ผู้เขียน หัวข้อ: ว้าว! ดวงจันทร์ “หยิน-หยาง” บริวารดาวเสาร์  (อ่าน 1635 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์


ภาพดวงจันทร์ไออาพิตัสของดาวเสาร์ ในมุมมแสงตกกระทบเป็นรูปหยินหยางพอดี (นาซา)

       ภาพใหม่จากยานแคสสินีเผยดวงจันทร์บริวารดาวเสาร์ ในมุมแสงตกกระทบเป็นรูปหยิน-หยางพอดี
       
       ระหว่างสำรวจและบันทึกภาพดาวเสาร์พร้อมบริวาร ยานแคสสินี (Cassini) ขององค์การบริหารการบินอวกาศสหรัฐฯ (นาซา) ได้บันทึกภาพหนึ่งในดวงจันทร์บริวารขณะแสงตกกระทบพื้นผิวเป็นรูปหยินหยางพอดี
       
       สเปซด็อทคอมเผยว่าภาพดังกล่าวเป็นภาพดวงจันไออาพิตัส (Iapetus) บริวารดาวเสาร์ ที่บันทึกด้วยกล้องมุมแคบของยานอวกาศ ในย่านแสงที่ตามองเห็น ตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค.2013 ที่ผ่านมา แต่นาซาเพิ่งนำออกมาเผยแพร่เมื่อเร็วๆ นี้
       
       นักวิทยาศาสตร์บางส่วนเชื่อว่า การที่ดวงจันทร์เผยให้เห็นความแตกต่างระหว่างด้านมืดและด้านสว่างอย่างชัดเจนนั้น เป็นเพราะดวงจันทร์หมึนรอบตัวเองช้า ทำให้ด้านมืดดูดซับความร้อนได้มากและมีเวลาพอให้ร้อนขึ้น เมื่อสัมผัสวัตถุที่เป็นน้ำแข็งจึงทำให้กลายเป็นก๊าซ แล้วตกลงบริเวณที่เย็นกว่า ด้านมืดจึงยิ่งมืด ส่วนด้านสว่างยิ่งสว่างขึ้น
       
       สำหรับดวงจันทร์ไออาพิตัสนั้นถูกพบโดย จิโอวานนี แคสสินี (Giovanni Cassini) นักดาราศาสตร์ชาวอิตาลี เมื่อปี 1672
       
       ดวงจันทร์ดังกล่าวมีรูปร่างแปลกคล้ายผลวอลนัต และมีแนวสันขนาดมหึมาพาดผ่านบริเวณเส้นศูนย์สูตร ซึ่งคาดว่า น่าจะเกิดจากการพุ่งชนอย่างแรงในอดีตเมื่อ 4.5 พันล้านปีก่อน ทำให้ดวงจันทร์หยุดพัฒนาต่อไปเป็นดาวเคราะห์ในช่วงเวลานั้น และเศษชิ้นส่วนก็รวมกันอีกกลายเป็นดวงจันทร์ดวงใหม่โคจรรอบไออาพิตัส แต่แรงโน้มถ่วงของไออาพิตัสก็ทำดวงจันทร์แตกสลายและตกลงมาเป็นแนวสันที่เห็นเด่นชัด หรือเป็นไปได้ว่าระหว่างกำเนิด ดวงจันทร์หมุนเร็วมากกว่าตอนนี้แล้วทำให้เกิดแนวสันขึ้น
       
       สำหรับยานแคสสินีนั้นถูกส่งขึ้นไปเมื่อปี 1997 และเดินไปถึงและโคจรรอบดาวเสาร์ เมื่อปี 2004 และคาดว่าจะศึกษาดาวเสาร์และดวงจันทร์บริวารไปถึงปี 2017 จากนั้นยานจะเผาไหม้ตัวเองในชั้นบรรยากาศดาวเสาร์