ผู้เขียน หัวข้อ: รู้จัก โพลาร์ วอร์เท็กซ์ ต้นเหตุมะกันหนาวเยือกสุดในรอบ 20 ปี  (อ่าน 1661 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์


50 รัฐในสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ภาคตะวันตกกลาง (มิดเวสต์) ไปจนถึงภาคตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังได้รับผลกระทบอย่างจาก การบิดเบี้ยวของลมวนขั้วโลก หรือ โพลาร์ วอร์เท็กซ์ (polar vortex) ซึ่งทำให้มวลอากาศเย็นจากขั้วโลกเหนือ ไหลลงมาทางตอนใต้มากกว่าปกติ จนอุณหภูมิในสหรัฐฯดิ่งต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง... 
แล้วโพลาร์ วอร์เท็กซ์ คืออะไร? เป็นคำถามที่หลายคนสงสัย โดยแบรนดอน มิลเลอร์ นักอุตุนิยมวิทยาอาวุโสของสำนักข่าว ซีเอ็นเอ็น ให้คำตอบเอาไว้ว่า โพลาร์ วอร์เท็กซ์ คือ กระแสลมกรด (jet stream) หมุนวนทวนเข็มนาฬิกาขนาดใหญ่ อยู่ในชั้นบรรยากาศ (ชั้นโทรโปสเฟียร์) ซึ่งปกติจะโอบล้อมขั้วโลกเหนือเอาไว้ ทำหน้าที่กักมวลอากาศเย็นให้อยู่แต่ในซีกโลกเหนือเท่านั้น แต่เนื่องจากมันไม่ได้เป็นพายุเพียงลูกเดียว จึงมีโอกาสที่มันจะบิดเบี้ยว และเคลื่อนต่ำลงมาทางใต้มากกว่าปกติ ส่งผลให้มวลอากาศเย็นทะลักมาทางใต้ได้


 (ภาพจาก wikipedia) สีฟ้าคือมวลอากาศเย็น สีชมพูคือ กระแสลมกรด และสีส้มคือมวลอากาศที่อบอุ่นกว่า
 
ส่วนความถี่ที่ โพลาร์ วอร์เท็กซ์จะเกิดการบิดเบี้ยว มิลเลอร์ระบุว่า เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงความหนาแน่นของลมที่พัดสูงอยู่ในชั้นบรรยากาศ (upper-level winds) ที่เป็นตัวสร้างโพลาร์ วอร์เท็กซ์ ขึ้นมา โดยการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นเป็นระยะๆ เมื่อลมดังกล่าวสูญเสียความหนาแน่นมากๆ ก็จะทำให้โพลาร์ วอร์เท็กซ์เกิดการบิดเบี้ยว และส่งผลให้กระแสลมกรด เคลื่อนตัวลึกลงไปทางใต้ สิ่งนี้เรียกว่า ความผันแปรขั้วโลกเหนือ (Arctic Oscillation) ซึ่งนำไปสู่การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของมวลอากาศเย็นในหนึ่ง หรือหลายภูมิภาคบนโลก
มิลเลอร์ กล่าวด้วยว่า การบิดเบี้ยวของโพลาร์ วอร์เท็กซ์ สามารถทำให้เกิดการแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของมวลอากาศเย็น ในพื้นที่ใดก็ใดของซีกโลกเหนือ ทั้งอเมริกาเหนือ, ยุโรป และเอเชีย หรืออาจจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันหลายจุดก็ได้ แม้จะไม่บ่อยก็นัก แต่ปรากฏการณ์นี้สามารถเกิดได้หลายครั้งในแต่ละปี ในภูมิภาคต่างกันและมีความรุนแรงไม่เท่ากัน เช่นเมื่อเดือนมี.ค. 2013 ทวีปยุโรปเผชิญภาวะอุณหภูมิลดต่ำลงจากผลของโพลาร์ วอร์เท็กซ์ ทำให้การกลายเป็นเดือนมี.ค.ที่หนาวเย็นที่สุดในรอบ 50 ปี


 
ทั้งนี้ ผลกระทบจากภาวะโลกร้อนอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้บ่อยขึ้น โดยมิลเลอร์กล่าวว่า หัวข้อนี้กำลังเป็นประเด็นร้อนในแวดวงวิทยาศาสตร์  ซึ่งในระยะสั้นแล้ว มันเป็นไปได้ แม้จะมีเสียงแสดงความไม่เห็นด้วย แต่ผลการวิจัยบางชิ้นระบุว่าเรื่องนี้เป็นไปได้ ทุกวันนี้เรารู้จักสภาพาอากาศสุดขั้วหลายรูปแบบที่สามารถได้รับผลกระทบจากค่าเฉลี่ยความอบอุ่นของโลก เช่นการละลายของน้ำแข็งขั้วโลก รวมถึงการบิดเบี้ยวอย่างรุนแรงของกระแสลมกรด ซึ่งจะทำให้เกิดคลื่นความร้อนรุนแรงในหน้าร้อน และเกิดอากาศเย็นจัดในหน้าหนาว
 

 




   ที่มา :  www.thairath.co.th