ผู้เขียน หัวข้อ: สปสช.จัดระบบดูแลผู้ป่วย “หลอดเลือดสมองตีบตัน” เชื่อลดจำนวนผู้พิการ-เสียชีวิต  (อ่าน 2093 ครั้ง)

ออฟไลน์ vt

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 530
    • อีเมล์



สปสช.จัดระบบเครือข่ายดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลัน ให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาได้ทันเวลา เหตุมักรักษาได้ช้า ทั้งที่เป็นโรคที่ต้องรักษาด่วน เผยมี รพ.กว่า 700 แห่งทั่วประเทศร่วมโครงการ เป็นรพ.ที่ให้ยาละลายลิ่มเลือดได้กว่า 130 แห่ง
       
       นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า โรคหลอดเลือดสมองเป็นโรคที่ทำให้เกิดความพิการในระดับต้นๆ ซึ่งเป็นปัญหาของระบบสาธารณสุขไทย เมื่อเกิดอาการโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันแล้ว ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาภายใน 3 ชั่วโมง อย่างไรก็ตามในปีงบประมาณ 2553 ที่ผ่านมา พบว่า มีผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทันเวลามีเพียงร้อยละ 0.90 เท่านั้น ซึ่งทำให้มีอัตราการเสียชีวิตและความพิการสูงมาก จึงมีความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่ต้องมีระบบการดูแลรักษาที่ถูกต้องรวดเร็วและมีความพร้อมจะช่วยลดความพิการและอัตราเสียชีวิตลงได้ ทั้งนี้ ที่ผ่านมา สปสช.ได้ใช้วิธีการบริหารจัดการเฉพาะสำหรับโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน โดยจัดเป็นระบบเครือข่ายบริการเพื่อให้ผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพเข้าถึงบริการได้ทันเวลา ลดภาวะแทรกซ้อน ลดอัตราการเสียชีวิตและทุพพลภาพ เพิ่มคุณภาพชีวิต
       
       เลขาธิการ สปสช.กล่าวต่อว่า สำหรับอาการเบื้องต้นที่แสดงถึงภาวะหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันเฉียบพลัน คือ มีอาการหน้าเบี้ยวข้างใดข้างหนึ่ง เมื่อบอกให้ผู้ป่วยยิ้มหรือยิงฟัน มีอาการแขนตกข้างใดข้างหนึ่ง โดยให้ผู้ป่วยยกมือยื่นตรงทั้ง 2 ข้าง เมื่อให้ผู้ป่วยลองกำมือ จะมีแรงลดลงข้างใดข้างหนึ่ง และมีการพูดผิดปกติ เมื่อมีอาการญาติติดต่อเข้ารับบริการที่รพ.ใกล้ที่สุดก่อน ไม่ต้องเป็น รพ.ตามสิทธิ หรือติดต่อสายด่วน สปสช.1330 ซึ่งเจ้าหน้าที่จะซักประวัติเบื้องต้นหากเข้าเกณฑ์ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตันเฉียบพลันก็จะแนะนำให้เข้ารับบริการที่ รพ.ในโครงการ และหากผู้ป่วยมีภาวะวิกฤตก็จะประสานสายด่วน 1669 ในการให้บริการรถนำส่ง รพ.
       
       อย่างไรก็ตาม โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรืออุดตันเป็นโรคที่ต้องได้รับการรักษาโดยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทันเวลาภายใน 3 ชั่วโมง ปัจจุบันมี รพ.ทั่วประเทศเข้าร่วมกว่า 700 แห่ง เป็นโรงพยาบาลที่สามารถให้ยาละลายลิ่มเลือดได้กว่า 130 แห่ง




ที่มา :