ผู้เขียน หัวข้อ: ลดความอ้วนด้วยเมนู “ยำ” ทุกวัน จะอันตรายต่อร่างกายหรือไม่?  (อ่าน 831 ครั้ง)

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 2325
    • อีเมล์




โชคดีของชาวไทยที่มีอาหารอร่อย ๆ ให้เลือกหลากหลายรสชาติ โดยเฉพาะอาหารประเภท “ยำ” ทั้งหลาย รวมถึงส้มตำ ต้มยำ พล่า ลาบ และอื่น ๆ ที่อยู่ในตระกูลเดียวกับยำ ที่เป็นที่ถูกปากของทั้งคนไทย และชาวต่างชาติ เป็นเพราะรสชาติอันเป็นเอกลักษณ์ที่เป็นการผสมผสานกันของรสเปรี้ยว เค็ม หวานนิด ๆ เผ็ดหน่อย ๆ ที่ทำให้เราซี๊ดปากไปกินไปอย่างเอร็ดอร่อยนั่นเอง

ประโยชน์ของอาหารประเภท “ยำ”
อาหารประเภทยำ เป็นอาหารที่ส่วนผสมของน้ำมันน้อยกว่าอาหารประเภทอื่น ๆ จึงทำให้ยำเป็นเมนูโปรดของคนที่กำลังลดน้ำหนัก สามารถเลือกวัตถุดิบที่ให้พลังงานน้อย ๆ มาปรุงเป็นยำรสแซ่บกินกันอยู่บ่อย ๆ รวมถึงเมนูปลาเผาที่กินเนื้อปลาขาว ๆ ราดด้วยน้ำยำ กินกับสารพัดผักอีกด้วย

นอกจากนี้ ด้วยรสชาติจัดจ้าน เสริมรสเผ็ด ทำให้เป็นอาหารที่ช่วยเจริญอาหารได้ดีสำหรับคนที่กำลังประสบปัญหาเบื่ออาหาร

กินยำทุกวัน หรือบ่อย ๆ จะส่งผลกระทบอะไรต่อร่างกายหรือไม่ ?

แม้ว่ารสชาติของอาหารประเภทยำจะถูกใจจนทำให้เรากินกันบ่อย ๆ แทบจะทุกวัน แต่มีข้อพึงระวังสำหรับคนที่รักอาหารประเภทยำอยู่บ้างเช่นกัน

       1. วัตถุดิบในการปรุงอาหารต้องสดใหม่ และสะอาด เพราะส่วนใหญ่อาหารประเภทยำจะปรุงด้วยวิธีง่าย ๆ อย่างการต้มหรือลวกน้ำร้อนให้สุกเท่านั้น (อาจมีวัตถุดิบบางประเภทที่ทำให้สุกด้วยวิธีที่ผ่านความร้อนนาน ๆ เช่น ย่าง ทอด อบ ตุ๋น ฯลฯ) เพื่อลดความเสี่ยงโรคท้องร่วง ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ

       2. พยายามเลือกกินยำที่ปรุงจากวัตถุดิบที่ผ่านความร้อนทั้งหมด เลี่ยงการกินอาหารที่ปรุงสด เช่น ยำปูม้า กุ้งแช่น้ำปลา กุ้งเต้น ก้อยเนื้อขม ฯลฯ

       3. ผักที่กินดิบ เช่น หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ ขึ้นฉ่าย ฯลฯ ควรล้างน้ำให้สะอาดหลาย ๆ ครั้งก่อนนำมาทำอาหาร

       4. ไม่ควรปรุงรสจัดจนเกินไป ควรปรุงแต่พอดี ค่อย ๆ ปรุงทีละนิด ไม่ใส่เครื่องปรุงเยอะตั้งแต่แรก นอกจากจะเสี่ยงโรคไตแล้ว อาจระคายเคืองกระเพาะอาหาร ท้องเสีย

       5. ลดการใส่ผงชูรส หรืออาจไม่จำเป็นต้องใส่เลยก็ได้

       6. ควรเลือกกินเมนูที่หลากหลาย ไม่กินเมนูเดิม ๆ บ่อย ๆ เพราะอาจได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ

       7. หากจะเลือกกินยำเพื่อเป็นเมนูลดน้ำหนัก ควรเลือกวัตถุดิบที่มีแป้งเป็นส่วนผสมให้น้อยที่สุด เช่น เลือกกินยำวุ้นเส้นหมูสับ (ไม่ติดมัน) แทนการกินยำบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หรือยำหมูยอ และเน้นปริมาณของผักให้มากที่สุดในจาน

       8. แม้ว่าจะชอบยำมากแค่ไหน แต่ควรเปลี่ยนเมนูไปกินอาหารประเภทอื่นบ้าง เพื่อให้ได้คุุณค่าทางสารอาหารที่ครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

หากทำตามได้ดังนี้ ความเสี่ยงอันตรายต่ออาหารประเภทยำก็จะลดลง เราก็กินยำได้อย่างเพลิดเพลินมีความสุขมากยิ่งขึ้น แต่ถ้าจะให้ดี ทำยำกินเองสะอาด และปลอดภัยที่สุด เพราะเราสามารถเลือกวัตถุดิบ ทำความสะอาด และปรุงรสได้ตามที่เราต้องการ อย่าลืมปรุงน้อย ๆ แค่พอให้ได้รสชาติ ไม่จัดจ้านก็อร่อยได้


ที่มา...https://www.sanook.com/health/18093/