กรมควบคุมโรค เตือนประชาชนระวัง "โรคอุจจาระร่วง" ภัยร้ายจากน้ำท่วม หลังพบผู้ป่วยปีนี้กว่า 6.5 แสนราย
วันนี้ (17 สิงหาคม 2558) นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนนี้หลายๆ พื้นที่ของประเทศกำลังมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง บางพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขัง ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนลำบากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการขับถ่ายอุจจาระที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้ ซึ่งโรคอุจจาระร่วงนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับประชาชนทุกวัยและพบได้บ่อยทุกปี จากรายงานการเฝ้าระวังโรคสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-10 ส.ค. 2558 พบผู้ป่วยทั่วประเทศ จำนวน 651,945 ราย เสียชีวิต 7 ราย โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ อายุมากกว่า 65 ปี(12.54 %) รองลงมาคือ 15-24 ปี(11.29 %) และกลุ่มอายุ 25-34 ปี(10.53 %) ตามลำดับ ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ส่วนจังหวัดที่มีผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกคือ แม่ฮ่องสอน ฉะเชิงเทรา ภูเก็ต เชียงราย และปราจีนบุรี
นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า สาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเกิดได้ทั้งจาก เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส โปรโตซัวปรสิต หนอนพยาธิ และเชื้อไวรัสโรต้า โดยเชื้อจะปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม จากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อที่ออกมากับอุจจาระของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้ง/วัน หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ มีไข้สูง สำหรับการดูแลผู้ที่ป่วยโรคอุจจาระร่วง กรณีที่เป็นเด็ก ขอให้เด็กกินอาหารเหลวบ่อยๆ หากเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ ขอให้กินอาหารตามปกติ แต่ควรเป็นอาหารอ่อนและย่อยง่าย ที่สำคัญควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น และถ้าอาการไม่ดีขึ้นขอให้ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน
ส่วนการป้องกันโรคอุจจาระร่วง สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยของตนเอง โดยขอให้ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ดังนี้ 1.กินสุกร้อน โดยกินอาหารที่ปรุงสุกและปรุงเสร็จใหม่ๆ หากเป็นอาหารค้างมื้อให้อุ่นให้ร้อนหรือเดือดก่อน 2.ใช้ช้อนกลาง ตักอาหารขณะกินอาหารร่วมกับผู้อื่น และ 3.ล้างมือด้วยสบู่และน้ำทุกครั้งก่อนกินอาหารและภายหลังจากการเข้าห้องน้ำ รวมถึงก่อนเตรียมนมให้เด็กทุกครั้ง ที่สำคัญประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังในการกินอาหารและดื่มน้ำให้มากขึ้น รวมถึงการถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
******************************************
ที่มา : http://www.moph.go.th/index.php
วันนี้ (17 สิงหาคม 2558) นายแพทย์โสภณ เมฆธน อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ในช่วงฤดูฝนนี้หลายๆ พื้นที่ของประเทศกำลังมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง บางพื้นที่ยังมีน้ำท่วมขัง ทำให้การใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนลำบากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการขับถ่ายอุจจาระที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคอุจจาระร่วงได้ ซึ่งโรคอุจจาระร่วงนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับประชาชนทุกวัยและพบได้บ่อยทุกปี จากรายงานการเฝ้าระวังโรคสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-10 ส.ค. 2558 พบผู้ป่วยทั่วประเทศ จำนวน 651,945 ราย เสียชีวิต 7 ราย โดยกลุ่มอายุที่พบมากที่สุด คือ อายุมากกว่า 65 ปี(12.54 %) รองลงมาคือ 15-24 ปี(11.29 %) และกลุ่มอายุ 25-34 ปี(10.53 %) ตามลำดับ ภาคที่มีอัตราป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ส่วนจังหวัดที่มีผู้ป่วยสูงสุด 5 อันดับแรกคือ แม่ฮ่องสอน ฉะเชิงเทรา ภูเก็ต เชียงราย และปราจีนบุรี
นายแพทย์โสภณ กล่าวต่อว่า สาเหตุของโรคอุจจาระร่วงเกิดได้ทั้งจาก เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส โปรโตซัวปรสิต หนอนพยาธิ และเชื้อไวรัสโรต้า โดยเชื้อจะปนเปื้อนในอาหารและน้ำดื่ม จากการกินอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อที่ออกมากับอุจจาระของผู้ป่วย โดยผู้ป่วยจะมีอาการถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้ง/วัน หรือมากกว่า หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้ กระหายน้ำมากกว่าปกติ มีไข้สูง สำหรับการดูแลผู้ที่ป่วยโรคอุจจาระร่วง กรณีที่เป็นเด็ก ขอให้เด็กกินอาหารเหลวบ่อยๆ หากเป็นกลุ่มประชาชนทั่วไปและผู้สูงอายุ ขอให้กินอาหารตามปกติ แต่ควรเป็นอาหารอ่อนและย่อยง่าย ที่สำคัญควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่ (โอ อาร์ เอส) เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น และถ้าอาการไม่ดีขึ้นขอให้ไปพบแพทย์หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน
ส่วนการป้องกันโรคอุจจาระร่วง สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลสุขอนามัยของตนเอง โดยขอให้ยึดหลัก “กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ” ดังนี้ 1.กินสุกร้อน โดยกินอาหารที่ปรุงสุกและปรุงเสร็จใหม่ๆ หากเป็นอาหารค้างมื้อให้อุ่นให้ร้อนหรือเดือดก่อน 2.ใช้ช้อนกลาง ตักอาหารขณะกินอาหารร่วมกับผู้อื่น และ 3.ล้างมือด้วยสบู่และน้ำทุกครั้งก่อนกินอาหารและภายหลังจากการเข้าห้องน้ำ รวมถึงก่อนเตรียมนมให้เด็กทุกครั้ง ที่สำคัญประชาชนควรเพิ่มความระมัดระวังในการกินอาหารและดื่มน้ำให้มากขึ้น รวมถึงการถ่ายอุจจาระในส้วมที่ถูกสุขลักษณะทุกครั้ง เพื่อป้องกันการแพร่กระจายโรค ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร 1422
******************************************
ที่มา : http://www.moph.go.th/index.php