คณะเทคนิคการแพทย์จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง
ชีวสารสนเทศเบื้องต้นสำหรับงานด้านจุลชีววิทยา (Workshop on Basic Bioinformatics for Microbiologist)
ระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤษภาคม 2557 ณ คณะเทคนิคการแพทย์ ชั้น 3 ห้อง MT307

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันเทคโนโลยีชีวสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญในการศึกษาวิจัยในแง่ ต่างๆ อาทิ เช่น การศึกษาจีโนมมิกส์ โปรตีโอมิกส์ ทรานส์คริปโตมิกส์ เป็นต้น ในแง่การศึกษาวิจัยจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคเทคโนโลยีชีวสารสนเทศถูกนำมา ประยุกต์เพื่อศึกษาทั้งในระดับอณูชีววิทยาและระบาดวิทยาระดับโมเลกุลของโรค ติดเชื้อ ก่อให้เกิดข้อมูลทางอณูชีววิทยาที่เป็นประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันโรค ระบาดต่างๆ ประเทศไทยเป็นแหล่งระบาดของเชื้อก่อโรคที่สำคัญหลายชนิด เช่น เชื้อ Mycobacterium tuberculosis, Burkholderia pseudomallei เป็นต้น
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลากรทั้งในด้านการแพทย์สาธารณสุข รวมถึง นักศึกษา นักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี ชีวสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อนำไปสู่การได้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์แก่การควบ คุมโรคติดเชื้อในประเทศไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อ ให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้และประสบการณ์ที่ทันสมัยในด้านเทคโนโลยีชีวสารส นเทศและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัย โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคทั้งในระดับอณูชีววิทยาและ ระบาดวิทยาระดับโมเลกุล
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการและวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้และเข้าใจหลักการของเทคโนโลยีชีวสารสนเทศศาสตร์
เพื่อ ให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวสารสนเทศไปใช้สืบค้น ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับยีน และโปรตีน ซึ่งเป็นพื้นฐานนำไปสู่งานวิจัยประยุกต์ต่อไป
ค่าลงทะเบียน
สำหรับ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เป็นจำนวนเงิน 700 บาท
สำหรับ นักวิจัย และบุคลากรทางการแพทย์ เป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท
ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.medtech.psu.ac.th/th/news/28
ชีวสารสนเทศเบื้องต้นสำหรับงานด้านจุลชีววิทยา (Workshop on Basic Bioinformatics for Microbiologist)
ระหว่างวันที่ 19 – 20 พฤษภาคม 2557 ณ คณะเทคนิคการแพทย์ ชั้น 3 ห้อง MT307

หลักการและเหตุผล
ในปัจจุบันเทคโนโลยีชีวสารสนเทศเข้ามามีบทบาทสำคัญในการศึกษาวิจัยในแง่ ต่างๆ อาทิ เช่น การศึกษาจีโนมมิกส์ โปรตีโอมิกส์ ทรานส์คริปโตมิกส์ เป็นต้น ในแง่การศึกษาวิจัยจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคเทคโนโลยีชีวสารสนเทศถูกนำมา ประยุกต์เพื่อศึกษาทั้งในระดับอณูชีววิทยาและระบาดวิทยาระดับโมเลกุลของโรค ติดเชื้อ ก่อให้เกิดข้อมูลทางอณูชีววิทยาที่เป็นประโยชน์ในการควบคุมและป้องกันโรค ระบาดต่างๆ ประเทศไทยเป็นแหล่งระบาดของเชื้อก่อโรคที่สำคัญหลายชนิด เช่น เชื้อ Mycobacterium tuberculosis, Burkholderia pseudomallei เป็นต้น
ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่บุคลากรทั้งในด้านการแพทย์สาธารณสุข รวมถึง นักศึกษา นักวิจัยและผู้ที่เกี่ยวข้องควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการนำเทคโนโลยี ชีวสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เพื่อนำไปสู่การได้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์แก่การควบ คุมโรคติดเชื้อในประเทศไทย
วัตถุประสงค์
เพื่อ ให้ผู้เข้าอบรมได้มีความรู้และประสบการณ์ที่ทันสมัยในด้านเทคโนโลยีชีวสารส นเทศและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานวิจัย โดยเฉพาะการศึกษาวิจัยจุลชีพที่ก่อให้เกิดโรคทั้งในระดับอณูชีววิทยาและ ระบาดวิทยาระดับโมเลกุล
เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดประสบการณ์ระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการและวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเรียนรู้และเข้าใจหลักการของเทคโนโลยีชีวสารสนเทศศาสตร์
เพื่อ ให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวสารสนเทศไปใช้สืบค้น ตลอดจนวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับยีน และโปรตีน ซึ่งเป็นพื้นฐานนำไปสู่งานวิจัยประยุกต์ต่อไป
ค่าลงทะเบียน
สำหรับ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เป็นจำนวนเงิน 700 บาท
สำหรับ นักวิจัย และบุคลากรทางการแพทย์ เป็นจำนวนเงิน 1,500 บาท
ติดตามรายละเอียดได้ที่ http://www.medtech.psu.ac.th/th/news/28