กรมวิทย์ฯ แจง ร่างกฎหมายคุมแล็บ ไม่ซ้ำซ้อนกับกฎหมายสถานพยาบาลและกฎหมายวิชาชีพเทคนิคการแพทย์
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แจงเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของทั้งห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และห้องปฏิบัติการด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐานอย่างทั่งถึงและเท่าเทียม ช่วยเติมเต็มในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานของห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ที่กฎหมายสถานพยาบาลไม่ได้กล่าวถึง ไม่มีความซ้ำซ้อนในส่วนของ “ผู้ประกอบการวิชาชีพ” ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๗
ตามที่ชมรมเทคนิคการแพทย์ชุมชนแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือถึงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรณีการยกร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ.... โดยเสนอแนะให้ตัดข้อความ “ประกอบการชันสูตร การรักษา การควบคุม การป้องกันโรคในมนุษย์” ออกจากนิยามความหมายของ “ห้องปฏิบัติการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข” และควรกำหนดถ้อยคำในมาตรา ๓ ให้ชัดเจนว่าเป็นห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ที่บัญญัติไว้ตามกฎหมายใด ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าร่าง พรบ.ดังกล่าว อาจกระทบต่อ พรบ.วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ตามข่าวที่เสนอไปก่อนหน้านี้ นั้น
ล่าสุด ทนพ.นิทัศน์ น้อยจันอัด ประธานชมรมเทคนิคการแพทย์ชุมชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ชมรมฯ ได้รับหนังสือตอบกลับจากอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงในประเด็นดังกล่าวว่า กรมฯ ได้ประชุมปรึกษาหารือกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกลุ่มกฎหมาย สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๗ โดยชี้แจงเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของทั้งห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และห้องปฏิบัติการด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐานอย่างทั่งถึงและเท่าเทียม และมีการพิจารณาสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ... พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๗ มีข้อสรุป คือ
๑.ร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ... มีขอบเขตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและมาตรฐานของห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และห้องปฏิบัติการด้านสาธารณสุข ซึ่งไม่มีความซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ ในส่วนของห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ และไม่มีความซ้ำซ้อนในส่วนของ “ผู้ประกอบการวิชาชีพ” ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒.ร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ... จะมีความเชื่อมโยงและช่วยเติมเต็มในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานของห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ ที่พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ ไม่ได้กล่าวไว้
นอกจากนี้ จากการประชาพิจารณ์เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้นำข้อเสนอแนะที่ได้รับมาปรับแก้ร่างพระราชบัญญัติฯ และจะนำเสนอกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สภาเทคนิคการแพทย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป

*****************************
ที่มา : https://www.facebook.com/Medtechtoday
อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แจงเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของทั้งห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และห้องปฏิบัติการด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐานอย่างทั่งถึงและเท่าเทียม ช่วยเติมเต็มในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานของห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ที่กฎหมายสถานพยาบาลไม่ได้กล่าวถึง ไม่มีความซ้ำซ้อนในส่วนของ “ผู้ประกอบการวิชาชีพ” ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๗
ตามที่ชมรมเทคนิคการแพทย์ชุมชนแห่งประเทศไทย ได้ยื่นหนังสือถึงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรณีการยกร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ.... โดยเสนอแนะให้ตัดข้อความ “ประกอบการชันสูตร การรักษา การควบคุม การป้องกันโรคในมนุษย์” ออกจากนิยามความหมายของ “ห้องปฏิบัติการทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข” และควรกำหนดถ้อยคำในมาตรา ๓ ให้ชัดเจนว่าเป็นห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ที่บัญญัติไว้ตามกฎหมายใด ทั้งนี้เนื่องจากเห็นว่าร่าง พรบ.ดังกล่าว อาจกระทบต่อ พรบ.วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ตามข่าวที่เสนอไปก่อนหน้านี้ นั้น
ล่าสุด ทนพ.นิทัศน์ น้อยจันอัด ประธานชมรมเทคนิคการแพทย์ชุมชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ชมรมฯ ได้รับหนังสือตอบกลับจากอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ชี้แจงในประเด็นดังกล่าวว่า กรมฯ ได้ประชุมปรึกษาหารือกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกลุ่มกฎหมาย สำนักบริหารกลาง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เมื่อวันที่ ๒๙ เมษายน ๒๕๕๗ โดยชี้แจงเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการของทั้งห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และห้องปฏิบัติการด้านสาธารณสุขที่มีคุณภาพและมาตรฐานอย่างทั่งถึงและเท่าเทียม และมีการพิจารณาสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ... พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ และพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๗ มีข้อสรุป คือ
๑.ร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ... มีขอบเขตในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพและมาตรฐานของห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และห้องปฏิบัติการด้านสาธารณสุข ซึ่งไม่มีความซ้ำซ้อนกับพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ ในส่วนของห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ และไม่มีความซ้ำซ้อนในส่วนของ “ผู้ประกอบการวิชาชีพ” ตามพระราชบัญญัติวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ พ.ศ. ๒๕๔๗
๒.ร่างพระราชบัญญัติห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข พ.ศ. ... จะมีความเชื่อมโยงและช่วยเติมเต็มในเรื่องของคุณภาพและมาตรฐานของห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์ ที่พระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. ๒๕๔๑ ไม่ได้กล่าวไว้
นอกจากนี้ จากการประชาพิจารณ์เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗ ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้นำข้อเสนอแนะที่ได้รับมาปรับแก้ร่างพระราชบัญญัติฯ และจะนำเสนอกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สภาเทคนิคการแพทย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป

*****************************
ที่มา : https://www.facebook.com/Medtechtoday