ผู้เขียน หัวข้อ: สังคมสูงวัย ยุคเด็กเกิดน้อย  (อ่าน 5094 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
สังคมสูงวัย ยุคเด็กเกิดน้อย
« เมื่อ: มีนาคม 29, 2018, 10:25:53 am »


สังคมสูงวัย ยุคเด็กเกิดน้อย
Sun, 2018-02-25 18:49   -- hfocus
โครงการการเปลี่ยนแปลงทางประชากรและความอยู่ดีมีสุขในบริบทสังคมสูงวัย : ยุคเด็กเกิดน้อย โดย น.ส.วิราภรณ์ โพธิศิริ วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ข้อมูลจาก สธ.ระบุปี 2546 มีเด็กเกิดประมาณ 8 แสนคน ปี 2560 เด็กเกิด 7 แสนคน และคาดว่าใน ปี 2583 เด็กเกิดประมาณ 5 แสนคน ซึ่งแนวโน้มจะลดลง

จากการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่าง 15,222 ครัวเรือน จำนวน 9,457 คน ทั้งเพศชายและหญิง โดยผู้หญิงเป็นกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ อายุ 15-49 ปี จากการสำรวจข้อมูลจำนวนบุตรที่ผู้หญิงจะมีตลอดชีวิต พบว่า ในปี 2560 อยากมีบุตร 1.69 คน ลดลงจากปี 2544 อยู่ที่ 1.86 คน และเมื่อดูตามเขตที่อยู่อาศัย พบว่าเขตชนบทมีบุตรสูงกว่าเขตเมือง โดยเฉพาะปี 2560 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) มีจำนวนบุตรเฉลี่ยสูงสุด 2.3 คน ขณะที่กรุงเทพมหานคร มีจำนวนบุตรต่ำสุด 1.06คน อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงมีภาวะมีบุตรยากถึง 16%

นอกจากนี้ ได้มีการสอบถามถึงความต้องการอยากมีบุตร หรือขนาดครอบครัวที่ผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ทั้งที่มีสถานะโสดและมีครอบครัว ต้องการอยากจะมี ภาพรวมพบว่า ปี 2560 อยากมีบุตร 2 คน ลดลงจากปี 2544 อยากมีบุตร 2.4 คน เฉพาะผู้หญิงสถานะโสด ในปี 2560 กลุ่มคนโสดอายุ 15-34 ปีเป็นวัยที่ต้องการกระตุ้นให้อยากมีบุตร แต่กลับพบว่ามีความต้องการอยากมีบุตรอยู่แค่ 1.5 คน และลดลงตามอายุที่เพิ่มขึ้น และลดลงจากปี 2544 อยากมีบุตร 2 คน ทั้งนี้ ผู้หญิงไทยมีอายุเฉลี่ยในการสมรส ปี 2544 เฉลี่ยอายุ 22.7 ปี ส่วนปี 2560 เฉลี่ยอายุ 23.6 ปี

อายุ 35-39 เป็นโสดเพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงในเมืองมีอายุเฉลี่ยแรกสมรสสูงกว่าในชนบท โดยใน ปี 2560 พบว่าอายุเฉลี่ยของการสมรสของ ผู้หญิงในกรุงเทพฯ เฉลี่ยอายุที่ 25 ปี ขณะที่จำนวนครั้งที่แต่งงาน พบว่าในปี 2544 สมรส 1 ครั้ง 90% และอีก 10% สมรสมากกว่า 1 ครั้ง แต่ผ่านมากว่า 10 ปีใน ปี 2560 พบว่า สมรส 1 ครั้ง 80% และ20% สมรสมากกว่า 1 ครั้ง ขณะที่แนวโน้มของผู้หญิงที่ไม่แต่งงานและอยู่เป็นโสดเพิ่มมากขึ้น คือช่วงอายุ 35-39 ปี

ทั้งนี้ เมื่อสอบถามถึงทัศนคติของหญิงไทยต่อการสร้างครอบครัวและการมีบุตร พบว่าคนมีอายุมาก ให้ความสำคัญกับการมีลูกมากกว่าคนอายุน้อย

เมื่อยกตัวอย่าง ข้อความว่าไม่ต้องมีลูกก็มีชีวิตน่าพอใจได้ ส่วนใหญ่ 75% เป็นอายุน้อยที่เห็นด้วย

ขณะที่ 60% เห็นด้วยกับข้อความว่า "แม่ที่ทำงานนอกบ้านสามารถมีความสัมพันธ์ที่ดีอบอุ่น แน่นแฟ้นกับลูกได้เหมือนแม่ที่ไม่ได้ทำงานนอกบ้าน"











ที่มา...https://www.hfocus.org/content/2018/02/15474





ออฟไลน์ Rubblestyx

  • medtech ปี 1
  • *
  • กระทู้: 2
Re: สังคมสูงวัย ยุคเด็กเกิดน้อย
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ธันวาคม 18, 2018, 11:38:18 am »
ใช่ครับในปัจจุบันมีเด็กเกิดน้อยในปัจจุบัน

ออฟไลน์ Unityfah

  • medtech ปี 1
  • *
  • กระทู้: 2
Re: สังคมสูงวัย ยุคเด็กเกิดน้อย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: กรกฎาคม 12, 2019, 11:32:30 am »
เพราะเศรษฐกิจไทยครับ

ออฟไลน์ Tomicsum

  • medtech ปี 1
  • *
  • กระทู้: 2
Re: สังคมสูงวัย ยุคเด็กเกิดน้อย
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: กรกฎาคม 30, 2019, 05:45:29 pm »
ประเทศไทยเรื่องการเอาใส่ผู้สุงอายุยังไม่ได้เอาใจใส่ ลองไปดูที่ญี่ปุ่นดิเค้าเอาใจใส่มากเรื่องเรื่องนี้

ออฟไลน์ BlackStarTh

  • medtech ปี 1
  • *
  • กระทู้: 2
Re: สังคมสูงวัย ยุคเด็กเกิดน้อย
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2020, 11:19:30 am »
อ่านแล้วไม่อยกาแก่เลยอ่า ต้องดูแลสุขภาพตั้งแต่ตอนนี้แล้วหล่ะ สำหรับคนที่ยังไม่กันกลับมาดุแลตัวเองบอกเลยตอนแกลำบากเลยละ ยิ่งไม่มีลูกหลานคอยดูแลจะทำไง