ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะแมเนีย (Mania) อีกหนึ่งอาการพบบ่อยในผู้ป่วยไบโพลาร์  (อ่าน 1359 ครั้ง)

ออฟไลน์ admin

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 2325
    • อีเมล์



เป็นที่ทราบกันดีว่าโรคไบโพลาร์ (Bipolar) เกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์  ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จึงมักมีอารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวดี เดี๋ยวร้าย บทจะดีก็อารมณ์ดีตื่นตัวผิดปกติ บทจะร้ายก็ก้าวร้าว มีอารมณ์รุนแรง หรืออาจมีอาการซึมเศร้าอย่างหนัก

Hello คุณหมอ ขอพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ ภาวะแมเนีย หรือที่เรียกว่า ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ เป็นอีกหนึ่งภาวะทางอารมณ์ของโรคไบโพลาร์

ทำความรู้จัก ภาวะแมเนีย (Mania)

ภาวะแมเนีย (Mania หรือ Hypomania) หรือ ภาวะอารมณ์ดีผิดปกติ พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ โดยเกิดจากความผิดปกติทางอารมณ์ที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ดีผิดปกติ มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

สำหรับผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ที่อยู่ในภาวะแมเนีย อาจเกิดขึ้นสลับกับภาวะซึมเศร้า หรือมีอารมณ์ก้าวร้าว รุนแรง หากปล่อยไว้เนิ่นนานโดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและเหมาะสม นอกจากจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันแล้วยังส่งผลกระทบต่อสภาพจิตใจอีกด้วย

ภาวะแมเนียเกิดจากสาเหตุอะไร

ถึงแม้ว่าภาวะแมเนีย อาจเป็นภาวะหนึ่งในอาการของโรคไบโพลาร์ แต่ภาวะแมเนียอาจเกิดจากสาเหตุและปัจจัยอื่นๆ ได้ดังนี้

การใช้แอลกอฮอล์หรือยาเสพติด การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการนอนหลับ อาการซึมเศร้า มีระดับความเครียดสูง ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาบางชนิด อาการของภาวะแมเนีย ในผู้ป่วยโรคไบโพลาร์

ภาวะแมเนียส่งผลให้ผู้ป่วยมีอารมณ์ดีผิดปกติ มีการตื่นตัวตลอดเวลา รวมถึงอาการอื่นๆ  ดังนี้

       - มีพลังมากมาย
       - ฟุ้งซ่านได้ง่าย
       - พูดเร็ว
       - ตัดสินใจเร็ว ขาดการยับยั้งชั่งใจ มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเกิดผลกระทบภายหลัง
       - พูดเยอะผิดปกติ หรือมีความรู้สึกกดดันว่าต้องพูดต่อไป
       - นอนน้อยกว่าปกติ
       - มีพลังมาก ไม่รู้สึกง่วงนอน
       - มีพฤติกรรมเปลี่ยนไป เช่น การพูดคำหยาบ การแต่งกาย
       - รู้สึกมีแรงผลักดันอย่างมาก ในการทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตนเอง
       - ไวต่อความรู้สึก เช่น การดมกลิ่น การสัมผัส
       - ใช้จ่ายโดยประมาท เช่น การซื้อรถยนต์โดยที่ตนเองไม่สามารถจ่ายชำระค่างวดรถได้

แนวทางในการรักษา การรักษาทางการแพทย์

ในเบื้องต้นแพทย์จะสอบถามประวัติและอาการของผู้ป่วย มุ่งเน้นการรักษาเพื่อบรรเทาอาการของผู้ป่วย โดยมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมของผู้ป่วย และอาจมีการจ่ายยา เช่น ยารักษาอาการทางจิต เช่น ยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) ยาลิเทียม (Lithium) กรดวาลโปรอิก (Valproic)

การรักษาแบบองค์รวม

นอกจากนี้การรักษาทางการแพทย์แล้ว ยังมีแนวทางการรักษาแบบองค์รวม และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อควบคุมอาการและบรรเทาความรุนแรงของภาวะแมเนีย ดังนี้

       1. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน
       2. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อคืน
       3. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
       4. หลีกเลี่ยงการรับประทานที่เป็นสารกระตุ้นภาวะแมเนีย เช่น คาเฟอีน น้ำตาล


ที่มา...https://www.sanook.com/health/25337/