ผู้เขียน หัวข้อ: สภาเทคนิคการแพทย์-ชมรมเทคนิคการแพทย์ชุมชุน ออกโรงค้านร่างกฎหมายคุมแล็บ  (อ่าน 1538 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
สภาเทคนิคการแพทย์-ชมรมเทคนิคการแพทย์ชุมชุน ออกโรงค้านร่างกฎหมายคุมแล็บ

ยื่นหนังสือถึงปลัด สธ. ให้พิจารณายุติการออกพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ.... และเสนอให้ปรับปรุงกลไกที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการเพื่อประโยชน์แก่สาธารณชน

เมื่อวานนี้ สภาเทคนิคการแพทย์ โดย ทนพญ.วรรณิกา มโนรมณ์ นายกสภาฯ ได้ทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุข คัดค้านการออกพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ.... ใน 4 ประเด็นคือ การกำหนดขอบเขตการบังคับใช้ไม่ชัดเจนว่าจะใช้บังคับแก่ห้องปฏิบัติการใดบ้าง ร่างมาตรา 3 ยังคลุมเครือว่าว่าจะไม่ใช้บังคับแก่ห้องปฏิบัติการใด โดยเฉพาะเทคนิคการแพทย์ที่มีกฎหมายวิชาชีพเป็นการเฉพาะอยู่แล้วจะต้องอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายนี้หรือไม่ กฎหมายนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกับกฎหมายสถานพยาบาลที่มีอยู่แล้ว และอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ เป็นเรื่องที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ในฐานะหน่วยงานทางวิชาการพึงกระทำอยู่แล้ว แต่ไม่มีมาตรการใดๆ ในกฎหมายนี้รองรับ สภาเทคนิคการแพทย์จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขพิจารณายุติการดพเนินการออกพระราชบัญญัติดังกล่าว และพิจารณาปรับปรุงกลไกที่มีอยู่เดิมให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมและพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ เพื่อประโยชน์แก่สาธารณชน

ขณะที่ชมรมเทคนิคการแพทย์ชุมชนแห่งประเทศไทย โดย ทนพ.นิทัศน์ น้อยจันอัด ประธานชมรมฯ ก็ได้ทำหนังสือถึงปลัดกระทรวงสาธารณสุขคัดค้านการออกพระราชบัญญัติดังกล่าวด้วยเช่นกัน โดยประเด็นหลักที่ชมรมฯ คัดค้านก็คือร่างมาตรา 4 ที่เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นที่มิได้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพสามารถประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ได้ ทั้งนี้ ชมรมฯ ได้เสนอให้มีการตัดข้อความ “ประกอบการชันสูตร การรักษา การควบคุม การป้องกันโรคในมนุษย์” ออกจากคำนิยามความหมายของ “ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข” และให้หมายความว่า “การตรวจวิเคราะห์วัตถุ หรือสิ่งของเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ หรือสิ่งส่งตรวจอื่นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศกำหนด แต่ไม่รวมถึงการตรวจวิเคราะห์สิ่งส่งตรวจจากร่างกายมนุษย์ ประกอบการชันสูตร การรักษา การควบคุม การป้องกันโรคในมนุษย์” และเห็นว่าควรปรับถ้อยคำในร่างมาตรา 3 ให้ชัดเจน ว่าไม่ใช้บังคับแก่ห้องปฏิบัติการที่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะนั้น เป็นห้องปฏิบัติการที่บัญญัติไว้ตามกฎหมายใด








------------------------------
ที่มา www.facebook.com/Medtechtoday