กระทรวงสาธารณสุขยกระดับห้องปฏิบัติการทุกระดับให้มีมาตรฐาน รองรับการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ
กระทรวงสาธารณสุขมอบกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เร่งพัฒนาห้องปฏิบัติการทุกระดับให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยมุ่งเน้น 3 เรื่องหลักได้แก่ ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขต้องได้รับการรับรองคุณภาพ 100 % พัฒนาห้องแลป DRA รองรับผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้ออันตรายสูง และการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพทางห้องปฏิบัติการ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานมอบใบรับรองระบบบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ รังสีวินิจฉัย และหน่วยบริกา รปฐมภูมิ ประจำปี 2558 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพ ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ในการยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน โดยเน้นประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และรังสีวินิจฉัย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการตรวจวินิจฉัย เพื่อนำผลมาใช้ประโยชน์ในการรักษา และควบคุมป้องกันโรคได้อย่างทันต่อสถานการณ์ เช่น การแพร่ระบาดโรคอีโบลาในแอฟริกา เป็นต้น ส่วนประเทศไทยนอกจากการเตรียมความพร้อมการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ แล้ว ยังต้องแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งแต่ละปีมีผู้ป่วยตายนับหมื่นรายเนื่องจากไม่มียาต้านจุลชีพที่ได้ผลดี กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพในวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก หรือ Global Health Security Agenda (GHSA) เป็นแผนงานที่นานาชาติร่วมมือกันเร่งพัฒนาความพร้อมตอบโต้ภัยสุขภาพจากโรคติดเชื้อทั้งจากธรรมชาติและที่มนุษย์ทำขึ้น โดยประเทศไทยอาสาเป็นประเทศผู้นำด้าน National Laboratory System และ Workforce Development ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เป็นเจ้าภาพเรื่อง National Laboratory System เนื่องจากการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการเป็นประเด็นหลัก และเป็นเรื่องที่ประเทศไทยสามารถอยู่แถวหน้าในระดับโลกได้ในฐานะ Best Practice ของกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
นพ.สมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเป็นองค์กรหลักด้านห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการพัฒนาเครือข่ายห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับการระบาดของโรคและสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมุ่งเน้นเรื่องสำคัญ 3 เรื่องได้แก่ ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจะต้องได้รับการรับรองคุณภาพ 100 % การเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคโดยให้โรงพยาบาลพัฒนา Designated Receiving Area หรือห้อง DRA ไว้รองรับผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้ออันตรายสูง ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และเรื่องสุดท้ายคือการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพทางห้องปฏิบัติการ
นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยได้มีการจัดทำมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข เกณฑ์การติดตาม และประเมินผลห้องปฏิบัติการ โดยแบ่งเป็น 3 มาตรฐาน ได้แก่ 1.มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 2.เกณฑ์และแนวทางการพัฒนางานรังสีวินิจฉัยโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2555 3.ระบบคุณภาพและมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิโดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)และศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง(ศสม.) พร้อมดำเนินการสร้างผู้ตรวจติดตามทุกจังหวัด การสร้างเครือข่ายตามเขตบริการสุขภาพ เพื่อดูแลช่วยเหลือในเครือข่าย เขต จังหวัด อำเภอ และตำบล ซึ่งจากการดำเนินงานในปี 2557 ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ได้รับการรับรองจำนวน 760 แห่ง (81.3%) จาก 934 แห่ง ห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัยได้รับการรับรองจำนวน 347 แห่ง (38.8%) จาก 895 แห่ง และหน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.สต.และ ศสม. ได้รับการรับรองจำนวน 2,680 แห่ง (26.6%) จากทั้งหมด 10,066 แห่ง สำหรับความพร้อมของโรงพยาบาลในการจัดตั้งห้องแลป DRA ที่ผ่านมาได้มีโรงพยาบาลที่จัดตั้งห้อง DRA แล้ว จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนครและล่าสุดที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายภายในปี จะต้องมีห้องแลป 2558DRA ครอบคลุมโรงพยาบาลจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ

*****************************
ที่มา : http://www.dmsc.moph.go.th/dmsc/home.php
กระทรวงสาธารณสุขมอบกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เร่งพัฒนาห้องปฏิบัติการทุกระดับให้มีคุณภาพและมาตรฐาน โดยมุ่งเน้น 3 เรื่องหลักได้แก่ ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุขต้องได้รับการรับรองคุณภาพ 100 % พัฒนาห้องแลป DRA รองรับผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้ออันตรายสูง และการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพทางห้องปฏิบัติการ เพื่อรองรับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนทุกคนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมกัน
นายแพทย์สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภายหลังเป็นประธานมอบใบรับรองระบบบริหารคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ รังสีวินิจฉัย และหน่วยบริกา รปฐมภูมิ ประจำปี 2558 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ กรุงเทพ ว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ในการยกระดับคุณภาพบริการด้านสาธารณสุข และสุขภาพของประชาชน โดยเน้นประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และรังสีวินิจฉัย ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการตรวจวินิจฉัย เพื่อนำผลมาใช้ประโยชน์ในการรักษา และควบคุมป้องกันโรคได้อย่างทันต่อสถานการณ์ เช่น การแพร่ระบาดโรคอีโบลาในแอฟริกา เป็นต้น ส่วนประเทศไทยนอกจากการเตรียมความพร้อมการแพร่ระบาดของโรคต่างๆ แล้ว ยังต้องแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ ซึ่งแต่ละปีมีผู้ป่วยตายนับหมื่นรายเนื่องจากไม่มียาต้านจุลชีพที่ได้ผลดี กระทรวงสาธารณสุขได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพในวาระความมั่นคงด้านสุขภาพโลก หรือ Global Health Security Agenda (GHSA) เป็นแผนงานที่นานาชาติร่วมมือกันเร่งพัฒนาความพร้อมตอบโต้ภัยสุขภาพจากโรคติดเชื้อทั้งจากธรรมชาติและที่มนุษย์ทำขึ้น โดยประเทศไทยอาสาเป็นประเทศผู้นำด้าน National Laboratory System และ Workforce Development ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้เป็นเจ้าภาพเรื่อง National Laboratory System เนื่องจากการพัฒนาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการเป็นประเด็นหลัก และเป็นเรื่องที่ประเทศไทยสามารถอยู่แถวหน้าในระดับโลกได้ในฐานะ Best Practice ของกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลาง
นพ.สมศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบหมายกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งเป็นองค์กรหลักด้านห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการพัฒนาเครือข่ายห้องปฏิบัติการเพื่อรองรับการระบาดของโรคและสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมุ่งเน้นเรื่องสำคัญ 3 เรื่องได้แก่ ห้องปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขจะต้องได้รับการรับรองคุณภาพ 100 % การเตรียมความพร้อมรับการระบาดของโรคโดยให้โรงพยาบาลพัฒนา Designated Receiving Area หรือห้อง DRA ไว้รองรับผู้เสี่ยงต่อการติดเชื้ออันตรายสูง ให้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ และเรื่องสุดท้ายคือการพัฒนาระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพทางห้องปฏิบัติการ
นายแพทย์อภิชัย มงคล อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยได้มีการจัดทำมาตรฐานกระทรวงสาธารณสุข เกณฑ์การติดตาม และประเมินผลห้องปฏิบัติการ โดยแบ่งเป็น 3 มาตรฐาน ได้แก่ 1.มาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 2.เกณฑ์และแนวทางการพัฒนางานรังสีวินิจฉัยโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ.2555 3.ระบบคุณภาพและมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการปฐมภูมิโดยเฉพาะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)และศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง(ศสม.) พร้อมดำเนินการสร้างผู้ตรวจติดตามทุกจังหวัด การสร้างเครือข่ายตามเขตบริการสุขภาพ เพื่อดูแลช่วยเหลือในเครือข่าย เขต จังหวัด อำเภอ และตำบล ซึ่งจากการดำเนินงานในปี 2557 ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ได้รับการรับรองจำนวน 760 แห่ง (81.3%) จาก 934 แห่ง ห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัยได้รับการรับรองจำนวน 347 แห่ง (38.8%) จาก 895 แห่ง และหน่วยบริการปฐมภูมิ รพ.สต.และ ศสม. ได้รับการรับรองจำนวน 2,680 แห่ง (26.6%) จากทั้งหมด 10,066 แห่ง สำหรับความพร้อมของโรงพยาบาลในการจัดตั้งห้องแลป DRA ที่ผ่านมาได้มีโรงพยาบาลที่จัดตั้งห้อง DRA แล้ว จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย โรงพยาบาลสกลนคร จังหวัดสกลนครและล่าสุดที่โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต โดยกระทรวงสาธารณสุขมีเป้าหมายภายในปี จะต้องมีห้องแลป 2558DRA ครอบคลุมโรงพยาบาลจังหวัดทั้ง 77 จังหวัดทั่วประเทศ

*****************************
ที่มา : http://www.dmsc.moph.go.th/dmsc/home.php