ผู้เขียน หัวข้อ: แม่นมออนไลน์ ไว้ใจได้เพียงใด  (อ่าน 1374 ครั้ง)

ออฟไลน์ IloveMT

  • medtech ป โท
  • *****
  • กระทู้: 289
    • อีเมล์
แม่นมออนไลน์ ไว้ใจได้เพียงใด
« เมื่อ: มิถุนายน 03, 2011, 07:55:01 am »


หลากข้อความที่โพสต์ไว้บนอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับน้ำนมแม่สำหรับทารก มีทั้งขอรับบริจาคและต้องการบริจาค จนเกิดคำถามตามมาถึงความปลอดภัยของน้ำนมที่แบ่งปันกัน แม้ว่า "นมแม่จะดีที่สุด" ก็ตาม

 "ลูกไม่ยอมกินนมที่ปั๊มไว้ จะทิ้งก็เสียของ เลยเอามาให้คนที่ต้องการ สนใจติดต่อทาง xxx  @hotmail.com...ขอรับบริจาคนมแม่ค่ะ  ลูกกินนมเยอะมาก แต่ตัวเองไม่มีน้ำนม รบกวนติดต่อเบอร์ 081-360- xxxx ค่ะ"

 เว็บบอร์ดหลายแห่ง มีโพสต์บริจาคและขอรับบริจาคนมแม่กันมากขึ้น ทำไมคุณแม่เหล่านี้ถึงกล้าบริจาค หรือขอรับบริจาคนมแม่ทางอินเทอร์เน็ต  ซึ่งไม่มีอะไรมาตรฐานอะไรรับรองคุณภาพ ความปลอดภัยของนมที่แบ่งปันกัน

 รศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉงนกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นไม่ต่างกัน

 "นมแม่ดีที่สุด ถามว่าแล้วนมแม่คนอื่นละ เป็นอย่างไรบ้าง มีหลายประเด็นที่น่าจะต้องศึกษาในแง่ของความปลอดภัย เพราะมีโรคต่างๆ ที่ถ่ายทอดทางน้ำนมได้ ตัวสำคัญคือ เอชไอวีหรือเอดส์ สังเกตได้ว่าเด็กที่คลอดมาจากคนไข้เอชไอวี หมอจะไม่ให้ลูกดื่มนมแม่"

 แม้ว่าการแบ่งปันน้ำนมแม่ ดูเป็นการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แต่ต้องเข้าใจก่อนว่า โอกาสความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากรับบริจาคผ่านที่ว่าคือ "โรค" ที่มาพร้อมกับ "น้ำนม" สามารถเกิดขึ้นได้

 กุมารแพทย์ ตั้งคำถามกับแม่ที่บริจาคหรือรับบริจาคนมทางอินเทอร์เน็ตว่า  คุณแม่มั่นใจคุณภาพและความปลอดภัยแค่ไหน ว่ามีสารปนเปื้อนหรือไม่ เคยตั้งคำถามหรือไม่ว่า โอกาสน้ำนมจะมี ไวรัสตับอักเสบซี  ไวรัสซีเอ็มวี ที่สามารถถ่ายทอดทางน้ำนม และเมื่อลูกดื่มนมนั้นเข้าไป ทำให้เด็กรับเชื้อจากนมที่รับบริจาคมา

 ถึงแม้ว่าจากประวัติศาสตร์การให้นมแม่ (คนอื่น) หรือที่คุ้นหูกันคือ "แม่นม" นั้นมีมาช้านาน แต่เมื่อวิทยาศาสตร์เข้ามาในชีวิต คนเริ่มเปลี่ยนพฤติกรรมหันมาให้ลูกดื่มนมตัวเองมากขึ้น  ถ้านมแม่ไม่พอก็ดื่มก็ยังมีนมผงสำหรับทารก บทบาทแม่นมเหลือแค่ทำหน้าที่ดูแลลูกให้เท่านั้น

 ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คุณแม่หลายคนรับบริจาคนมทางอินเทอร์เน็ต มาจาก "น้ำนมไม่พอ"  ยิ่งในกลุ่มคุณแม่ที่มีความรู้จะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะตระหนักถึงคุณค่าและประโยชน์ของนมแม่ ประกอบกับพบว่าอัตราของเด็กที่มีอาการแพ้นมวัวมากขึ้น อาการที่แสดง เช่น  เด็กหลับไม่สนิท ร้องไห้ ไม่สบายทั้งวันโดยไม่รู้สาเหตุครั้นพอเปลี่ยนจากนมวัว ไปเป็นนมอื่นเด็กหลับดีขึ้น เป็นต้น

 ปัจจัยเหล่านี้เองทำให้เกิดการขอรับบริจาคน้ำนมแม่ ผ่านทางอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้น

 กุมารแพทย์ บอกว่า สิ่งสำคัญที่อยากให้แม่ทุกคนพิจารณาก่อนก็คือ  นมแม่ไม่พอจริงหรือ  หรือว่าผิดเทคนิค มีวิธีทำให้เพิ่มขึ้นได้ไหม มากกว่าที่หาตัวช่วย ไม่ว่าจะเป็นนมผสม หรือนมบริจาค

 "ไม่ใช่ว่า พอนมแม่ไม่พอปุ๊บ แม่พยายามไปเอานมแม่คนอื่นมาให้ลูกดื่มทันที ก่อนที่จะไปหาทางออกแบบนั้น ควรตรวจสอบก่อนว่า น้ำนมไม่พอจริงๆ  เพราะความที่นมแม่ย่อยง่ายมาก พอเด็กดูดสักพัก ก็จะหิวอีก เลยดูดนมแม่ทุกชั่วโมง ทำให้แม่เข้าใจผิดคิดว่านมแม่ไม่พอ รู้สึกกดดัน ต้องหานมแม่คนอื่นมาให้ลูกดื่ม"

 อีกอย่างคือ หากน้ำนมแม่ไม่พอจริงๆ  ยังมีเทคนิคที่ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนม  ตรงนี้อาจต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วย ยกเว้น ถ้าไม่พอจริงๆ ค่อยว่ากันอีกที่ว่า จะเลือกใช้นมผสม หรือนมแม่ของคนอื่น

 อย่างไรก็ตาม กุมารแพทย์ ยอมรับว่า หากมองแง่คุณค่าอาหารจากนมแม่คนอื่นไม่ได้มองเรื่องโรค คุณค่าใกล้เคียงกันมาก

 ข้อแนะนำสำหรับคุณแม่ ผู้เชี่ยวชาญ บอกว่า ให้เด็กดื่มนมแม่ และกินอาหารเสริมอย่าง ข้าว กล้วยเช่น หากเด็ก  6  เดือนให้อาหารเสริม 1 มื้อ เด็ก 9 เดือนให้อาหารเสริม 2 มื้อ  เด็ก 1 ปีให้อาหารเสริม 3 มื้อ  แทนที่จะให้กินนมผสม
 
 ส่วนวิธีการกระตุ้นนมแม่ ช่วงแรกต้องให้ลูกดูดบ่อยๆ  และเมื่อไรที่ดูดข้างหนึ่งแล้วอีกข้างหนึ่งพุ่ง รับรองว่านมพอแน่นอน เทคนิคอีกอย่างคือ ต้องให้ลูกดูดน้ำนมให้เกลี้ยงเต้าแม่ จึงจะสร้างน้ำนมออกมาได้ดี