ผู้เขียน หัวข้อ: “ปวดหัวเรื้อรัง” สัญญาณอันตราย โรคร้ายฝังลึก  (อ่าน 1386 ครั้ง)

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 2325
    • อีเมล์




โรคปวดศีรษะ เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกคนและพบมากที่สุด โดยเกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อบริเวณรอบศีรษะ ตำแหน่งที่ปวดศีรษะที่พบบ่อยคือ ตำแหน่งบริเวณหน้าผากและขมับทั้งสองข้าง บางครั้งร้าวมาที่ด้านหลังของศีรษะและต้นคอ รวมถึงบ่าไหล่ร่วมด้วย อันนี้เป็นภาวะที่สัมพันธ์กับท่าทางการทำงานหรือความเครียดด้วย

“ปวดหัวเรื้อรัง” เกิดจากสาเหตุอะไร

การปวดหัวเรื้อรัง คือลักษณะการปวดหัวที่มีอาการต่อเนื่องมากกว่า 15 วันต่อเดือน ติดต่อกันอย่างน้อย 3 เดือน ซึ่งอาจเป็นการปวดหัวธรรมดาที่เกิดจากความเครียด ไมเกรน หรือมีความผิดปกติด้านอื่นๆ ในร่างกาย ทำให้มีอาการปวดต่อเนื่องจนกลายเป็นอาการปวดหัวแบบเรื้อรัง แต่ในขณะเดียวกันก็อาจเป็นอาการปวดหัวที่นำไปสู่โรคร้ายอื่นๆ ได้เช่นกัน 

ไมเกรน จัดเป็นโรคชนิดหนึ่งที่เกิดจากการหดและขยายตัวของเส้นเลือด จะมีอาการปวดบริเวณขมับด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ อาจจะปวดสลับกันได้ ระหว่างข้างซ้ายหรือข้างขวาในแต่ละรอบ และเวลาปวดบางครั้งอาจจะมีปวดร้าวเข้ามาที่กระบอกตาร่วมด้วย คนไข้ก็จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน เวียนศีรษะ และขณะที่มีอาการปวด ถ้าอยู่ในที่แสงสว่างจ้ามากเกินไป เสียงดังหรือว่ากลิ่นฉุนมากเกินไปอาการจะแย่ลง

“ปวดหัวเรื้อรัง” อันตรายหรือไม่ ?

อาการปวดหัวที่เกิดจาก การปวดหัวไมเกรน ปวดหัวจากความเครียด การใช้ความคิด เกิดความตึงของกล้ามเนื้อ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย อาการเหล่านี้เป็นอาการปวดหัวที่ไม่ได้เป็นอันตราย

แต่ถ้ามีอาการปวดหัวแบบรุนแรงมากหรือรุนแรงที่สุดในชีวิตที่ไม่เคยเป็นมาก่อน โดยมักมีอาการทางระบบประสาทร่วมด้วย เช่น แขนขาอ่อนแรง ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน การได้ยินลดลง หรือชักเกร็ง กระตุก เดินเซ หรือคอแข็ง หรือมีอาการปวดหัวรุนแรงที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน นั่นอาจเป็นอาการของโรคอื่นที่แอบแฝง เช่น เนื้องอกในสมอง มะเร็งสมอง เส้นเลือดสมองโป่งพอง หรือความดันโลหิตสูง เป็นต้น

ปวดหัวแบบนี้ควรรีบ ”พบแพทย์”

       - ปวดหัวรุนแรงขึ้นแบบทันทีทันใด
       - ปวดหัวพร้อมกับมีไข้และคอแข็งร่วมด้วย
       - ปวดหัวร่วมกับอาการทางระบบประสาทผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง เดินเซ ปากเบี้ยว เป็นต้น
       - อาการปวดหัวในผู้ป่วยโรคมะเร็ง หรือ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV
       - ปวดหัวมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่ตอบสนองต่อการรักษา

ทั้งนี้อาการปวดหัวเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ที่สำคัญควรหมั่นดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ หากพบความผิดปกติควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที เพราะนั่นอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคร้ายแรงที่แฝงอยู่ในร่างกายอันตรายถึงชีวิต


ที่มา...https://www.sanook.com/health/25535/