ผู้เขียน หัวข้อ: ดื่มน้ำรักษาโรค  (อ่าน 1346 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
ดื่มน้ำรักษาโรค
« เมื่อ: สิงหาคม 28, 2018, 11:07:36 am »




น้ำเป็นสารอาหารสำคัญของร่างกาย เพราะน้ำเป็นตัวหลักในการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ดังนั้น ภาวะการขาดน้ำ สามารถนำไปสู่อาการเจ็บป่วยต่างๆ ได้ ทุกคนเข้าใจข้อนี้ดี แต่อาจจะยังไม่เห็นโครงสร้าง จึงมองข้ามน้ำไป เมื่อมีอาการเจ็บป่วย หากเราเข้าใจบทบาทเบื้องต้นของน้ำที่มีต่อร่างากย เราอาจจะไม่ต้องใช้ยาในการรักษาโรคเลยก็ได้

 

น้ำคือชีวิต

มนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์ที่มาจากน้ำ น้ำจึงเป็นสารอาหารที่อยู่ในทุกระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ โดยร่างกายมีการแบ่งสันปันส่วนน้ำ สำหรับหล่อเลี้ยง แต่ละอวัยวะอย่างชัดเจน และแน่นอนว่ามีจำกัด เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งขาดน้ำ ร่างกายจะส่งสัญญาณเป็นความเครียด โดยสมองเป็นอวัยวะที่ใช้น้ำถึงร้อยละ 50 ของร่างกาย เมื่อได้รับน้ำเพียงพอ สมองจะส่งสัญญาณให้เรารับรู้ ฉะนั้น เมื่อร่างกายต้องการน้ำ เราจึงต้องหมั่นดื่มน้ำ เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำอย่างสม่ำเสมอและพอดี

 

ทั้งหมดนี้ คือ กลไกที่มาจากวิวัฒนาการของมนุษย์ แต่ผู้เชี่ยวชาญหลายรายกลับมองข้ามจุดนี้ไป

 

ดังเช่นหนังสือ Water : For Health, for Healing, for Life : You’re Not Sick You’re Thirsty ที่เขียนโดยนายแพทย์ F. Batmanghelidj, M.D. ได้นำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของน้ำ ในการบำบัดรักษาโรคไว้อย่างน่าสนใจ ในหลายแง่มุมไปติดตามกันค่ะ

 

 

ระงับปวดท้อง ปวดหลัง ปวดคอ ปวดหัว

อาการปวดท้อง ปวดหลัง ปวดหัว เป็นอาการปวดทั่วไปที่เป็นกันแทบทุกคน ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงนั้นธรรมดามาก แต่หลายคนกลับมองข้ามไป

 

อาการปวดต่างๆ โดยเฉพาะอาการปวดข้อ เป็นตัวชี้ว่าร่างกายกำลังขาดน้ำอย่างชัดเจน เพราะกระดูกอ่อนในข้อนั้นเต็มไปด้วยน้ำ หากเกิดภาวะขาดน้ำขึ้นมา เมื่อเราขยับข้อ ข้อจะไปเสียดสีกับกล้ามเนื้อและเส้นเลือด จึงเป็นต้นเหตุของการบาดเจ็บและอาการปวด

 

 

ปวดหลังช่วงล่าง

กระดูกสันหลังและหมอนรองกระดูก จำเป็นต้องมีน้ำที่ร่างกายกักเก็บไว้ในแกนหมอนรองกระดูก และกระดูกอ่อนของกระดูกสันหลัง

 

น้ำไม่เพียงเป็นตัวหล่อลื่นพื้นผิวของกระดูก ที่เสียดสีกันเวลาขยับร่างกาย แต่ยังช่วยต้านน้ำหนักของร่งากยส่วนบนอีกด้วย โดยร้อยละ 75 ของน้ำหนักร่างกาย ส่วนบนมีน้ำที่อยู่ในแกนหมอนรองกระดูกเป็นตัวรับน้ำหนัก และร้อยละ 25 ใช้เส้นใยต่างๆ รอบหมอนรองกระดูกเป็นตัวรับน้ำหนัก ดังนั้น น้ำจึงช่วยหล่อลื่นและยังช่วยรับน้ำหนักอีกด้วย

 

 

RELIEF OF PAIN

ในการป้องกันอาการปวดหลังช่วงล่าง คุณจึงต้องดื่มน้ำให้เพียงพอ และออกกำลังกาย เพื่อให้ร่างกายสร้างสภาวะสุญญากาศตามข้อ เพื่อช่วยให้น้ำไหลเวียนได้สะดวก และเพื่อดึงน้ำเข้ามาใช้ในบริเวณหมอนรองกระดูก หากมีอาการปวดควรดื่มน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งน้ำจะทำหน้าที่เยียวยาอาการปวดได้ภายในครึ่งชั่วโมง

 

 

น้ำรักษาโรคคือน้ำเปล่าเท่านั้น

เครื่องดื่มอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำเปล่า ไม่ว่าจะเป็นชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ มีส่วนประกอบของน้ำอยู่ก็จริง แต่ก็มีส่วนประกอบที่ทำให้ร่างกายขาดน้ำผสมอยู่ด้วย

 

 

ปวดหัว

อาการปวดหัวไมเกรนเกิดจากภาวะขาดน้ำ โดยมีต้นเหตุมาจาก

1.การห่มผ้าหนาเกินไปขณะหลับ ทำให้ร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนได้

2.การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่เป็นเหมือนยาขับปัสสาวะ ทำให้เซลล์ขาดน้ำ โดยเฉพาะเซลล์สมอง

3.การกินอาหารหรือการแพ้อาหาร ที่กระตุ้นการปล่อยสารฮิสตามีน (Histamine) ทำให้ร่างกายตึงเครียดโดยไม่รู้ตัว

4.ความร้อนในสภาพแวดล้อมและการดื่มน้ำไม่เพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย

ภาวะเหล่านี้ทำให้ร่างกายเครียดจนเกิดความร้อน อาการปวดหัวไมเกรนจึงเป็นตัวชี้ว่า ร่างกายกำลังต้องการน้ำอย่างชัดเจน

 

 

RELIEF OF PAIN

การป้องกันไมเกรนทำได้ง่ายดาย โดยการดื่มน้ำให้เพียงพอ ทั้งนี้เพื่อให้โลหิตกลับมาไหลเวียนได้ดีเช่นเดิม

 

 

ดื่มน้ำแค่ไหนจึงจะเพียงพอ

สำหรับคนปกติที่ไม่มีโรค ควรดื่มน้ำวันละ 1.5 ถึง 2 ลิตร ซึ่งถือเป็นปริมาณที่พอดี ไม่ได้มากจนเป็นอันตราย แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไต ตับ หัวใจ อาจจะต้องลดลงมาเหลือ 1 ลิตรต่อวัน หรือน้อยกว่านี้ตามคำแนะนำของแพทย์

 

 

ปวดคอ

การเคลื่อนไหวของข้อต่อต่างๆ บริเวณลำคอ จะดันน้ำออกไป ทำให้เกิดสุญญากาศบริเวณหมอนรองกระดูก ดังนั้น เราจึงต้องช่วยให้ร่างกายดันน้ำเข้ามาในพื้นที่สุญญากาศเหล่านี้ เพื่อให้ส่งไปยังข้อกระดูกบริเวณลำคอ และช่วยหล่อลื่นทุกครั้ง เมื่อมีการเคลื่อนไหว

 

การเคลื่อนไหวของร่างกาย ไม่เพียงต้องการน้ำมาช่วยหล่อลื่น แต่เป็นท่วงท่าที่ช่วยให้ของเหลวไหลเวียนภายในหมอนรองกระดูกอย่างเพียงพออีกด้วย ปกติน้ำหนักของศีรษะเป็นตัวดูดน้ำออกจากหมอนรองกระดูกในช่วงเวลาหนึ่ง ฉะนั้นการจะนำน้ำกลับเข้ามาในหมอนรองกระดูกบริเวณลำคออีกครั้ง เราจึงต้องหมั่นขยับศีรษะและลำคอด้วยท่าทางที่ถูกต้อง

 

 

RELIEF OF PAIN

การบริหารด้วยท่าทางที่ถูกต้อง ก็ช่วยป้องกันและรักษาอาการปวดได้ โดยเริ่มจาก

1.นอนหงาย หันศีรษะไปทางปลายเตียง

2.ทิ้งคอให้ตกลงตรงขอบเตียงช้าๆ ในลักษณะห้อยหัว จนสามารถมองเห็นพื้นห้อง

3.ค่อยๆ ยกคอขึ้นช้าๆ จนสามารถมองเห็นผนังห้องที่อยู่ใกล้ๆ ปลายเท้า

 

บริหารแบบนี้วันละ 2-3 ครั้ง จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูกข้อต่อ และหมอนรองกระดูกบริเวณลำคอ ช่วยให้ลำคอสามารถรับน้ำหนักศีรษะได้ดีขึ้น

 

 

ลดคอเลสเตอรอลด้วยการดื่มน้ำ

คอเลสเตอรอลสูงเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า เซลล์ในร่างกายเกิดความผิดปกติในการดูดซึมน้ำจากกระแสเลือดมาใช้ ไม่ต่างจากการเกิด “โคลน” ที่เมื่อเข้าไปอุดตันตามพื้นผิว ก็จะปิดกั้นไม่ให้น้ำไหลผ่านเข้าไปภายในได้ ทำให้เซลล์เกิดภาวะขาดน้ำขึ้นมา

 

เมื่อเซลล์เกิดภาวะขาดน้ำ คอเลสเตอรอล (ซึ่งทำหน้าที่เป็นพระเอกในการเยียวยาการอักเสบ หรือความผิดปกติเบื้องต้นภายในร่างกาย) จะถูกสร้างเพิ่ม เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำของร่างกาย โดยคอเลสเตอรอลจะถูกส่งมาจากตับ เพื่อทำหน้าที่กระตุ้นให้น้ำสามารถผ่านเยื่อบุเซลล์เข้าไปได้ งานวิจัยในปัจจุบันพบว่า คอเลสเตอรอล คือ องค์ประกอบสำคัญในระบบการทำงานของร่างกาย และการมีชีวิตอยู่ของเซลล์ต่างๆ

 

ฉะนั้น หากคุณไม่ดื่มน้ำเปล่าก่อน หรือหลังกินอาหาร การย่อยอาหารในมื้อนั้นๆ จะมีปัญหาเรื่องอาหารย่อยได้ไม่ดีพอ เพราะระบบย่อยจำเป็นต้องได้น้ำไปคลุกเคล้าอาหาร เพื่อช่วยย่อยโปรตีนให้เป็นกรดแอมิโน

 

ลำไส้จำเป็นต้องใช้น้ำในการลำเลียงอาหาร ตังเองก็ตอ้งใช้น้ำในการขับพิษและย่อยไขมัน รวมไปถึงหัวใจห้องขวา ที่ต้องการไขมันบางส่วนในการทำงาน โดยจะปั๊มเลือดเข้าสู่ปอดเพื่อผลิตออกซิเจน และแลกเปลี่ยนก๊าซ ที่ใช้แล้วในเลือด และในปอดนั่นเอง กระบวนการนี้ก็ใช้น้ำปริมาณมาก

 

หลังจากกระบวนการข้างต้นแล้ว เลือดที่มีความเข้มข้น จะถูกส่งจากปอดไปยังหัวใจห้องซ้าย และปั๊มไปยังระบบหมุนเวียนในหลอดเลือดแดง ซึ่งเซลล์กลุ่มแรกๆ ที่ต้องรับมื้อกับเลือดนี้คือ เซลล์ที่อยู่ตามผนังหลอดเลือดใหญ่ และหลอดเลือดฝอยในหัวใจ และสมอง

 

ณ จุดที่เส้นเลือดแดงโค้งงอ เซลล์ที่ขาดน้ำจะต้องปะทะกับแรงดันของเลือด ที่ส่งเข้ามา ตรงนี้เองที่เซลล์ต้องป้องกันตัวเองด้วยการ อนุญาตให้คอเลสเตอรอลเข้ามาอยู่ในหลอดเลือดบริเวณนั้น ก่อนจะถูกทำลายไป

 

 

RELIEF OF HIGH CHOLESTEROL

ขณะกินอาหาร หากคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอ สมองจะส่งสัญญาณบอกโดยการทำให้เรารู้สึกอย่างดื่มน้ำมากขึ้น และรู้สึกว่าอาหารไม่ย่อย ซึ่งปกติเรามักกินยาลดกรดแทนการดื่มน้ำ โดยไม่รู้ว่ายาลดกรดนั้น เป็นตัวบล็อกการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

 

การดื่มน้ำก่อนกินอาหารแต่ละมื้อ จะช่วยลดคอเลสเตอรอลส่วนเกินในเส้นเลือดได้ นอกจากนี้การดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน เซลล์จะมีน้ำใช้เพียงพอ จึงไม่ต้องสร้างคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น ตรงกันข้าม คอเลสเตอรอลจะลดลงไปในที่สุด

 

การออกกำลังกายด้วยการเดินวันละ 1 ชั่วโมง ก็สามารถลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ เพราะช่วยเอนไซม์ที่ไวต่อฮอร์โมนและช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายทำงาน (Hormone-Sensitive, Fat-Burning Enzymes) การเดิน 2 ครั้งต่อวัน ห่างกัน 12 ชั่วโมง จะช่วยให้เอนไซม์ตัวนี้ทำงานในการจัดการของเหลวส่วนเกินในเส้นเลือดฝอยได้ตลอดวัน

 

 

น้ำลดความดันโลหิต

ร่างกายออกแบบหลอดเลือดมาให้สามารถเปิด-ปิด ได้ เพื่อควบคุมระดับเลือดและความต้องการเลือดของเนื้อเยื่อ (The Tissue Requirements) ดังนั้น หากมีของเหลวมาหล่อเลี้ยงไม่เพียงพอ เส้นเลือดหลักจะเริ่มเปิดตัวเอง เพื่อให้หลอดเลือดบริเวณต่างๆ ในร่างกายมีของเหลวเพียงพอ และหากเกิดขึ้นต่อเนื่อง ยาวนาน จะเกิดภาวะก๊าซแยกตัวออกมาจากเลือด เพื่อเติมเต็มพื้นที่ที่ขาดน้ำ ทำให้เกิดการล็อกของก๊าซ (Gas Lock)

 

ปกติแล้วเซลล์เส้นเลือดฝอยจะเปิดๆ ปิดๆ สลับกันไป เมื่อเราใช้งานส่วนไหนของร่างกาย เลือดก็จะไหลไปยังส่วนนั้น เช่น ขณะกินอาหาร เส้นเลือดฝอยบริเวณระบบทางเดินอาหาร ก็จะเปิดมากกว่าเส้นเลือดฝอยบริเวณระบบกล้ามเนื้อหลัก

 

หากคุณดื่มน้ำไม่เพียงพอ กับที่ร่งกายต้องการ อาจทำให้เซลล์บางตัวขาดน้ำ และระหว่างการไหลเวียนของเลือด ก็จะทำให้เสียน้ำเพิ่มขึ้นอีก เส้นเลือดฝอยบางส่วนจึงต้องปิดตัวเอง เพื่อให้บริเวรนั้นๆ มีของเหลวหล่อเลี้ยงอย่างเพียงพอ

 

 

REIEF OF HIGH BLOOD PRESSURE

การเปิด-ปิด ของเส้นเลือดฝอยในร่างกายนี่แหละ คือ ตัวชี้วัดระดับการไหลเวียนของเลือด ซึ่งถ้าร่างกายใช้กล้ามเนื้อมากเท่าไหร่ เส้นเลือดฝอยบริเวณนั้น ก็จะเปิดมากขึ้น และกักเก็บเลือดให้ไหลเวียนได้นานขึ้น ดังนั้น การออกกำลังกายจึงสำคัญ โดยเฉพาะสำหรับผู้ป่วยความดันโลหิตสูง

 

นอกจากนี้ภาวะขาดน้ำ ก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เส้นเลือดฝอยปิดตัวอยู่เนืองๆ โดยน้ำที่เราดื่มจะเข้าไปกระตุ้นระดับน้ำภายในเซลล์ ในขณะที่เกลือเป็นตัวกระตุ้นระดับน้ำที่กักเก็บอยู่ภายนอกเซลล์ เมื่อมีการขาดน้ำ เซลล์บางตัวก็จะทำงานไปทั้งๆ อย่างนั้น แตกต่างจากเลือด ซึ่งมักจะคงปริมาณการผลิตไว้เท่าเดิมเสมอ

 

ความเข้าใจที่ผิด คือ เรามองข้ามการขาดน้ำในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงไป เพราะผลเลือดอาจเป็นปกติ แต่เส้นเลือดฝอยบางส่วนในหัวใจ และสมอง อาจจะกำลังปิดอยู่ เนื่องจากดื่มน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งสร้างความเสียหายต่อวัยวะเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง

 

เมื่อเราสูญเสียการรับสัญญาณกระหายน้ำ และการดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวันแล้ว การปิดตัวของเส้นเลือดบางบริเวณ จึงเป็นวิธีธรรมชาติ เพียงวิธีเดียว ที่จะคงระดับน้ำในเส้นเลือดไว้ ดังนั้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง ควรดื่มน้ำให้มากขึ้น ไม่ใช่การกินยาขับปัสสาวะเพื่อกำจัดน้ำ

 

 

น้ำช่วยคลายเครียด ลดอ้วน

ภาวะซึมเศร้านั้น เกิดขึ้นเมื่อสมองต้องเผชิญกับปัญหาทางอารมณ์ ความเครียดที่ยากต่อการรับมือ ปรากฏการณ์นี้กลายเป็นตัวดูดพลัง ทำให้เจ้าของสมองไม่สามารถทำอะไรได้เลย และในระยะยาว ความเครียดจะชะลอการทำงานของสมอง จนกลายเป็นพฤติกรรมของคนคนนั้นไปในที่สุด

 

ภาวะซึมเศร้าเกือบทุกแบบ สามารถรักษาได้ด้วยการได้รับความรัก ความเอาใจใส่ และความเห็นอกเห็นใจจากผู้คนรอบข้าง แต่ผู้ป่วยบางรายก็โชคร้าย ที่ไม่สามารถกำจัดความกลัวความกังวล และความโกรธที่เกี่ยวโยงกับภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญก็มักจะให้ยาแก่ผู้ป่วย

 

โดยในสมัยก่อนการรักษาโรคซึมเศร้า ด้วยการให้ยาต้านเศร้า มีความร้ายแรงน้อยกว่าปัจจุบันมาก เพราะในปัจจุบันนี้ยามีฤทธิ์รุนแรงมาก จนถือได้ว่าเป็นอันตราย บางชนิดถึงขั้นทำลายความรู้สึกเห็นอกเห็นใจ เพิ่มความคิดลบ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อ่อนแอ ซึ่งอาจส่งผลต่อการฆ่าตัวตาย ปลีกตัวออกจากสังคม หรือก่ออาชญากรรม

 

ดังนั้น เราจึงควรเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง เพื่อรับมือกับสถานการณ์ตึงเครียดทางอารมณ์ที่รุนแรง รวมถึงในรายที่มีข้อบ่งชี้เกี่ยวกับภาวะซึมเศร้า

 

การเกิดภาวะซึมเศร้านั้น เป็นผลมาจากภาวะการขาดน้ำในระดับที่ทำให้เนื้อเยื่อสมองได้รับผลกระทบ สมองใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตโดยน้ำ (Electrolyte) เมื่อเกิดภาวะขาดน้ำ การผลิตพลังงานในสมองก็ลดลง ระบบต่างๆ ในสมองที่ต้องใช้พลังงานก็ลดประสิทธิภาพลง ซึ่งเราพบว่าการที่ระบบต่างๆ ในสมองทำงานไม่เพียงพอ คือ “การลดถอยลงของสมอง” หรือ “ภาวะซึมเศร้า” นั่นเอง โดยภาวะการทำงานที่ลดถอยลงของสมองที่เกิดจากภาวะขาดน้ำ สามารถนำไปสู่ “กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรัง” ซึ่งกลายเป็นปัญหาทางกายภาพอย่างหนึ่ง ที่เกี่ยวข้องกับความเครียด

 

 

RELIEF OF STRESS

หากเข้าใจเหตุการณ์ขณะเกิดความเครียด เราก็จะเข้าใจกลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังด้วย หลังจากจัดภาวะขาดแคลนน้ำ และความซับซ้อนในการเผาผลาญแล้ว กลุ่มอาการอ่อนเพลียเรื้อรังจะค่อยๆ ดีขึ้น

 

เมื่อร่างกายขาดน้ำ กระบวนการทางกายภาพที่เกิดขึ้น จะเป็นกระบวนการเดียวกับกระบวนการจัดการความเครียด ดังนั้น ภาวะขาดน้ำก็เท่ากับความเครียด และเมื่อเกิดความเครียด น้ำจะเคลื่อนออกจากที่กักเก็บมาไหลเวียนอยู่ในร่างกาย เพื่อบรรเทาความเครียด โดยความเครียดจะทำให้ภาวะขาดน้ำรุนแรงขึ้น ดังนั้น การดื่มน้ำเพิ่มขึ้นในขณะเกิดความเครียด จึงช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้

 

 

น้ำลดอ้วน

ระบบควบคุมสมองส่วนกลางรับมือกับภาวะที่ร่างกายมีพลังงานต่ำ โดยส่งสัญญาณเป็นอาการกระหายน้ำ หรือหิวอาหาร เพื่อให้ร่างกายเคลื่อนพลังงานที่กักเก็บไว้ในไขมันออกมาใช้ ซึ่งกระบวนการนี้ใช้เวลานานกว่าความต้องการเร่งด่วนของสมอง สอมงส่วนหน้าจะได้รับพลังงานจากการกระตุ้นของน้ำ หรือจากน้ำตาลในการไหลเวียนเลือด สมองที่ต้องการการกระตุ้นของน้ำ ทำงานแบบเร่งด่วนกว่าระบบการไหลเวียนของน้ำภายใน (Microstream Flow System) ร่างกายจึงต้องการน้ำเพิ่มขึ้น

 

ปกติความรู้สึกกระหายน้ำหรือหิวอาหาร เป็นตัวชี้วัดความต้องการของสมอง โดยเรามักจะไม่รับรู้ความรู้สึกกระหายน้ำ แต่รู้สึกว่าหิวและต้องกินอาหาร จึงกลายเป็นว่า เรากินอาหารแม้กระทั่งในเวลาที่ร่างกายต้องการน้ำ

 

คนที่น้ำหนักลดจากการดื่มน้ำ ก่อนกินอาหารจะสามารถแยกความรู้สึกทั้งสองออกจากกันได้ เพราะพวกเขาไม่ได้กินมากกว่าปกติ เพื่อที่จะกำจัดความรู้สึกกระหายน้ำ

 

เซลล์สมองกักเก็บพลังงานไว้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ATP และ GTP ซึ่งพลังงานทั้ง 2 ประเภท ทำหน้าที่เหมือนกองถ่านหินข้างโรงงานไฟฟ้า โดยการกักเก็บพลังงานในสมอง ต้องการกลูโคสอยู่เสมอ

 

นอกจากนี้ร่างากยมนุษย์ ยังสามารถสร้างพลังงานไฟฟ้าจากน้ำ เมื่อมีน้ำผ่านชั้นเยื่อบุผิวเซลล์ได้ ดังนั้น สมองจึงใช้ 2 กลไกต่อไปนี้ หนึ่งคือ จากากรเผาผลาญอาหารจนได้กลูโคส และสองคือ จากน้ำที่เราดื่มเข้าไป และเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า

 

เพื่อพลังงานของสมอง ร่างกายจะสร้างสมดุลความเข้มข้นของกลูโคสในเลือด ซึ่งทำได้สองทาง หนึ่งคือ กระบวนการเผาผลาญอาหารไปเป็นกลูโคส และสองคือ การแปลงพลังงานที่เก็บไว้ในตับและกล้ามเนื้อ มาเป็นกลูโคส หรือ กระบวนการที่เรียกว่า “กลูโคนีโอเจเนซิส” (Gluconeogenesis)

 

 

RELIEF OF OBESITY

การป้อนกลูโคสให้สมองทำให้รู้สึกดี เราจึงมักรู้สึกดีเมื่อกินของหวาน แต่เมื่อระดับกลูโคสลดลง ตับจะดึงกลูโคสจากที่กักเก็บไว้ ตามด้วยการเปลี่ยนโปรตีนและไขมันเป็นกลูโคส สองกระบวนการนี้จะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ตรงกันข้ามกับการที่ตับแปลงพลังงานจากไขมัน เป็นกลูโคสบำรุงสมอง ซึ่งจะช่วยให้เรามีความอึดมากกว่า

 

อย่างไรก็ตาม หากสมองให้พลังงานมากขึ้น โดยเฉพาะในเวลาเครียด และร่างกายมีความอ่อนเพลียจากการผลิตกลูโคส เราจะยอมแพ้ และเริ่มกินอาหารในปริมาณมากขึ้น และหากไม่สังเกตสัญญาณกระหายน้ำที่สมองส่งมาให้ ร่างกายจะยิ่งขาดน้ำมากขึ้น นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไมน้ำหนักเราจึงขึ้นง่ายมาก คือ เราพยายามกินให้พลังงานแก่สมอง แต่กลายเป็นว่า สิ่งที่เรากินเข้าไปมีเพียงร้อยละ 20 เท่านั้น ที่ไปถึงสมอง อีกร้อยละ 80 กลับสะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่างๆ ที่ทำให้เราอ้วน

 

ฉะนั้น หากเราดื่มน้ำ การสะสมในลักษณะนี้จะไม่เกิดขึ้น น้ำที่มากเกินไปก็จะถูกขับออกมาทางปัสสาวะ

 

 

ดื่มน้ำแก้กรดไหลย้อน

โรคในช่องท้องที่พบบ่อยที่สุด และสร้างความทรมานให้คนส่วนใหญ่ก็คงเป็นโรค “กรดไหลย้อน” (GERD ย่อมาจาก Gastroesophageal Reflux Disease) เกิดส่วนบนของกระเพาะอาหาร ซึ่งทำให้เกิดความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณช่องว่างของกะบังลม หรือช่องอก เป็นภาวะผิดปกติของการย่อยอาหาร โดยกรดในกระเพาะอาหารลอดผ่านหูรูดที่กั้นระหว่างกระเพาะอาหาร และหลอดอาหารกลับมายังผนังหลอดอาหาร ทำให้รู้สึกแสบร้อนในอก

 

ปกติร่างกายมนุษย์ออกแบบมาให้ส่วนบนของกระเพาะอาหารมีหูรูด ซึ่งจะปิดไว้อย่างดี ขณะอาหารกำลังถูกย่อยไม่ให้กลับไปยังหลอดอาหารได้

 

หูรูดที่กั้นกลางระหว่างกระเพาะอาหารกับลำไส้ จะอยู่บริเวณกระเพาะอาหาร ซึ่งจะเปิดเฉพาะเวลาที่อาหารในกระเพาะอาหารถูกย่อยเรียบร้อยแล้วเท่านั้น โดยหูรูดนี้จะปิดทันที เมื่อทำหน้าที่ส่งอาหารจากกระเพาะอาหารสู่ลำไส้เล็กเรียบร้อยแล้ว

 

นอกจากนี้ร่างกายยังมี “ลิ้น” อีกชิ้นหนึ่งอยู่บริเวรด้านนอกกะบังลม บริเวณรอยต่อระหว่างหลอดลมกับช่องท้อง โดยลิ้นนี้จะเปิดอัตโนมัติ เมื่อเรากลืนอาหารลงสู่หลอดอาหาร และจะปิดทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารจากช่องท้องไหลย้อนกลับมายังหลอดลม

 

ทว่าเมื่อร่างกายขาดน้ำ “ลิ้น” ดังกล่าวจะไม่ได้รับสัญญาณให้ทำงานโดยอัตมติ แบบที่ควรจะเป็น ฉะนั้นอาการแรกที่สะท้อนภาวะนี้คือ ความเจ็บปวดหรือปวดแสบปวดร้อนในอก

 

 

RELIEF OF GERD

เมื่อเราดื่มน้ำ สารเคมีในสมองที่ทำหน้าที่เป็นสารสื่อประสาทชื่อ “โมทิลิน” (Motilin) จะถูกปล่อยออกมาตามปริมาณน้ำที่ดื่ม เท่ากับว่ายิ่งเราดื่มน้ำมากเท่าไหร่ ร่างกายก็จะสร้างโมทิลินมากเท่านั้น ซึ่งสารเคมีตัวนี้จะสั่งการให้ลำไส้ และทางเดินอาหารบีบตัวเป็นจังหวะมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนตัวจากด้านบนสู่ด้านล่าง รวมถึงการเปิด-ปิด ของหูรูดและลิ้น ช่วยให้อาหารเดินทางสู่ลำไส้ใหญ่และลำไส้เล็กเป็นปกติด้วย

 

โดยปกติอาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหาร เมื่อรวมกับกรดในกระเพาะอาหารแล้ว จะมีค่าความเป็นกรดสูงมาก และขณะที่อาหารดังกล่าวกำลังเคลื่อนตัวผ่านลงไปยังลำไส้ ร่างกายจะส่งสัญณาณไปยังตับอ่อนให้หลั่งน้ำเกลือไบคาร์บอเนต ซึ่งมีฤทธิ์เป็นด่างไปยังอาหารเหล่านั้น (เนื่องจากลำไส้เล็กไม่สามารถรองรับอาหารที่ยังมีความเป็นกรดได้)

 

และในการผลิตน้ำเกลือไบคาร์บอเนตนั้น ต้องใช้ปริมาณน้ำมากพอสมควร ฉะนั้นหากร่างกายอยู่ในภาวะขาดน้ำ หูรูดที่กั้นระหว่างลำไส้และกระเพาะอาหารจะปิดทันที (แม้ว่าอาหารจากกระเพาะอาหาร จะไหลผ่านลงลำไส้ไม่หมด) ตรงกันข้าม “ลิ้น” ที่กั้นระหว่างหลอดลมกับช่องท้อง รวมทั้งหูรูดกั้นระหว่างหลอดอาหารกับกระเพาะอาหาร กลับเปิดออก ทำให้อาหารที่มีกรดมากไหลย้อนกลับไปยังช่องอก เกิดเป็นความเจ็บปวดแสบร้อนในอก เรียกว่า กรดไหลย้อน



ที่มา...https://www.haijai.com/4507/