Thaimedtechjob.com

TMTJ : NEWS => ข่าวเทคโนโลยี => ข้อความที่เริ่มโดย: webmaster ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2016, 08:21:11 am

หัวข้อ: หนทางใหม่ในการกักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์
เริ่มหัวข้อโดย: webmaster ที่ กุมภาพันธ์ 02, 2016, 08:21:11 am
คงจะดีหากมีวัสดุที่สามารถกักเก็บแสงแดดได้ในเวลากลางวันและปล่อยความร้อนในเวลากลางคืน.. พลังงานแสงอาทิตย์เป็นพลังงานจำนวนมหาศาลจากดวงอาทิตย์ที่ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามหาวิธีที่มีประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงานไว้เพื่อใช้ในช่วงเวลากลางคืน หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีเมฆมาก และขณะนี้ได้มีการพัฒนาวัสดุชิ้นใหม่ที่สามารถทำได้เช่นนั้นแล้ว

(http://www.vcharkarn.com/media/images/e7fd9d2ce93287bccd65f3ec6e7732ab.jpg)

กักเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีอยู่มากมายและปล่อยความร้อนออกมาได้ในเวลาที่เราต้องการ แผ่นฟิล์มโพลิเมอร์ที่พัฒนาโดยทีมนักวิจัยของ MIT สามารถนำมาใช้งานกับพื้นผิวของวัสดุอื่นๆ เช่น แก้วหรือเสื้อผ้าได้แล้ว ลองจินตนาการถึงเสื้อไหมพรมที่ให้ความอบอุ่นได้ดี หรือจะเป็นกระจกบังลมหน้ารถที่สามารถละลายน้ำแข็งได้ในวันที่หิมะตกก่อนที่จะเช้า “งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึงวิธีการที่น่าตื่นเต้นทั้งในเรื่องของการกักเก็บพลังงานและการเก็บพลังงานไว้ได้ในวัสดุชิ้นเดียว” Ted Sargent แห่งมหาวิทยาลัยโตรอนโต ซึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนี้ กล่าวกับ MIT News “มันเป็นวิธีการที่เป็นนวัตกรรมและโดดเด่น” หลายความคิดริเริ่มในการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์จะมุ่งเน้นไปที่การแปลงพลังงานไปในการผลิตไฟฟ้าและเก็บไว้ใช้ในภายหลัง แต่วิธีการนี้จะเป็นการจัดเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านปฏิกิริยาเคมีและปล่อยมันออกมาในภายหลัง นักวิจัยกล่าว งานวิจัยครั้งนี้อธิบายไว้ในวารสาร Advanced Energy Materials กุญแจสำคัญของกระบวนการคือ โมเลกุลมีความเสถียรในสองรูปแบบที่ต่างกัน เมื่อวัสดุสัมผัสกับแสงอาทิตย์ พลังงานจากแสงอาทิตย์จะเปลี่ยนโมเลกุลไปอยู่ในรูปของประจุและอยู่ในรูปนั้นได้ในระยะเวลานาน และเมื่อถูกกระตุ้นด้วยอุณหภูมิที่จำเพาะหรือการกระตุ้นอื่นๆ โมเลกุลดังกล่าวจะเปลี่ยนกลับเป็นรูปแบบเดิม และให้พลังงานความร้อนออกมา เชื้อเพลิงความร้อนจากแสงอาทิตย์ (solar thermal fuels: STF) เคยถูกพัฒนามาก่อนหน้านี้ แต่สำหรับวัสดุใหม่นี้เป็นวัสดุชิ้นแรกในรูปวัสดุที่อยู่ในฐานะของแข็ง (ในกรณนี้เป็นพอลิเมอร์) แทนที่จะเป็นของแหลว และสามารถสร้างความแตกต่างได้ในแง่ของวิธีการนำไปใช้งาน แต่นอกเหนือจากนี้ก็ต้องมีการคำนึงถึงวัสดุซึ่งควรอยู่บนพื้นฐานของราคาที่ไม่แพงและสามารถผลิตได้อย่างแพร่หลาย นักวิจัยกำลังพัฒนาในเรื่องของวิธีการและประสิทธิภาพที่สูงขึ้น โดยพวกเขาต้องการที่จะเพิ่มระดับความร้อนจาก 10 เป็น 20 องศาเซลเซียส ซึ่งอาจมีการนำไปใช้งานครั้งแรกในรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งสามารถทนต่ออากาศหนาวเย็นได้เนื่องจากมีพลังงานพิเศษที่ช่วยให้ความร้อน


ที่มา :   www.sciencealert.com/this-new-material-can-harvest-sunlight-by-day-and-release-heat-at-night
           http://news.mit.edu/2016/store-solar-heat-0107