ผู้เขียน หัวข้อ: การเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการตรวจเชื้อไวรัสไข้หวัดนก ชนิดเอช 7 เอ็น 9  (อ่าน 2026 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์




สถานการณ์ในต่างประเทศ : เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2556 The Centre for Health Protection (CHP) of the Department of Health เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจาก the National Health and Family Planning Commission (the Commission) ว่า พบผู้ยืนยันติดเชื้อ H7N9 จำนวน 3 ราย เสียชีวิต 2 ราย โดยผู้ติดเชื้อทั้ง 3 มีรายละเอียด ดังนี้
     1. ชาย อายุ 87 ปี อาศัยในมณฑลเซี่ยงไฮ้  เริ่ม ป่วยวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2556
เสียชีวิตวันที่ 4 มีนาคม 2556
     2. ชาย อายุ 27 ปี อาศัยในมณฑลเซี่ยงไฮ้  เริ่ม ป่วยวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2556   
เสียชีวิตวันที่ 10  มีนาคม 2556
     3. หญิงอายุ 35 ปี  อาศัยในเขต Chuzhou มณฑล Anhui เริ่มป่วย 9 มีนาคม 2556
อาการหนัก   รักษาที่ Nanjing, Jiangsu มีประวัติสัมผัสสัตว์ปีกก่อนป่วย
       ทั้ง 3 ราย มีอาการ respiratory tract infection เช่น ไข้ ไอ ปอดบวม หายใจลำบาก จากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการของ Chinese Center for Disease Controlเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2556 พบ H7N9 avian influenza virus  ทั้ง 3 รายไม่มีข้อมูลการป่วยเชื่อมโยงกันทางระบาดวิทยา   ผู้สัมผัส 88 รายยังไม่พบอาการผิดปกติ
เชื้อก่อโรค : เชื้อไข้หวัดนกและไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล จัดอยู่ในแฟมิลี่ ออร์โธมิกโซวิริดี(Orthomyxoviridae) แบ่งเป็น 3 type คือ A, Bและ C เป็น ไวรัส RNA ชนิดสายเดี่ยว (single strand) มีเปลือกหุ้ม (envelope) เชื้อไข้หวัดนกแบ่งเป็น 2 ชนิด ตามความรุนแรงของการติดเชื้อคือ ชนิดไม่รุนแรง(Low Pathogenic Avian influenza หรือ LPAI) และ ชนิดรุนแรงมาก (Highly Pathogenic Avian Influenzaหรือ HPAI) ซึ่งชนิดนี้พบในชนิดย่อย (subtype) H5 และ H7 สำนักงานโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (The Office of International des Epizootics หรือ OIE) และได้จัดชนิดย่อย (subtype) H5 และ H7 อยู่ในList A ซึ่งเป็นกลุ่มโรคระบาดสัตว์ที่อันตรายร้ายแรงมีความสำคัญต่อการค้าขายสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์สัตว์ระหว่างประเทศ แต่เชื้อไข้หวัดนกที่เป็นชนิดย่อย (subtype) H5 และ H7 ส่วนใหญ่ เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้เกิดโรคชนิดไม่รุนแรง ดังนั้นการหาค่าความรุนแรงของเชื้อว่าเป็น HPAI หรือ LPAI จึงมีความสำคัญ (OIE manual,2000, Swayne et al,1997)
ระบาดวิทยา : เชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7 สามารถแยกย่อยออกเป็น 9 กลุ่มย่อย N1 ถึง N9 เคยพบการระบาดในประเทศสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2545 ในรัฐเวอร์จิเนียร์มีการระบาดของสายพันธุ์ H7N2 ในฟาร์มเลี้ยงไก่ ไก่งวง สัตว์ปีก 4.7 ล้านตัวถูกทำลาย ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 พบการระบาดของสายพันธุ์ H7N7 ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นคนงาน    ในฟาร์มสัตว์ปีก มีอาการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนบนร่วมกับตาอักเสบ และล่าสุดเมื่อปลายปี พ.ศ. 2555 พบการระบาดของสายพันธุ์ H7N7 อีกครั้งในฟาร์มเลี้ยงไก่ประเทศออสเตรเลีย โดยทั่วไปเชื้อไข้หวัดนก สายพันธุ์ H7 มักพบระบาดในสัตว์ปีก การติดเชื้อสู่คนเป็นไปได้ยากยกเว้นเป็นผู้สัมผัสกับสัตว์ป่วยโดยตรง
สถานการณ์ในประเทศไทย
การเฝ้าระวังในสัตว์ปีก : กรมปศุสัตว์ ได้รายงานว่า มีการตรวจพบเชื้อไข้หวัดนก (H5N1, H5N2) ในสัตว์ปีกครั้งสุดท้าย  เมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ซึ่งเป็นระยะเวลาเกินกว่า 5 ปีแล้วที่ไม่พบเชื้อไข้หวัดนก รวมทั้งเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 ในสัตว์ปีก
การเฝ้าระวังในคน : ประเทศไทยมีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 จำนวนทั้งสิ้น25 ราย เสียชีวิต 17 ราย พบผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดนกรายสุดท้ายในปีพ.ศ. 2549 แต่เนื่องจากยังคงพบโรคไข้หวัดนกระบาดในสัตว์ปีกในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้าน กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายในการเร่งรัดการเตรียมความพร้อมป้องกันควบคุมโรคไข้หวัดนกในพื้นที่เสี่ยงและมอบนโยบายในการเฝ้าระวังฯ แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งรับผิดชอบในการตรวจวินิจฉัยและสนับสนุนน้ำยาในการเก็บตัวอย่าง
การตรวจหาเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9 : โดยการประสานความร่วมมือกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งชาติสหรัฐอเมริกา ห้องปฏิบัติการของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สามารถตรวจวิเคราะห์หาสายพันธุ์ไข้หวัดนกชนิด H7 ด้วยวิธีการคัดกรอง โดยการตรวจหาสารพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า Polymerase Chain Reaction (PCR) และตรวจยืนยันสายพันธุ์ไข้หวัดนกชนิด H7 ด้วยวิธีการหาลำดับเบส (Gene sequencing) อีกครั้ง
การป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดนกสายพันธุ์ H7N9
สำหรับผู้เลี้ยงหรือผู้สัมผัสสัตว์ปีก :
          1.ใส่หน้ากากอนามัย ถุงมือ หมวก รองเท้าบูธ เมื่อเข้าปฏิบัติงาน
          2. ล้างมือด้วยสบู่ทุกครั้งเมื่อเข้าและออกพื้นที่ปฏิบัติงาน
          3.เมื่อมีสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ ต้องรีบแจ้งให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทราบทันที
          4. ต้องใส่หน้ากากอนามัย ถุงมือ หมวก รองเท้าบูธ เมื่อกำจัดสัตว์ปีกที่ป่วย/ตาย
          5.ห้ามนำสัตว์ปีกที่ป่วย/ตาย มาปรุงเป็นอาหาร
          6.ให้สังเกตอาการไข้และอาการระบบทางเดินหายใจ อาการท้องเสีย หากมีอาการดังกล่าว
          ภายใน 10 วันหลังจากสัมผัสสัตว์ปีกป่วย/ตายครั้งสุดท้าย ต้องรีบมาพบแพทย์เพื่อให้การรักษา
          และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบผู้ป่วยไข้หวัดนกต่อไป
          7.ควรฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลเพื่อป้องกันการผสมข้ามสายพันธุ์ (Reassortment) ของเชื้อไข้หวัดนก และเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลจนกลายเป็นสายพันธุ์ใหม่





--------------------
ที่มา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์