ผู้เขียน หัวข้อ: รัฐบาลเยอรมนีควักเงิน 3.1 แสนล้านบาท อุ้มลุฟต์ฮันซา หลังโควิด-19 กระทบหนัก  (อ่าน 151 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์




รัฐบาลเยอรมนีเสนอเงินช่วยเหลือก้อนใหญ่เป็นประวัติการณ์ให้แก่สายการบินลุฟท์ฮันซาที่ถูกวิกฤตโควิด-19 กระทบหนัก เพื่อช่วยไม่ให้พนักงานหลายพันคนต้องตกงาน

 สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า ในวันจันทร์ตามเวลาท้องถิ่น รัฐบาลเยอรมนีเสนองบ 9,000 ล้านยูโร หรือประมาณ 3.13 แสนล้านบาท ให้แก่สายการบินลุฟท์ฮันซา ภายใต้แผนช่วยเหลือภาคธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 โดยเงินจำนวนนี้ถือเป็นเงินช่วยเหลือก้อนใหญ่ที่สุดสำหรับภาคธุรกิจที่รัฐบาลเสนอในช่วงวิกฤติสาธารณสุขครั้งนี้

รัฐบาลเยอรมนีอนุมัติงบประมาณตั้งกองทุนมูลค่า 100,000 ล้านยูโร เอาไว้ใช้เข้าซื้อหุ้นบริษัทต่างๆ ที่มีปัญหาการดำเนินกิจการเพราะการระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ด้วยจุดประสงค์ที่จะพยุงเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของยุโรปให้ผ่านพ้นช่วงวิกฤตินี้ไปให้ได้

ลุฟท์ฮันซา ระบุในแถลงการณ์ว่า ในส่วนของเงื่อนไขการรับความช่วยเหลือนั้น รัฐบาลเยอรมนีจะเข้าถือหุ้นของสายการบินแห่งนี้เพิ่มขึ้นอีก 20 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐพุ่งขึ้นเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ และได้รับอีก 1 หุ้น เพื่อใช้สิทธิ์ในกรณีที่มีการเข้าซื้อกิจการแบบไม่เป็นมิตร (Hostile Takeover)

อย่างไรก็ดี ขั้นตอนการเสนอความช่วยเหลือเพื่อแลกหุ้นครั้งนี้ ต้องได้รับความเห็นชอบจากสหภาพยุโรปเสียก่อน และรายงานข่าวระบุว่า มีความน่าจะเป็นที่สายการบินคู่แข่งอื่นๆ เช่น ไรอันแอร์ จะออกมาคัดค้าน เพราะข้อตกลงนี้จะทำให้รัฐบาลมีสิทธิ์ออกเสียงยับยั้ง (Veto) แผนยุทธศาสตร์ธุรกิจใดๆ ก็ตามที่สายการบินจะนำเสนอในอนาคต

รัฐมนตรีกระทรวงการคลังเยอรมนี โอลาฟ ชอลซ์ กล่าวว่า การที่รัฐจะเข้ามาถือหุ้นของลุฟท์ฮันซาเพิ่มขึ้นนี้เป็นเพียงแผนการชั่วคราว พร้อมย้ำว่า การถอนตัวออกจากการบริหารของสายการบินนั้นจะขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของบริษัทเป็นหลัก

รายงานข่าว กล่าวว่า รัฐบาลเยอรมนีมีแผนที่จะขายหุ้นในสายการบินแห่งนี้คืนประมาณช่วงปลายปี ค.ศ. 2023 โดยจะมีการพิจารณาความสามารถในการชำระคืนเงินช่วยเหลือและราคาหุ้นในเวลานั้นที่ต้องสูงกว่าราคาที่ซื้อมาบวกกับดอกเบี้ยด้วย

สำนักข่าว อัล-จาซีรา รายงานว่า รัฐบาลเยอรมนีทยอยขายหุ้นที่ถือในบริษัทใหญ่ๆ หลายแห่งมาตลอดช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา แต่ยังคงสถานะผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในอดีตรัฐวิสาหกิจหลายแห่งอยู่ เช่น กิจการไปรษณีย์และโทรคมนาคม


ที่มา...https://www.sanook.com/news/8170986/