ผู้เขียน หัวข้อ: แพทย์ชี้ข้อมูลคนไทยตายไส้ติ่งอักเสบสูงอันดับ 5 ของโลกเกินจริง  (อ่าน 3118 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
แพทย์ชี้ข้อมูลคนไทยตายไส้ติ่งอักเสบสูงอันดับ 5 ของโลกเกินจริง ชี้อัตราการตายลดลงต่อเนื่อง ยันสาเหตุ รพ.ชุมชนไม่ผ่าเพราะหมอไม่มีประสบการณ์หวั่นเกิดข้อผิดพลาด

นพ.สุรเจตน์ อัศวผดุงสิทธิ์ แพทย์ประจำคลีนิกส่วนตัว กล่าวถึงกรณีข้อมูลที่ถูกเผยแพร่จาก รศ.นพ.วัชรพงศ์ พุทธิสวัสดิ์ ประธานคณะอนุกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุขระดับพื้นที่ และผู้แทนราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย ที่ระบุคนไทยเสียชีวิตจากไส้ติ่งอักเสบสูงเป็นอันดับที่ 5 จาก 198 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเทียบเคียงการเสียชีวิตในอัตราใกล้เคียงกับประเทศแถบทวีปแอฟริกาว่า ข้อมูลของ รศ.นพ.วัชรพงศ์ ไม่น่าจะเป็นความจริง เนื่องจากได้สืบค้นข้อมูลวิชาการทางการแพทย์เกี่ยวกับการตายในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบของประเทศไทย ก็พบว่าอัตราการตายมีสัดส่วนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ จากข้อมูลที่สืบค้นได้ผ่านเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการทางการแพทย์ ทำให้เห็นข้อมูลว่าตลอดระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา จำนวนการเสียชีวิตจากไส้ติ่งอักเสบของคนไทยมีสัดส่วน 1 .5 คนต่อผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบ 1 แสนคน และลดลงเหลือ 0.8 คนต่อผู้ป่วย 1 แสนคน หรือลดลงราว 20%

“ประเทศไทยมีสัดส่วนการเสียชีวิตจากไส้ติ่งอักเสบอยู่ในระดับกลางๆ ของทวีปเอเชีย และประเทศเพื่อนบ้านแถบอาเซียนอย่างอินโดนีเซีย พม่า หรือแม้แต่สิงคโปร์ยังมีผู้เสียชีวิตมากกว่าบ้านเราด้วย ขณะที่ข้อมูลที่พบในกลุ่มประเทศทวีปแอฟริกาอย่างเช่นประเทศแคเมอรูน ก็มีสัดส่วนการเสียชีวิตที่สูงกว่าไทย จึงไม่น่าเป็นไปได้ที่ประเทศไทยจะมีผู้เสียชีวิตจากไส้ติ่งอักเสบเทียบกับประเทศแถบแอฟริกา และข้อมูลของ รศ.นพ.วัชรพงศ์ อาจจะรุนแรงเกินไป และไม่ทราบว่าเป็นข้อมูลจากที่ไหนด้วย”

นพ.สุรเจตน์ กล่าวอีกว่า ส่วนประเด็นการรักษาที่ล่าช้า อันเกิดจาการส่งต่อจากโรงพยาบาลชุมชนก็น่าจะเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเสียชีวิตได้ เพราะเกิดการรักษษ และตรวจวินิจฉัยโรคล่าช้า อีกทั้งมีการส่งต่อคนไข้มายังโรงพยาบาลประจำจังหวัดมากขึ้น ก็เป็นผลให้คนไข้ต้องรอการรักษา แต่ประเด็นดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับสัดส่วนการเสียชีวิตของคนไทยที่ป่วยไส้ติ่งอักเสบ

“แน่นอนว่าการผ่าตัดไส้ติ่งอักเสบมีอัตราการตายที่ต่ำ เพราะการผ่าตัดไม่ได้ซับซ้อน แต่ที่โรงพยาบาลชุมชนเลือกส่งต่อก็เพราะหากผ่าตัดจะมีความเสี่ยง แพทย์ที่ประจำอยู่ส่วนใหญ่ก็แพทย์ใช้ทุน ประสบการณ์ยังมีไม่มาก โอกาสผิดพลาดก็มีสูง แพทย์ดมยาก็ไม่พร้อมหรือบางแห่งไม่มี เมื่อมีความเสี่ยงจะทำให้คนไข้เสียชีวิต จึงจำเป็นจะต้องส่งต่อ” นพ.สุรเจตน์ กล่าว

นพ.สุรเจตน์ กล่าวทิ้งท้ายว่า อย่างไรก็ตาม หากตัวเลขการเสียชีวิตในผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบที่สูงขึ้นก็มาจากเหตุผลเดียวคือคนไทยมีอายุยืนขึ้น และเมื่ออายุมากหรือเป็นผู้สูงวัยที่ป่วยไส้ติ่งอักเสบ เมื่อผ่าตัดก็มีโอกาสเสียชีวิตมากกว่า




:) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :) :)




ที่มา...https://www.hfocus.org/content/2018/03/15530