ผู้เขียน หัวข้อ: ภาวะการอักเสบในร่างกายเกิดขึ้นได้อย่างไร  (อ่าน 3329 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์

 ภาวะการอักเสบในร่างกายเกิดขึ้นได้อย่างไร
โดย นพ.ฉัตรชัย ศรีบัณฑิต

นักวิจัยส่วนใหญ่เชื่อว่าภาวะการอักเสบในร่างกาย มีสาเหตุเริ่มต้นมาจาก ความเครียดด้านออกซิเดชั่น oxidative stress ในร่างกาย จากสารพิษโลหะหนัก สารอนุมูลอิสระ อาหารไขมันสูง ควันบุหรี่เป็นต้น จึงทำให้เยื่อบุหลอดเลือดชั้นในเกิดการอักเสบ จนก่อให้เกิดคราบตะกรัน จนเกิดการแข็งตัวของหลอดเลือดในที่สุด โดยพื้นผิวของผนังหลอดเลือดด้านในที่ชื่อ ชั้น endothelium ถูกทำลายหรือรบกวน ซึ่งถือว่าเป็นชั้นของเซลล์ที่มีความไวต่อการกระตุ้นมากแม้ว่าจะมีการถูกรบกวนเพียงเล็กน้อยก็ตาม โดยคลอเลสเอรอล LDL ที่ผ่านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น และอนุมูลิสระต่างๆเป็นสาเหตุทำให้ oxidative stress ทำลายผนังหลอดเลือด โดยกระบวนการนี้จะเกิดเมื่อคลอเลสเตอรอล LDL สามารถผ่านเข้ามายังพื้นที่ใต้เยื่อบุหลอดเลือด ที่เรียกว่า ช่องว่างใต้ผนังในหลอดเลือดหรือชั้น subendothelium ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นกระทำ จากนั้นคลอเลสเตอรอลชนิดนี้จึงเริ่มทำลายเยื่อบุหลอดเลือด

ภาวะผนังหลอดเลือดเสื่อมสภาพ Endothelial Dysfunction
ร่างกายของเรามีระบบการป้องกันที่ถูกออกแบบมา เพื่อการปกป้องผนังด้านในของหลอดเลือด  เมื่อผนังหลอดเลือดถูกคุกคาม  ไม่ว่าเกิดจากอนุมูลอิสระ หรือจากการอักเสบเช่นเชื้อโรคไวรัสตกค้างเรื้อรังในร่างกาย ก็จะเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ โดยการส่งเม็ดเลือดขาวจำนวนหนึ่ง เพื่อมากำจัดคลอเลสเตอรอลที่เป็นอันตราย ซึ่งตรงจุดนี้จึงเป็นส่วนที่เม็ดเลือดขาวเริ่มกินศัตรู เพื่อลดภาวะของการรบกวนที่เกิดขึ้นกับผนังหลอดเลือดให้น้อยลงที่สุด หากการตอบสนองของปฏิกิริยาดังกล่าวเกิดขึ้นสำเร็จ เยื่อบุหลอดเลือดก็จะได้รับการซ่อมแซม แต่ความสำเร็จที่ยั่งยืนในการต่อสู้กับคลอเลสเตอรอลที่เป็นอันตรายนี้ไม่ได้เกิดความสำเร็จขึ้นตลอดเวลา

ในสภาวะปกติที่ร่างกายแข็งแรง เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถทำหน้าที่ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง ซึ่งเรียกว่า กลไกตอบรับของธรรมชาติ แต่เมื่อคลอเลสเตอรอล LDL เดิมที่มีอยู่ในร่างกาย ถูกกระทำโดยปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่น อนุภาคของคลอเลสเตอรอลนั้นๆจะทำร้ายร่างกาย ทำให้เม็ดเลือดขาวมีวิธีการกำจัดคลอเลสเตอรอลเหล่านั้นที่แตกต่างจากเดิมออกไป เม็ดเลือดขาวจะรวบรวมเซลล์ของ LDL ชนิดอันตรายที่ผ่านอ๊อกซิเดชั่นไว้กับตัวเอง โดยไม่ยอมปล่อยคลอเลสเตอรอลเหล่านั้นออกไป ดังนั้นเมื่อเม็ดเลือดขาวเผชิญกับคลอเลสเตอรอล LDLอีก ก็จะตกอยู่ในฐานะลำบากเพราะขาดกลไกตอบรับทางธรรมชาติไป เม็ดเลือดขาวก็จะมีแต่คลอเลสเตอรอล LDL ที่ผ่านปฏิกิริยาอ๊อกซิเดชั่นยัดเยียดอยู่เต็ม จนเปลี่ยนเป็น Foam cell ที่มีรูปร่างเหมือนก้อนไขมันกลมๆ ซึ่งเป็นอันตราย โดย Foam cell จะติดเข้ากับเยื่อบุหลอดเลือดและกลายตัวเป็นโรคหลอดเลือดแข็งตัวขั้นแรก ซึ่งเรียกว่า ริ้วไขมัน

ริ้วไขมันหลอดเลือดเป็นโรคของเนื้อเยื่ออักเสบชนิดหนึ่งซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการที่เรียกว่า หลอดเลือดแข็ง atherosclerosis อย่างไรก็ดีหากกระบวนการนี้หยุดลงแค่ตรงจุดนี้ อย่างน้อยที่สุดร่างกายก็จะมีโอกาสได้ซ่อมแซมความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว แทนที่ชั้นของเยื่อบุเซลล์ของหลอดเลือดที่เสียหายแล้วจะได้รับการฟื้นฟูแต่กลับถูกระบบซ่อมแซมของร่างกายเข้าทำร้ายเสียเอง ซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบมากขึ้นอีกทั้งยังดึงเม็ดเลือดขาวออกมามากกว่าเดิม และเปลี่ยนคลอเลสเตอรอล LDL ให้เป็นคลอเลสเตอรอล LDL ที่ผ่านอ๊อกซิเดชั่น โดยจะนำมาซึ่งความอักเสบเรื้อรังในบริเวณเยื่อบุเซลล์ของหลอดเลือด การอักเสบเรื้อรังเป็นสาเหตุให้ชั้นกล้ามเนื้อของหลอดเลือดมีความหนาตามกระบวนการที่เรียกว่า proliferation ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างความหนาของกล้ามเนื้อเซลล์ให้เพิ่มสูงขึ้น จากผลดังกล่าวจึงทำให้หลอดเลือดตีบลง

การตรวจภาวะการอักเสบ
วิธีการประเมินภาวะการอักเสบในร่างกาย ส่วนใหญ่เราจะอาศัยการวัดตัวชี้ระดับการอักเสบในเลือด (Inflammatory Marker) โดยมีหลายตัวชี้วัด เช่น

1. ESR (Erythrocyte sedimentation rate) เมื่อมีการอักเสบในร่างกาย ตับจะเกิดปฏิกิริยาโดยการสร้างสารโปรตีนชนิดหนึ่งออกมาในเลือดมากขึ้น สารโปรตีนนี้จะมีผลทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดการเกาะติดกันได้ง่าย หากเจาะเลือดของผู้ป่วยที่มีการอักเสบใส่หลอดที่มีสารป้องกันการแข็งตัว แล้วตั้งทิ้งไว้สักพัก ก็จะเห็นว่ามีการแยกชั้นของส่วนที่เป็นเลือดและส่วนที่เป็นน้ำเหลืองในเวลาไม่นาน ทั้งนี้เพราะสารโปรตีนนี้จะทำให้เม็ดเลือดแดงเกิดเกาะติดกัน แล้วก็พากันไปตกตะกอนอยู่ที่ก้นหลอดนั่นเอง ค่าของ ESR ก็คือระยะทางเป็นมิลลิเมตรที่เม็ดเลือดแดงตกตะกอนลงมาอยู่ที่ก้นหลอดแก้วในเวลา 1 ชั่วโมง ยิ่งค่าของ ESR สูงก็ยิ่งแสดงว่ามีการอักเสบมาก จากหลักการดังกล่าว ESR จึงใช้วัดสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในเลือด โดยเฉพาะ Plasma ซึ่งอาจจะมีสารบางอย่างเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้เลือดตกตะกอนเร็วขึ้น สารที่ว่านั้น หลัก ๆ คือ Fibrinogen และ Acute phase reactant อื่น ๆ (รวม Immunoglobulin ด้วย) ซึ่งสารพวกนี้เกิดขึ้นมาจาก กระบวนการอักเสบนั่นเองESR จึงใช้วัดภาวะต่างๆ ที่ก่อให้เกิดการอักเสบได้อย่างคร่าวๆ แพทย์ มักใช้ค่า ESR ในการติดตามผลการรักษา ว่าดีขึ้นหรือไม่ ค่า ESR มีการแปรผันมาก ค่าจะเปลี่ยนแปรไปตามอายุ เพศ ยาที่ใช้ และโรคประจำตัวที่เป็นอยู่
    
2. CRP (C-Reactive Protein) เป็นโปรตีนตอบสนองในระยะเฉียบพลัน (acute phase reactant protein) อย่างหนึ่ง ซึ่งสร้างจากเซลล์ตับ สารชนิดนี้มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญกับการเกิดโรคเส้นเลือดแข็งตัว(atherosclerosis) ความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจกำเริบ และการมีอาการของโรคหัวใจครั้งแรก CRP จะถูกสร้างขึ้นเมื่อร่างกายมีภาวะอักเสบ หรือการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อคล้ายกับการตรวจอัตราการตกของเม็ดเลือดแดงหรืออีเอสอาร์ ESR โดย CRP จะเพิ่มอย่างรวดเร็วภายใน 6 – 10 ชั่วโมง และขึ้นสูงสุดใน 24 – 72 ชั่วโมง และลดลงสู่ระดับปกติใน 1 – 2 สัปดาห์ การตรวจ CRP มีข้อดีกว่า ESR คือ CRP จะให้ผลบวกก่อน ESR และผลกลับมาปกติขณะที่ ESR ยังสูงอยู่ และไม่เปลี่ยนแปลงในภาวะซีด ระดับโกลบูลินในเลือดสูง (hyperglobulinemia) การตั้งครรภ์ และไม่มีความแตกต่างระหว่างเพศชายและหญิง ขณะที่ ESR เปลี่ยนแปลงในภาวะดังกล่าว วิธีเดิมที่ใช้กันทั่วไป ในห้อง LAB จะวัดค่า serum CRP ได้ในช่วง 10-1000mg/L แต่ในปัจจุบันมีการพัฒนาการวัดแบบความไวสูง หรือที่เรียกว่า hs-CRP (high sensitivity CRP) ซึ่งสามารถวัดค่า CRPได้ต่ำถึง 0.3mg/L ซึ่งมีประโยชน์ในการนำมาใช้ประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ ค่า hs-CRP ควรจะต่ำกว่า 1.0 จึงจะถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ หากค่าอยู่ที่ 1-3 จะมีความเสี่ยงปานกลาง และถ้าค่า hs-CRP สูงกว่า 3 ถือเป็นความเสี่ยงสูง

3. สารจำพวก Interleukin เช่น  Interleukin-6 สารตัวนี้หลั่งออกมาจากเม็ดเลือดขาว เป็นการตอบสนองต่อภาวะการอักเสบ เราพบความเกี่ยวข้องระหว่างสารตัวนี้สูง กับโรคหลายโรค เช่น เบาหวาน เส้นเลือดตีบแข็ง ซึมเศร้า อัลไซเมอร์ โรคภูมิแพ้ตัวเอง รูมาตอยด์ โรคมะเร็ง  เนื่องจากเราพบสารนี้สูงในภาวะที่มะเร็งลุกลามมากและกำลังกระจาย

Lp-PLA2  เป็นโมเลกุลที่มีความจำเพาะมากขึ้น ต่อภาวะการอักเสบของหลอดเลือด  สร้างออกมาจากเม็ดเลือดขาวที่บริเวณเส้นเลือดที่อักเสบ โดยถือเป็นตัวชี้วัดแรกสำหรับวินิจฉัยภาวะพลาคไม่เสถียร ซึ่งมีการอักเสบเกิดขึ้นตลอดเวลา




4. ช่วยประเมินความเสี่ยงและโอกาสที่จะเกิดหัวใจขาดเลือดได้ การประเมินความเสี่ยง โอกาสเกิดโรคหัวใจโดยอาศัยการตรวจเลือด จากการศึกษาเราพบว่าถ้าเราวัดระดับไขมันโคเลสเตอรอลรวม หรือค่าไขมันไม่ดี LDLเพื่อใช้ประเมินเพียงอย่างเดียว มีค่าพยากรณ์โรคอยู่ที่ประมาณ 2 ความหมายคือ ถ้าใครมีไขมันสูงมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่า ถ้าใช้อัตราส่วนระหว่างไขมันโคเลสเตอรอลรวมต่อไขมันดี HDL(ค่าในอุดมคติไม่เกิน 3.5) หากสูงจะพยากรณ์ความเสี่ยงอยู่ที่ประมาณ 3 อย่างไรก็ตามหากใช้ตัวชี้วัดการอักเสบคือโปรตีน CRP ชนิดไวสูง (high-sensitivity CRP) มีค่าการพยากรณ์โรคอยู่ที่ 4 ซึ่งค่านี้เพียงค่าเดียวก็พยากรณ์โรคได้ดีกว่าค่าไขมันเสียอีก  และหากใช้ค่า hs-CRP ร่วมกับอัตราส่วนไขมันโคเลสเตอรอล จะมีค่าการพยากรณ์โรคที่ 6 ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงสูงสุด

การดูแลรักษาภาวะการอักเสบในร่างกาย
วิธีที่ดีที่สุดในการดูแลรักษา ภาวะการอักเสบ ก็คือหาสาเหตุที่ทำให้เกิดการอักเสบ แล้วกำจัดสาเหตุนั้นออกไป  หากว่าสาเหตุเกิดจากแบคทีเรียหรือไวรัส ชนิดซ่อนเร้น เราจะใช้การรักษาด้วย ออกซิเดชั่น เพื่อเพิ่มอนุมูลออกซิเจน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการกำจัดไวรัสแบคทีเรียหรือเชื้อรา นอกจากนี้ อนุมูลออกซิเจนจากขบวนการออกซิเดชั่น ยังช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบออกซิเดชั่นในร่างกาย และระบบสมดุลการกำจัดอนุมูลอิสระ ให้กลับมาเป็นปกติ

หากสาเหตุของการอักเสบ เกิดจากสารพิษสะสมตกค้าง สารพิษหลายชนิดเช่น ไดออกซิน ยาฆ่าแมลง ถูกกำจัดได้ด้วย ออกซิเดชั่น  ส่วนสารพิษโลหะหนัก ใช้การบำบัดคีเลชั่น

นอกจากนี้ สิ่งที่สำคัญที่สุดอีกประการหนึ่งคือ การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การลดความเครียด การออกกำลังกายแบบแอโรบิค การหลีกเลี่ยงสารพิษต่างๆ ทั้งจากอาหาร จากน้ำ จากวิธีการปรุงอาหารที่ใช้น้ำมันและความร้อนสูงตลอดจนวิธีปิ้งย่าง ซึ่งก่อให้เกิดสารพิษมาก