ผู้เขียน หัวข้อ: เฝ้าระวัง 4 อาการทางใจ หลังน้ำลด  (อ่าน 1167 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
เฝ้าระวัง 4 อาการทางใจ หลังน้ำลด
« เมื่อ: ธันวาคม 14, 2017, 03:14:10 pm »


กรมสุขภาพจิต จัดแผนฟื้นฟูสุขภาพจิตหลังน้ำลด เฝ้าระวังผลกระทบทางจิตใจ 4 อาการโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประสบภัยที่ยังปรับตัวไม่ได้

น.ต.นพ.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นรที่ภาคใต้เริ่มคลี่คลายขึ้น แต่ในช่วงที่น้ำลดนี้ อาจมีผู้ประสบภัยที่ยังปรับตัวได้ช้าหรือปรับตัวไม่ได้บางส่วนที่ต้องให้การดูแลต่อเนื่อง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมสุขภาพจิต ได้จัดแผนฟื้นฟูสภาพจิตใจทุกแห่ง โดยส่งทีมแพทย์พยาบาลออกเยี่ยมบ้าน ตรวจคัดกรองปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะ 4 อาการ ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษได้แก่ 1.อาการของโรคเครียดรุนแรงหรือโรคพีทีเอสดี (PTSD)

2. ความเครียดและวิตกกังวล 3.ภาวะซึมเศร้า และ 4ภาวะติดสุราหรือสารเสพติด หากพบจะให้ดูแลรักษาโดยเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้อาการลุกลามจนกลายเป็นผู้ป่วยจิตเวชรายใหม่ และที่รุนแรงที่เน้นหนักที่สุดคือการป้องกันการฆ่าตัวตาย ซึ่งดำเนินการในลักษณะเดียวกันในพื้นที่น้ำท่วมทุกแห่ง ล่าสุดนี้ มีผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่มีความเครียดระดับสูง มีอาการซึมเศร้า มีความคิดอยากฆ่าตัวตาย ต้องให้การดูแลต่อเนื่องทั้งหมด 187 คน โดยจะติดตามเยี่ยมเป็นระยะๆ คือ 2 สัปดาห์ 1 เดือน และ 3 เดือนจนกว่าจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ

ด้านพญ.บุญศิริ จันศิริมงคล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชสงขลา จ.สงขลา กล่าวว่า ในช่วงหลังน้ำลด 1-2 สัปดาห์นี้ โรงพยาบาลจิตเวชสงขลา และศูนย์สุขภาพจิตที่ 12 ได้วางแผนป้องกันปัญหาสุขภาพจิตร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ตรัง แบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือออกเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมควบคุมป้องโรคติดต่อทีมฟื้นฟูอนามัยสิ่งแวดล้อม ตรวจคัดกรองความเครียดในชุมชน และในสถานพยาบาล หากพบจะให้การดูแลรักษาทันที และติดตามอาการต่อเนื่องจนกว่าจะกลับคืนสู่สภาวะปกติ และการให้ความรู้คำแนะนำประชาชนผ่านทางหอกระจายข่าว และอสม. โดยทั่วไปหลังประสบภัยประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 80 จะปรับตัวได้ภายใน 1-3 เดือน

สำหรับลักษณะของ 4 อาการทางจิตใจที่อาจเกิดขึ้นหลังน้ำลด ได้แก่ 1. โรคเครียดรุนแรงหรือโรคพีทีเอสดี โดยทั่วไปจะพบได้หลังเกิดเหตุการณ์ 3-6 เดือน แต่บางคนอาจเกิดได้เร็วกว่า มีอาการคือ ฝันร้ายถึงเหตุการณ์บ่อยๆ รู้สึกเหมือนอยู่ในเหตุการณ์น้ำท่วมอีกครั้ง นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ หากเกิดในเด็กเล็ก จะส่งผลต่อพัฒนาการทางสมอง ทำให้ตัดสินใจไม่ดี ไม่มีสมาธิการเรียน 2.ความเครียดและวิตกกังวล จะมีอาการตื่นตระหนก มักมีมือสั่น ใจสั่น เหงื่อออก ปวดศีรษะบ่อยๆ ท้องอืด แน่นจุกเสียด อ่อนเพลีย ไม่มีแรง นอนหลับยาก

3.ภาวะซึมเศร้า จะมีทั้งอาการทางกายปรากฏเช่น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ทำงานไม่ไหว ปวดศีรษะบ่อยๆ จุกเสียด นอนไม่หลับ และมีอาการทางจิตใจคือ อารมณ์เศร้าหมอง ท้อแท้ ร้องไห้ง่าย เบื่อหน่าย ลืมบ่อย ใจลอย รู้สึกชีวิตไม่มีความหมาย ซึ่งเป็นภาวะที่มีอันตราย มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายได้ง่าย และ 4 ภาวะติดเหล้า และสารเสพติด จะนำไปสู่การสูญเสียความสามารถด้านต่างๆ เช่นความจำ

หากผู้ประสบภัยมีอาการที่กล่าวมา ขอให้รีบไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือโทรปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง ในส่วนของประชาชนทั่วไปหากพบคนในครอบครัวหรือคนรู้จัก มีอาการที่กล่าวมา อย่าปล่อยให้อยู่คนเดียว ขอให้รีบเข้าไปพูดคุยและแจ้งอสม.หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในสถานพยาบาลใกล้บ้านทันที เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบำบัดรักษาโดยเร็วที่สุด ซึ่งจะมีโอกาสหายขาดได้สูง


ที่มา http://www.thaihealth.or.th