ผู้เขียน หัวข้อ: เว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) อย่างไร ไม่ให้เสียสุขภาพกายและจิต  (อ่าน 547 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์




ในช่วงที่โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 (COVID-19) กำลังระบาดนี้ เราได้เห็นมาตรการในการรับมือกับโรค และการเปลี่ยนแปลงในสังคมมากมาย ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ต่างก็รณรงค์ให้เราทำงานที่บ้าน หรือเว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) สำหรับคำว่า “ทำงานที่บ้าน” นั้น หลายคนน่าจะพอรู้จักกันอยู่แล้ว แต่คำว่า “เว้นระยะห่างจากสังคม” นั้น เชื่อว่าหลายคนอาจจะยังรู้จักไม่ดีพอ วันนี้ Hello คุณหมอ เลยอยากชวนคุณมาทำความรู้จักกับการเว้นระยะห่างจากสังคมให้ถ่องแท้ยิ่งขึ้น จะได้ช่วยกันป้องกันการแพร่ระบาดของโรคได้จริงๆ

การเว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) คืออะไร

การเว้นระยะห่างจากสังคม (Social Distancing) หรือที่หลายคนมักเรียกว่าแบบติดตลกว่า การ “ห่างกันสักพัก” คือสุขปฏิบัติ (Health Practice) อย่างหนึ่ง ที่ทุกคนต้องปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้คนป่วยสัมผัสหรือใกล้ชิดกับคนที่สุขภาพดี ความเสี่ยงในการแพร่กระจายของเชื้อโรคจะได้ลดลง ซึ่งอาจช่วยชะลอการแพร่ระบาดของโรค หรือช่วยหยุดโรคระบาดนั้นๆ ได้ในที่สุด

วิธีเว้นระยะห่างจากสังคม

       - อยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร เพราะละอองน้ำมูกน้ำลายสามารถกระเด็นออกไปได้ไกล 1-2 เมตร จะได้ปลอดภัยขึ้น หากมีคนรอบข้างไอจาม

       - ลดการพบปะสังสรรค์กับเพื่อนฝูง หรืออยู่ในที่ที่คนพลุกพล่าน เช่น ผับบาร์ ร้านอาหาร โรงภาพยนตร์ งานคอนเสิร์ต

       - ไม่ออกไปข้างนอกโดยไม่จำเป็น

       - ลดการใช้บริการระบบขนส่งสาธารณะ หากเลี่ยงไม่ได้ ควรอยู่ในจุดที่ห่างจากผู้อื่นให้มากที่สุด

       - งดใช้ลิฟต์ โดยเฉพาะหากคนใช้ลิฟต์เยอะ หันมาใช้บันไดแทน แต่แนะนำว่าอย่าจับราวบันได วิธีนี้นอกจากจะช่วยป้องกันเชื้อโรค เช่น ไวรัสโควิด-19 ยังเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งด้วย

       - ทำงานที่บ้าน (Work From Home) แทนการออกไปทำงานข้างนอก หรือเข้าออฟฟิศ

       - กินอาหารจานใครจานมัน หลีกเลี่ยงอาหารบุฟเฟต์ หรือการร่วมสำรับกับผู้อื่น ป้องกันการระบาดของโรคได้

Social Distancing ก็อาจทำให้เราป่วยได้

ต่อให้คุณเป็นมนุษย์ที่สุขภาพกายใจสมบูรณ์แข็งแรงดี แต่การต้องเว้นระยะห่างจากสังคม ไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์กับคนอื่น โดยเฉพาะเมื่อต้องทำติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิตของคุณได้ โดยผลการศึกษาวิจัยหลายชิ้นพบว่า ความเหงาสามารถนำไปสู่โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคภูมิคุ้มกันต่อต้านเนื้อเยื่อของตนเองหรือโรคภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง (Autoimmune Disease) เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคลูปัส และโรคร้ายแรงอื่นๆ ได้อีกมากมาย

ยิ่งหากคุณมีสภาวะเหล่านี้ การต้องห่างกันสักพักเพราะโควิด -19 ก็จะยิ่งทำให้คุณเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิตได้ง่ายและหนักกว่าคนอื่น

       - เป็นผู้หญิง มีอายุ 16-24 ปี

       - เคยมีประวัติเป็นโรคทางจิตเวช เช่น โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล

       - เป็นบุคลากรทางการแพทย์

เว้นระยะห่างจากสังคม ยังไง ไม่ให้ทำร้ายสุขภาพ

อย่างที่เราบอกไปข้างต้นแล้วว่า บางครั้ง การเว้นระยะห่างจากสังคมก็อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพจิต เราเลยมีวิธีใช้ชีวิตในช่วงที่ต้องเว้นระยะห่างจากสังคม แบบไม่กระทบสุขภาพมาฝาก ดังนี้

       - มีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นเสมอ  การที่คุณต้องเว้นระยะห่างจากสังคม ไม่ได้หมายความว่าคุณจะต้องปลีกวิเวก หรือแยกตัวออกจากสังคมโดยสิ้นเชิง คุณควรหาเวลาพูดคุยกับคนรอบข้างบ้าง  หากเป็นคนในบ้าน คุณสามารถคุยกันได้ตามปกติ เพียงแค่ต้องอยู่ในระยะที่เหมาะสม หรือหากเป็นคนที่อยู่ไกลกัน วิธีที่ดีที่สุดคือ โทรศัพท์คุย หรือวิดีโอคอลกัน แต่หากไม่สะดวก การคุยกันผ่านแชต การส่งข้อความก็ช่วยได้


       - ฝึกการหายใจ  การหายใจเข้า-ออกช้าๆ ลึกๆ หรือการหายใจแบบมีสติ รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ จะช่วยให้คุณผ่อนคลาย และได้ประโยชน์จากการหายใจอย่างสูงสุด นอกจากจะช่วยคลายเครียด ทำให้สมองแจ่มใส และอารมณ์ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ระบบเผาผลาญทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งประโยชน์เหล่านี้ ล้วนแต่ส่งเสริมสุขภาพของคุณทั้งสิ้น


       - เสพสื่อแบบมีสติ  แม้การติดตามข่าวสารในช่วงที่มีโรคระบาดจะเป็นเรื่องที่สมควรทำ แต่คุณก็ไม่ควรเสพสื่อ หรือเล่นโซเชียลจนจิตตก หรือไม่ยอมหลับยอมนอน คุณควรจำกัดเวลาในการเสพสื่อให้เหมาะสม ทั้งสื่อโทรทัศน์ วิทยุ และสื่อทางอินเตอร์เน็ต และอย่าลืมลุกจากหน้าจอไปทำงานอดิเรก หรือกิจกรรมสันทนาการอื่นๆ ที่ดีต่อสุขภาพกว่าบ้าง เช่น ทำขนม อ่านหนังสือ เล่นดนตรี ออกกำลังกาย เขียนไดอารี่


       - แชร์มีมขำๆ หรือโพสต์ดีๆ  ถึงอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า คุณจะต้องจริงจังกับทุกอย่างจนทำให้เครียดกว่าเดิม การแชร์ข้อความดีๆ อินโฟกราฟิกที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะในการช่วยป้องกันโรค หรือแม้แต่มีมตลกๆ ดูแล้วขำกลิ้ง ถือเป็นสิ่งที่คุณควรทำ เพราะจะช่วยทำให้ทั้งคุณและคนรอบข้างรู้สึกดี หรือมีอารมณ์ดีขึ้น เมื่อสุขภาพจิตแข็งแรง สุขภาพกายก็จะได้ดีไปด้วย แต่ขอเตือนว่า ก่อนจะแชร์โพสต์อะไร คุณควรดูกาลเทศะด้วยว่าเหมาะสมหรือไม่ จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมา


ที่มา...https://www.sanook.com/health/21793/