ผู้เขียน หัวข้อ: lab น่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน  (อ่าน 3356 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
lab น่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน
« เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 04:10:19 pm »




เรืองแล็บน่ารู้ ตอน lab น่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน

“ ผลแล็บของห้องแล็บ รพ. เรามีความเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน”

“ ผลแล็บของเราเคยเทียบกับผลแล็บหน่วยงานอื่นหรือไม่”

หลายครั้งที่มีคำถามเกิดขึ้นผมก็ได้อธิบายคำตอบไปหลายครั้ง แต่พอเวลาผ่านไปคำถามเดิม ๆ กลับเข้ามาอีก วันนี้ก็เลยมีโอกาสได้มาอธิบายให้เข้าใจทั่ว ๆ กันเกี่ยวกับมาตรฐานการควบคุมคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของ รพ. เราว่าห้องแล็บเราทำอะไรบ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลแล็บที่มีความถูกต้องและมีความนาเชื่อถือ เมือจะพูดถึงการควบคุมคุณภาพในห้องปฎิบัติการทางการแพทย์นั้น เราจะแบ่งการควบคุมคุณภาพออกเป็น

1. Pre analytical

2. Analytical

3. Post analytical

 

1. Pre analytical การควบคุมคุณภาพก่อนการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งได้แก่ขั้นตอนการเจาะเก็บสิ่งส่งตรวจ

ว่าสิ่งส่งตรวจนั้นเก็บได้ถูกต้องหรือไม่เก็บถูกคนหรือไม่  ระยะเวลาก่อนส่งถึงห้องแล็บนานแค่ไหน ซึงจะมีผลต่อการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งขั้นตอนนี้จะมีผลตอความถูกต้องและน่าเชื่อถือของผลแล็บเป็นอย่างมาก คิดเป็น 70 % ทีจะส่งผลให้ผลแล็บเกิดการผิดพลาดได้มากที่สุด สาเหตุเกิดจากอะไรได้บ้าง ผมจะยกตัวอย่างคร่าว ๆ  เช่น  การเจาะเลือดใส่สารกันเลือดแข็งผิดประเภท เจาะเลือดผิดคน  เจาะเลือดแล้วลืม  mix   เลือด clotted, hemolysis  เก็บปัสสาวะหรืออุจจาระไว้นานเกินหรือสงห้องแล็บลาช้า ซึ่งจะทำให้  cast ใน UA สลายไป หรือ ไข่พยาธิ แตกสลายไปหรือเปลี่ยนรูปร่างทำให้มองเป็นสิ่งแปลกปลอมได้  เป็นต้น เมื่อกล่าวถึงเวลาในการส่งแล็บ  เวลาถือเป็นสิ่งสำคัญมากระดับหนึ่ง เพราะสารเคมีในรางกายบางอยางเมื่ออยู่นอกร่างกาย  (ในtube)  จะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ  การเจาะ HCT ที่ทิ้งไว้นาน เม็ดเลือดจะ  pack ตัวแน่นแล้ว แล้วถ้านำไปปัน 5 นาที ค่าทีวัดได้จะเป็นอยางไร่เป็นค่าที่ถูกต้องหรือไม่ ? ฝากคิดเอาเองนะครับ  คำถามที่เจอบ่อยอีกคำถามหนึงคือ “ ค่า  E-lyte คนไข้กดู clinical ดี แตค่า  Na, Cl ต่า หรือ ค่า  K ทำไมสูงผิดปกติ ” แน่นอนครับวิธีการเจาะเก็บและระยะเวลาทีนำส่งแล็บมีผลแน่นอน ผมจะอธิบายคร่าว ๆ ซึงรายละเอียดจะได้อธิบายในหัวข้อต่อ ๆ ไป ค่า  K ที่สูงขึ้นเกิดจากอะไรได้บ้าง เลือดที่ hemolysis เล็กน้อยไม่สามารถมองเห็นชัดด้วยตาเปลา วิธีการเจาะเลือดใส่  tube ถ้าใส่  tube CBC ก่อนใส่  tube แก้วแน่นอนครับ  tube CBC มี K3EDTA เป็นสารกันเลือดแข็ง แคเราใช้ปลาย syringe แตะเอาสารกันเลือดแข็งปนเปื้อนลงใน tube แก้วทีจะตรวจ E-lyte ค่า  K สูงขึ้นแน่นอนครับ   อีกอย่างคือเวลาที่นำสงห้องแล็บ สำหรับ  tube  แก้วห้องแล็บจะรีบตรวจภายใน  2 ชั้วโมงหรือปั่นแยกซีรัมภายใน  2  ชั่วโมง แล้วมีคำถามตามมาอีก  “ ทำไมห้องแล็บไม่จัดอบรมเกี่ยวกับการเก็บสิ่งส่งตรวจละ” เราเคยจัดแล้วช่วงแรก  ๆ  ได้ผลดีอยู่เวลาผ่านไปกลับเหมือนเดิม  คู่มือเก็บสิ่งส่งตรวจก็มีให้ทุกหน่วยงานแต่ไม่ค่อยเปิดกันเท่าไร  แต่มาช่วงหลังนี้การเก็บสิ่งส่งตรวจดีขึ้นมาก ๆ ไม่ค่อยมีปัญหา  การปฏิเสธสิ่งส่งตรวจน้อยลงมาก

2. Analytical การควบคุมคุณภาพในการตรวจวิเคราะห์ ในขั้นตอนนี้จะมีความผิดพลาดน้อยประมาณ 20 %

แล้วในการควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์นี้เราทำอะไรบ้างละ  ห้องแล็บของเราจะมีการทำ IQC และ EQA เป็นตัวควบคุม

IQC ( Internal Quality Control) การควบคุมคุณภาพภายใน แล้วเราควบคุมอะไร

 

สิงทีเราควบคุมคือทุกอย่าง น้ำยา  อุปกรณ์  ชุดตรวจ  เครื่องมือ แล้วเราใช้อะไรในการควบคุมละ สิ่งนั้นก็คือตัวนำยาControl หรือสารควบคุมมาตรฐานที่เราทราบค่าแล้ว เมื่อนำไปทดสอบกับน้ำยา อุปกรณ์ ชุดตรวจ หรือเครื่องมือ จะต้องได้ค่าที่อยู่ในช่วงที่กำหนด แล้วเราตรวจสอบบ่อยแค่ไหน ?  คำตอบคือทุกวันครับ เราทำการ control ทุกเช้า โดยเฉพาะเครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ แค่นี้ยังไม่พอ ห้องแล็บเรายังประเมินคุณภาพจากหน่วยงานภายนอก เรียกว่าการทำ  EQA ( External quality assurance) โดยหน่วยงานกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, ศูนย์วิทยาศาสตร์ การแพทย์ ตัวนี้จะเป็นตัวตอบคำถามได้ดีว่าผลแล็บเราเคยเทียบกับผลแล็บที่อื่นหรือไม่  คำตอบคือเทียบกับแล็บอื่นทั่วประเทศพันกว่าห้องแล็บแล้วเทียบประเมินบ่อยแค่ไหน ? ปีละ 3 ครั้ง สำหรับงาน โลหิตวิทยา งานธนาคารเลือด งานจุลทรรศนศาสตร์คลินิก จุลชีววิทยาคลิก แล้วผลการประเมินของห้องแล็บเราเป็นไงบ้าง ? ผ่านอยูในระดับที่ดี  อย่างนี้พอจะมีความเชื่อมันในผลแล็บของห้องแล็บ รพ. เราบ้างหรือยังครับ  แล้วในขั้นตอนนี้จะเกิดความผิดพลาดจากอะไรได้บ้าง ความผิดพลาดทีเกิดขึ้นแบ่งออกเป็น  Systemic error และ Human error ,Systemic error ได้แก่  เครื่องมือตรวจวิเคราะห์เกดทำงานผิดพลาดเชนมีก้อนclot ไปอุดตัน หรือ ดูด ฟองอากาศเข้าไป แต่เราจะสามารถตรวจสอบได้โดยที่ค่าทีวัดออกมาได้จะเป็นแนวทางเดียวกับคนไข้ทั้งหมด เช่น ค่า  HDL ต่าทุกราย  เป็นต้น ส่วน  Human error เกิดได้จากตัวบุคคลดูดปริมาณซีรัมน้อยหรือมากเกินไป เติมน้ำยาผิด  เป็นต้น  ยากแก่การตรวจสอบเพราะไมรู้ว่าผิดตรงรายไหน วิธีแกต้องอาศัยความย้ำคิดย้ำทำนิดหนึงและขึ้นอยูกับความละเอียดรอบคอบของผู้ตรวจด้วย

3. Post analytical การควบคุมคุณภาพหลังการตรวจวิเคราะห์ ซึงได้แก่การบันทึกผล และรายงานผลถือว่ามีความผิดพลาดน้อยมาก  ประมาณ 10 % ของความผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่มีความสำคัญมากทีสุด ถ้าขันตอนเก็บสิ่งส่งตรวจถูกต้อง ขั้นตอนตรวจวิเคราะห์ถูกต้อง แต่ลงผลผิด ถือว่าสิ่งที่ทำมาตั้งแต่ต้นผิดหมดเลย  แล้วถามว่าแล็บจะมีวิธีการป้องกันและแก้ไขอย่างไร  จนท.แล็บจะพยายาม recheck ผลแล็บก่อนรายงานผลถึงแพทย์ก่อนทุกครั้ง อย่างเช่น ผลแล็บ  HIV  ต้องใช้คนรายงานผล 2 คน คนหนึ่ง บันทึกและพิมพ์รายงาน อีกคนต้องตรวจสอบความถูกต้อง ทีจริงก็อยากทำให้ครอบคลุมถึงผลแล็บอื่น ๆ ด้วย แต่ถูกจำกดด้วยปริมาณงานที่มาก  แต่ก็จะพยายามให้ผิดพลาดน้อยทีสุดเพราะงานแล็บเป็นงานด้านคุณภาพไม่ใช่งานด้านปริมาณ ถ้ามีงานมากขึ้นเมื่อไหร่โอกาสผิดพลาดก็มีเพิ่มขึ้นด้วย

สำหรับหน่วยงานแล็บ จะลดข้อผิดพลาดให้มากทีสุดเพื่อให้ได้ผลการตรวจที่มีความน่าเชื่อถือ  ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น  ๆ  ที่เกี่ยวข้องด้วยครับ