ผู้เขียน หัวข้อ: ไวรัสโคโรนา: 7 วิธีเว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) ต้าน “โควิด-19”  (อ่าน 542 ครั้ง)

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 2325
    • อีเมล์



การเว้นระยะห่างทางกายภาพกับบุคคลอื่น (Social Distancing) เป็นหนึ่งในมาตรการที่ช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ได้ แต่จะต้องทำอย่างไรบ้าง Sanook Health มีวิธีง่ายๆ จาก อาจารย์ แพทย์หญิงรพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาฝากทุกๆ คนให้ลองทำตามกันในช่วงนี้


Social Distancing คืออะไร?
Social Distancing แปลตรงตัวคือ การรักษาระหว่างในสังคม กล่าวคือ การงดพบปะพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นๆ ในสังคม ทั้งในเชิงจำนวน และระยะเวลา (ไม่พบปะกับคนจำนวนมากในคราวเดียว และไม่ใช้เวลาอยู่ร่วมกับคนอื่นนานเกินไป) ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ที่ทำให้ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 แพร่เชื้อไวรัสให้กับคนอื่นๆ ใกล้เคียง ดังจะเห็นได้จากการที่ภาครัฐ และเอกชนรณรงค์ให้คนที่เดินทางจากประเทศเสี่ยงกักตัวเองอยู่แต่ในบ้าน ไม่ออกไปพบปะพูดคุยกับคนภายในเป็นเวลา 14 วัน (ระยะฟักตัว)จึงช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัสได้

การเว้นระยะห่างทางกายภาพกับบุคคลอื่น (Social Distancing) เป็นหนึ่งในมาตรการที่ช่วยลดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ได้ แต่จะต้องทำอย่างไรบ้าง Sanook Health มีวิธีง่ายๆ จาก อาจารย์ แพทย์หญิงรพีพรรณ รัตนวงศ์นรา มอร์ด ผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาโรคติดเชื้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล มาฝากทุกๆ คนให้ลองทำตามกันในช่วงนี้


7 วิธีเว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) ต้านโควิด-19

     1. ยืน นั่ง ห่างกัน 1.5-2 เมตร

     2. งดการรวมตัวกันในสถานศึกษา ที่ทำงาน ร้านอาหาร สถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา หรือสถานบันเทิงต่างๆ

     3. รับประทานอาหารที่เป็นชุด สำหรับกินคนเดียว หลีกเลี่ยงการร่วมสำรับกับผู้อื่น

     4. เปลี่ยนระบบการทำธุรกิจโดยใช้ทางออนไลน์ และติดต่อทางโทรศัพท์เป็นหลัก หรือปรับเวลาการมาทำงานให้ยืดหยุ่น

     5. หันมาเรียนออนไลน์แทนการเรียนในชั้นเรียน และเลี่ยงการจัดประชุมใหญ่ที่มีการรวมคนเป็นจำนวนมาก

     6. จัดให้จองหนังสือออนไลน์ในห้องสมุด หรืออ่านแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-book)

     7. ลดความหนาแน่นในลิฟท์ด้วยการใช้เฉพาะจำเป็น เน้นการเดินขึ้นลงบันใดแทนให้ได้มากที่สุด


ที่มา...https://www.sanook.com/health/21205/