ผู้เขียน หัวข้อ: “ภาวะพร่องสุขภาพ” ที่นำไปสู่การเป็นโรคต่างๆ ได้ในอนาคต  (อ่าน 1243 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์





ภาวะพร่องสุขภาพ (Sub- optimal Health) เป็นภาวะขาดวิตามินและเกลือแร่เพียงเล็กน้อย ร่างกายจึงไม่แสดงความผิดปกติออกมาให้เห็นเป็นโรคอย่างชัดเจนในทันที แค่มีสัญญาณเตือนเบาๆ รูปแบบของอาการต่างๆ ที่มีผลบั่นทอนสุขภาพ และทำให้คุณภาพชีวิตลดลง

     ด้วยความที่อาการเสื่อมของร่างกายเนื่องจากภาวะพร่องสุขภาพ เกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น เป็นผื่นแพ้ง่าย ฯลฯ ทำให้หลายคนมองข้ามภัยใกล้ตัวชนิดนี้ หรือต่อให้ไปหาหมอตรวจสุขภาพ ก็จะไม่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคใดๆ ทางที่ดีคือ หมั่นสังเกตตัวเอง และรักษาอาการให้ถูกจุด ด้วยการหาสาเหตุให้เจอ

     อาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ไม่สดชื่น เกิดจากการที่ร่างกายเกิด ภาวะพร่องเหล็ก หรือโฟเลท และวิตามินบี 12 ส่งผลให้การผลิตเม็ดเลือดแดงลดลง ทำให้การขนส่งออกซิเจนไปให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายลดลง กระบวนการเผาผลาญสารอาหารจึงให้พลังงานที่ลดลงตามไปด้วย จนร่างกายเกิดอาการอ่อนเพลีย

     ส่วนใครที่เป็นหวัดง่าย สันนิษฐานได้เลยว่าร่างกายเกิดภาวะพร่องวิตามินเอ สังกะสี หรือวิตามินซี จึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนร่างกายติดเชื้อและเจ็บป่วยได้ง่าย

ภาวะพร่องวิตามินดี
โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง




ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีวิตามินและเกลือแร่รวมหลายชนิด
เพื่อเสริมวิตามินและเกลือแร่ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย



 ถ้าเลือกไม่ถูกเพราะผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเม็ดในท้องตลาดมีมากมายเหลือเกิน แนะนำวิตามินรวม ที่ในหนึ่งเม็ดมีวิตามินและเกลือแร่รวม 22 ชนิด จากเอถึงซิงค์ พร้อมเบต้า – แคโรทีน ลูทีน และไลโคปีน โดยลูทีนจะช่วยดูดซับแสงสีน้ำเงิน (Blue Light) จากสมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และหน้าจอโทรทัศน์ ช่วยปกป้องจอรับภาพตาและเลนส์จากอันตรายของแสงสีฟ้า ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และโรคต้อกระจก

     ส่วนไลโคปีนนั้น ช่วยลดคอเลสเตอรอล ชนิด LDL ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ มะเร็งต่อมลูกหมาก และช่วยบำรุงผิวพรรณอีกด้วย

     เพียงคุณหมั่นสังเกตตัวเอง และรีบเสริมวิตามินที่ร่างกายพร่องไปได้ทันท่วงที ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ คุณก็จะมีภาวะสุขภาพสมบูรณ์สูงสุด (Optimal Health) มาแทนที่


** ข้อมูลจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอกราช บำรุงพืชน์ ภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ที่มา :http://www.sanook.com/health/8237/?utm_source=taboola&utm_medium=matichon-matichon