ผู้เขียน หัวข้อ: ฮาร์วาร์ดแนะ เคล็ดลับการ “วิ่ง” สำหรับคน “ไม่ชอบวิ่ง”  (อ่าน 600 ครั้ง)

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 2325
    • อีเมล์





เคล็ดลับการ “วิ่ง” สำหรับคน “ไม่ชอบวิ่ง”

Matthew Solan ตำแหน่ง Executive Editor ของ Harvard Men's Health Watch แนะนำวิธีง่ายๆ สำหรับคนอยากวิ่ง แต่ทำอย่างไรก็ไม่ชอบวิ่งเสียทีมาฝากกัน

สาเหตุที่ทำให้คนไม่ชอบวิ่ง อาจเป็นเพราะไม่ชอบที่มัน “เหนื่อย” เกินไป โดยเฉพาะกับคนที่ไม่เคยวิ่งเลย หรือเป็นโครงร่างใหญ่ เป็นคนอ้วน ที่วิ่งแล้วรู้สึกว่ามันเหนื่อยมาก วิ่งไปได้แปบเดียวก็รู้สึกเหนื่อยจนจะขาดใจ วิ่งเร็วๆ หรือวิ่งไกลๆ เหมือนคนอื่นไม่ได้เลย เลยล้มเลิกดีกว่า หันไปออกกำลังกายอย่างอื่นแทน (หรือหาอะไรอร่อยๆ กินแทน นั่น!)

ไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับคนที่ไม่เคยวิ่งเลยจะไม่ชอบวิ่ง เพราะร่างกายของคุณไม่เคยชินกับการออกกำลังกายในลักษณะนี้ นอกจากนี้หลายคนอาจจะมองว่าการวิ่งไม่สนุกเท่ากับการออกกำลังกายแบบอื่นที่เป็นการปั่นจักรยานกินลมชมวิว หรือแอโรบิกที่มีเพลงประกอบ แต่สาเหตุสำคัญอาจจะมาจากน้ำหนักตัวที่มากกว่าระดับปกติด้วยที่ทำให้คุณรู้สึกเหนื่อย และปวดล้าขาและเท้าทุกครั้งที่ก้าววิ่ง

ดังนั้น สิ่งสำคัญคือการวิ่งที่ไม่คำนึงถึงระยะทาง หรือความเร็ว อย่าไปมองคนอื่นที่เขาวิ่งอยู่ก่อนนานแล้ว มองแต่ตัวเองเท่านั้น และใช้วิธีเริ่มวิ่งด้วยการ วิ่งก่อน แล้วค่อยเดิน สลับกันไป


      - วิ่ง1-2 นาทีจนเริ่มหายใจไม่ทัน แล้วจึงค่อยๆ ผ่อนความเร็วลดลงจนกลับมาเดินแทน

      - เดินเฉยๆ ไป 4-5 นาทีจนรู้สึกหายเหนื่อย หายใจเป็นปกติ แล้วค่อยฮึดกลับมาวิ่งใหม่อีกรอบ

      - วิ่งสลับเดินแบบนี้ไป 5 ครั้ง

      - ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ อย่างน้อย 2 วันต่อสัปดาห์ หรือวันเว้นวันถ้าทำได้

      - เมื่อร่างกายเริ่มคุ้มชิน ค่อยๆ ลองเพิ่มเวลาในการวิ่งเป็น 3-4 นาที แต่เมื่อสลับมาเดินให้ใช้เวลาให้น้อยลง คือ 2-3 นาที ทำสลับแบบนี้ไป 5 ครั้งเหมือนเดิม

      - หลังจากนั้น ค่อยๆ ปรับเปลี่ยนเวลาเดินกับวิ่งให้เหมาะสมกับร่างกายของตัวเอง เพิ่มเวลาวิ่ง ลดเวลาเดินไปเรื่อยๆ อาจใช้เวลาเป็นเดือนก็ได้ ไม่ต้องรีบร้อน

      - ค่อยๆ ปรับความเร็วในการวิ่งให้เร็วขึ้น หรือวิ่งให้ไกลกว่าเดิม ทีละเล็กทีละน้อย

ข้อสำคัญคือ ควรให้เวลากับตัวเอง ไม่เข้มงวดกับตัวเองจนเกินไปว่าจะต้องวิ่งเร็ว หรือวิ่งให้ไกลให้ได้เท่าคนอื่น ขอให้อยู่ในพื้นฐานของความไหวของร่างกายเราเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นควรมีการเปลี่ยนแปลงในระยะเวลา 1 เดือนที่เริ่มวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นการวิ่งที่รู้สึกเหนื่อยน้อยลง วิ่งได้นานขึ้น ลดการเดินลง หรืออื่นๆ ที่ไม่เหมือนกับวันแรกที่เริ่มวิ่ง ควรหมั่นสังเกตตัวเอง ท้าทายความสามารถของตัวเองเพิ่มทีละนิดแบบไม่ฝืนใจตัวเองมากเกินไป และจดบันทึกสถิติของตัวเองเอาไว้เรื่อยๆ

หากทำได้ คุณจะค้นพบเสน่ห์ของการวิ่งออกกำลังกาย ที่คุณแทบไม่ต้องลงทุนลงแรงอะไรมากมาย ก็ได้เป็นเจ้าของร่างกายที่มีสุขภาพแข็งแรงขึ้น เหนื่อยน้อยลง และมีความคล่องตัวขึ้นได้อย่างแน่นอน


ที่มา...https://www.sanook.com/health/22057/