ผู้เขียน หัวข้อ: การวิจัยชี้ เราสามารถได้ยินเสียงความถี่สูงที่คนไม่สามารถได้ยินได้  (อ่าน 457 ครั้ง)

ออฟไลน์ bigpoint

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 854
การวิจัยชิ้นใหม่แนะนำว่า เราเพียงแค่ทำให้กระดูกในหูสั่น ก็จะเป็นทางลัดของเสียงไปสู่สมอง ซึ่งทำให้เราสามารถได้ยินเสียงได้ดีขึ้น

Michael Qin นักวิจัยอาวุโสแ่ห่งห้องปฏิบัติการการวิจัยการแพทย์ใต้น้ำของกองทัพเรือ อธิบายว่า คนเราสามารถได้บินเสียงอยู่ในช่วงความถี่ 20 Hz ถึง 20 KHz หรือ 20,000 Hz เสียงที่มีความถี่ 20 KHz เสียงจะเหมือนยุงบิน แต่เสียงความถี่ 20 Hz จะเป็นเสียงเหมือนเวลาที่คุณไปฟังคอนเสิร์ต จะเป็นเสียงเบส

Qin ทำการทดลองพบว่า ในบางสถานการณ์คนเราก็สามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่อยู่นอกช่วงปกตินี้ อย่างเช่นนักดำน้ำสามารถได้ยินเสียงที่ความถี่ 100 KHz ได้ ซึ่งคนปกติได้ยินที่ความถี่สูงสุดเพียง 20 KHz เท่านั้น ซึ่งเหตุผลที่นักดำน้ำสามารถได้ยินเสียงที่ความถี่มากๆ ไ้ด้นั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่คาดว่าอาจเป็นเพราะเสียงเดินทางผ่านกระดูกไปยังสมองโดยตรง

โดยปกติเราจะได้ยินเสียงเมื่อเสียงเดินทางผ่านอากาศแล้วเข้าสู่รูหู และชนเข้ากับแก้วหูจนถึงกระดูกหูของเรา และทำให้กระดูกหูสั่น กระดูกหูของคนเรามีอยู่สามชิ้นซึ่งอยู่ชิดกันคือ กระดูกรูปค้อน (malleus) กระดูกรูปทั่ง (incus) และกระดูกโกลน (stapes) เมื่อเสียงทำให้กระดูกหูทั้งสามชิ้นสั่นแล้ว กระดูกโกลนก็จะส่งแรงดันดันโครงสร้างที่มีของเหลวหรือคอเคลีย (cochlea) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายหอยทากขนาดเล็กๆ ทำหน้าที่แปลคลื่นความดันจากกระดูกหูในหูชั้นกลาง ในรูปของคลื่นในของเหลวไปเป็นสัญญาณประสาทไปสู่สมองเพื่อแปลเป็นเสียงต่อไป

ถ้าคุณคิดว่าการเดินทางของเสียงกว่าจะเข้าสู่หูจนกระทั่งแปลความหมายออกมานั้นเป็นกระบวนการที่ยาวนานซับซ้อน เราก็สามารถทำให้เสียงผ่านกระดูกหรือการได้ยินใต้น้ำก็จะสามารถลดกระบวนการข้างต้นได้

Qin กล่าวว่า “การที่เสียงเดินทางผ่านกระดูกนั้นต้องเป็นเสียงที่มีความถี่สูงมาก จนไปทำให้กระดูกหูสั่นโดยตรงโดยไม่ต้องผ่านแก้วหู ซึ่งเป็นวิธีที่วาฬบางชนิดสามารถได้ยินได้ด้วยวิธีนี้”

“งานหลักในการวิจัยของเราคือพยายามเข้าใจหลักการของการได้ยินใต้น้ำและการได้ยินผ่านกระดูก และดูว่าการได้ยินวิธีพิเศษทั้งสองอย่างนี้มีหลักการเหมือนกันหรือไม่ แต่อาจจะเป็นผลมาจากการที่เสียงอัลตราโซนิกไปกระตุ้นของเหลวในคอเคลียก็เป็นได้

อย่างไรก็ตาม Qin และคณะกำลังศึกษาว่าทำไมกระดูกส่วนใหญ่มักจะมีความไวต่อการสั่นสะเทือนของเสียงอัลตราโซนิก การวิจัยนี้อาจพัฒนาไปสู่การสร้างอุปกรณ์ที่ทำให้เราสามารถได้ยินเสียงที่คนเราไม่สามารถได้ยินได้ หรือใช้พัฒนาเครื่องช่วยฟังให้ดีขึ้นได้

 

ข้อมูลจาก : National Geographic