลือดที่จำเป็นต้องรักษาเร่งด่วน เช่น ผู้ป่วยที่ขาดเลือดและก้านหัวใจตาย รักษาใน รพ.เอกชนเพิ่มอีก 3 แห่งในเขต คือ รพ.ยันฮี, รพ.มงกุฎวัฒนะ และ รพ.ปิยะเวท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบกองทุนบัตรทอง



นพ.ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา

นพ.ชลอ ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 4 สระบุรี เปิดเผยว่า ในการประชุม คณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เขต 4 สระบุรี หรือ อปสข.ครั้งที่ 10/2559 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2559 มี นพ.ชูวิทย์ ลิขิตยิ่งวรา ประธาน อปสข.ทำหน้าที่ประธานการประชุม ได้อนุมัติ

1.อัตราจ่ายสำหรับบางบริการเฉพาะเขตเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการและคุณภาพผลงานบริการฯ

2.การขอใช้เงินที่เหลือจ่ายค่าบริการทางการแพทย์ที่เบิกจ่ายในลักษณะงบลงทุน (งบค่าเสื่อม) ปีงบ 2559

และ 3. อนุมัติแนวทางบริหารจัดการกองทุนโรคเรื้อรัง ปี 2560

และเสนอให้มีการเห็นชอบ การจัดสรรเงินปรับเกลี่ยระดับเขต/จังหวัด (PP non UC, ค่าตอบแทนกำลังคน) จำนวน 113.5 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้เสนอให้ สปสช.จัดทำแนวทางระเบียบการใช้เงินของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น (กองทุนตำบล) ที่เหลือจ่าย                                   

การพิจารณาเงื่อนไขบริการและอัตราจ่ายสำหรับบางบริการเฉพาะเขตเพื่อสนับสนุนส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการและคุณภาพผลงานบริการ และหรือเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อผู้มีสิทธิ และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ Global budget ของบริการผู้ป่วยในทั่วไประดับเขต ปี 2560 กรณีการจ่ายหน่วยบริการเอกชน ในอัตราจ่ายภายในเขต จากข้อมูลการไปรับบริการผู้ป่วยใน ปี 2559 พบว่ามีผู้ป่วยในเขตไปรับบริการหน่วยบริการเอกชนในส่วนของการทำหัตถการ การรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดโคโรนารี่ผ่านสายสวน (PCI) มากที่สุด 5 อันดับ ดังนี้

1.รพ.ยันฮี จำนวน 257 ครั้ง 

2.รพ.ปิยะเวท จำนวน 153 ครั้ง 

3.รพ.เกษมราษฎร์ประชาชื่น จำนวน 90 ครั้ง

4.รพ.มงกุฎวัฒนะ จำนวน 25 ครั้ง

และ 5.รพ.จุฬารัตน์ 3 จำนวน 16 ครั้ง




ทั้งนี้มติ อปสข.เห็นควรให้ส่งต่อไปรักษาในหน่วยบริการเอกชน เพิ่มเติมอีก 3 แห่งได้แก่ รพ.ยันฮี, รพ.มงกุฎวัฒนะ และ รพ.ปิยะเวท โดยหน่วยบริการเอกชนทั้ง 3 แห่งจะได้รับอัตราชดเชยผู้ป่วยในเป็นอัตราภายในเขตในทุกโรค   

ทั้งนี้จากตัวเลขการรับบริการสวนหัวใจในเขตมีจำนวนค่อนข้างมาก และเพื่อให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) ได้รับการรักษาที่จำเป็นเร่งด่วน เช่น ผู้ป่วยที่ขาดเลือดและก้านหัวใจตาย จึงมีความจำเป็นต้องรีบส่งไปรักษาที่หน่วยบริการภาคเอกชน

สำหรับรายการจัดสรรเงินปรับเกลี่ยระดับเขต/จังหวัด (PP non UC, ค่าตอบแทนกำลังคน) เป็นไปตามมติคณะอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่ เขต 4 สระบุรี ครั้งที่ 9/2559 เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2559 มีมติให้จัดสรรวงเงินบริหารระดับประเทศ/เขต/จังหวัด ที่กระจายวงเงินให้ เขต 4 จำนวน 113.5 ล้านบาท โดยจัดสรรให้ 6 จังหวัด ไม่รวมจังหวัดนนทบุรีและปทุมธานี ให้กับ รพช.เท่ากับ 95% ของงบประมาณปี 59 และนำส่วนที่เหลือจัดสรรให้ รพศ. รพท. ตามส่วนต่างปี 59 และ60 โดยปรับลดตามสัดส่วนภายใต้วงเงินที่เหลือ โดย สสจ.ทั้ง 8 จังหวัดได้ดำเนินการปรับเกลี่ยรายหน่วยบริการ วงเงิน 113.5 ล้านบาท ภายใต้วงเงินจังหวัด ดังนี้ จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวน 25 ล้านบาท จ.ลพบุรี จำนวน 27 ล้านบาท จ.สระบุรี จำนวน 26 ล้านบาท จ.อ่างทอง จำนวน 12 ล้านบาท จ.นครนายก จำนวน 10 ล้านบาท และ จ.สิงห์บุรี จำนวน 11 ล้านบาท

ในส่วนของแนวทางการบริหารงบบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ปี 2560 ให้มีงบกองหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพิ่มเติมจากงบเหมาจ่ายรายหัวที่มีอยู่แล้ว เป็นงบบริการควบคุมป้องกันและรักษาโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงโดยเฉพาะเพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการโรคเบาหวาน/ความดันโลหิต โดยอนุมัติแนวทางบริหารจัดการกองทุนโรคเรื้อรัง ปี 2560 ให้คณะทำงาน NCD ดำเนินการ และรายงานผลต่อที่ประชุม อปสข.ภายในเดือนธันวาคม 2559

นอกจากนี้ยังได้มีการรายงานผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น ที่มีในเขต 4 สระบุรี ครอบคลุม อบต.และเทศบาล 99.85% และวางแนวทางการกำกับ ติดตาม ด้านการเงิน ประกอบด้วย ระยะสั้น ได้แก่

1.โอนเงินลงกองทุนให้เร็วภายในเดือน พฤศจิกายน 59

2.เร่งรัดให้ทุกกองทุนฯ จัดทำแผนปี 60 ให้เสร็จภายในไตรมาสแรก

และ 3.รายงานสถานการณ์กองทุนฯ ในวาระการประชุมประจำเดือนของ อปท.แต่ละจังหวัด 

ส่วนระยะยาว ได้แก่

1.ปรับหลักเกณฑ์การจ่ายงบประมาณให้กองทุนฯ อปท. (โดยเฉพาะที่มีเงินเหลือจำนวนมาก) 

2.เพิ่มความเข้มงวด กรณีกองทุนฯ ไม่ปฏิบัติตามประกาศฯ หลักเกณฑ์ที่กำหนด และจะได้มีการเสนอปรับประกาศฯ คู่มือ แนวทาง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน






*********************************************
ที่มา : https://www.hfocus.org/news