ผู้เขียน หัวข้อ: เทคนิคการแพทย์ชี้ อสม.ตรวจเบาหวานยังน่าห่วงเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัย  (อ่าน 2038 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
เทคนิคการแพทย์ชี้ อสม.ตรวจเบาหวานยังน่าห่วงเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัย


เทคนิคการแพทย์จากหลายโรงพยาบาล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การฝึกอบรมพัฒนามาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) เรื่อง การเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้วเพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน ระบุยังน่าเป็นห่วงเรื่องมาตรฐานและความปลอดภัย เนื่องจากความแตกต่างทางด้านคุณวุฒิ วัยวุฒิ ทำให้การรับรู้และเข้าใจต่างกัน รวมทั้งเครื่องมือมีความหลากหลาย ชี้การฝึกอบรมต้องมีเวลาเพียงพอ และประเมินผลอย่างเข้มงวดเป็นรายบุคคล

วารสารเทคนิคการแพทย์ เชียงใหม่ ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม 2557 ได้ตีพิมพ์บทความเรื่อง “แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์การฝึกอบรมพัฒนามาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เรื่อง การเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้วเพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โดยใช้เครื่องตรวจนํ้าตาลในเลือดชนิดพกพา” ของ ทนพ.นิทัศน์ น้อยจันอัด นักเทคนิคการแพทย์ ชำนาญการ โรงพยาบาลหนองหาน จ.อุดรธานี มีเนื้อหาน่าสนใจ “เมดเทคทูเดย์” จึงขออนุญาต นำมาเสนอให้ทราบ
--------------------------------------------------------------------------------------------

บทนำ

เพื่อตอบสนองนโยบายการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร่วมกับแพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ ได้จัดทำหลักสูตรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมูบ้าน (อสม.) เรื่อง “การเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้วเพื่อคัดกรองโรคเบาหวานโดยใช้เครื่องตรวจนํ้าตาลในเลือดชนิดพกพา” เพื่อให้ อสม. ที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร และเมื่อได้รับมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพภายใต้การควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย ์ หรือผูป้ ระกอบวิชาชีพเวชกรรมแล้ว จะสามารถเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้ว เพื่อตรวจระดับนํ้าตาลในเลือดได้ ตามหลักสูตรและตามระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวง ทบวง กรม เทศบาล องค์การบริหารส่วนจังหวัด องค์การบริหารส่วนตำบล กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มอบหมายให้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๖และระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยบุคคลซึ่งกระทรวงทบวง กรม กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาลองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอื่นมอบหมายให้ประกอบวิชาชีพในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๕๕๖

ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ จึงจัดทำโครงการฝึกอบรมพัฒนามาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เรื่อง “การเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้วเพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โดยใช้เครื่องตรวจนํ้าตาลในเลือดชนิดพกพาขึ้น” เพื่อดำเนินการขับเคลื่อนงานตามนโยบายและตามกฎหมายให้บรรลุวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุน ให้ อสม. เข้ามามีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ดูแลสุขภาพของประชาชน โดยคัดกรองโรคเบาหวานได้อย่างมีคุณภาพมาตรฐานตามหลักวิชาชีพ

ในการนี้มีนักเทคนิคการแพทย์ ในโรงพยาบาลระดับต่างๆ สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้ผ่านการอบรมหลักสูตรวิทยากรฝึกอบรมมาตรฐานอาสาสมัครสาธารณสุข เรื่อง “การเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้วเพื่อตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน” (ครู ก.) ซึ่งรับผิดชอบหลักสูตรโดยกระทรวงสาธารณสุข แพทยสภา สภาเทคนิคการแพทย์ และนักเทคนิคการแพทย์ (ครู ข.) ที่ได้รับการอบรมจากครู ก. ได้ดำเนินการฝึกอบรมอสม. มีข้อคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ ซึ่งสามารถรวบรวมได้ดังนี้

ทนพ. พงษ์ศักดิ์ บุญละเอียด โรงพยาบาลหนองจิก จ. ปัตตานี ให้ข้อคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ว่า อสม. มีพื้นฐานความรู้ที่หลากหลาย ตั้งแต่ระดับประถมต้นถึงอนุปริญญา ศักยภาพในการเรียนรู้ จดจำและเชื่อมโยงความรู้ทักษะ ที่จะนำไปสู่การปฏิบัติงานตามประเด็นเงื่อนไขมีความแตกต่างกันในคุณภาพของงาน รวมถึงความสามารถในการรับรู้ สื่อสาร รับสาร และถ่ายทอดข้อมูลมีความแตกต่างกันโดยเฉพาะ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ อสม. มากกว่าร้อยละ 80 เป็นชาวไทยมุสลิม ทักษะในการสื่อสารไม่ดีนัก ความสามารถในการใช้เครื่องมือที่เป็นเทคโนโลยีรุ่นใหม่ที่มีขนาดเล็ก รวมทั้งความรู้ภาษาอังกฤษไม่เพียงพอ อาจทำให้การถ่ายทอดข้อมูลไม่สมบูรณ์ จากการสังเกตส่วนใหญ่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี จะสามารถเรียนรู้ได้ดีกว่า นอกจากนี้ความตระหนัก และการให้ความสำคัญต่อกระบวนการตรวจวิเคราะห์ การเตรียมประชาชนกลุ่มเป้า้หมาย การเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้ว การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ การรายงานผลการตรวจวิเคราะห์อยู่ใ่ นระดับที่ยังน่า่เป็นห่วง การบำรุงรักษาเครื่องมือชุดตรวจและการควบคุมคุณภาพ รวมถึงการแก้ปัญหาความไม่พร้อมของเครื่องมือ การเสื่อมสภาพของชุดตรวจ ยังขาดการประเมินผลในระยะยาว ขอเสนอแนะให้มีการประเมินความพร้อมของ อสม. ก่อนเข้า้รับการอบรมเป็นผู้ตรวจคัดกรองเบาหวาน ตลอดจนมีความเข้มงวดในการประเมินผลการปฏิบัติงานของ อสม.ที่เข้าร่วมโครงการ รวมถึงการกำกับดูแลโดยบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการตรวจวิเคราะห์ใน รพ.สต. อย่างใกล้ชิด ข้อควรระวังอย่างยิ่งคือการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อจากการเจาะเลือดฝอยจากปลายนิ้ว การรายงานผลการตรวจที่ถูกต้องและครอบคลุม นอกจากนี้ อสม.สามารถตรวจคัดกรองเบาหวานในพื้นที่ที่ได้รับผิดชอบเท่านั้น และห้ามนำไปใช้ดำเนินการในเชิงธุรกิจ

ทนพญ.สุนิสา ชูมี โรงพยาบาลนาโยง จ.ตรัง ให้ข้อคิดเห็นและขอแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่า การอบรม อสม. ที่มีทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ควรมีการจัดเวลาการอบรมให้เหมาะสม โดยอาจเพิ่มจำนวนวันให้มากขึ้น หรือ ขยายเวลาให้มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากได้ผลการประเมินระบุว่าเนื้อหาบรรยายมาก เวลาฝึกปฏิบัติน้อย อยากฝึกใช้เครื่องตรวจมากกว่าฟังเนื้อหา อยากให้เน้นการฝึกปฏิบัติ รวมถึงจำนวนผู้เข้าอบรมมากเกินไปทำให้การสอนไม่ทั่วถึง อสม. อาจไม่ได้รับความรู้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ เข้าใจว่างบประมาณในการจัดอบรม อสม. มีจำกัด หากต้องการคุณภาพมาตรฐานสูงขึ้นควรพิจารณาปรับปรุงระบบการอบรม เพราะ อสม. แต่ละรายมีข้อจำกัดในการเรียนรู้ นอกจากนี้ วิทยากรควรระวังและให้ความสนใจเป็นพิเศษ ในการใช้ภาษา และเทคนิคการพูด เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการฝึกอบรม

ทนพญ.มารีนา อับดุลหละ โรงพยาบาลคลองหอยโข่ง จ.สงขลา ให้ข้อคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ว่า อสม.มักจะละเลยเรื่องการควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ นอกจากนี้ อสม. ส่วนใหญ่อายุเฉลี่ยมากกว่า 45 ปี สายตาและความจำเป็นอุปสรรคต่อการฝึกปฏิบัติ นอกจากนี้การอบรมที่เว้นระยะนานๆ ทำให้หลงลืมด้านทักษะ รวมถึงการที่ต้องทำงานเป็นทีมประกอบด้วยผู้เจาะเก็บเลือด 1 คน ผู้บันทึกผล 1 คน สังเกตว่ามีความวุ่นวายอาจก่อให้เกิดความความผิดพลาดได้ง่าย ทั้งนี้ยังพบว่า มีผู้ป่วยกลับมาติดต่อที่โรงพยาบาลเพื่อขอตรวจซํ้าเนื่องจากไม่เชื่อมั่น บางรายตื่นตระหนกกับผลตรวจเนื่องจาก อสม.บางคนรายงานและแปลผลเลย ซึ่งเกิดจากยังขาดความตระหนักในขอบเขตหน้าที่ของตนเอง นอกจากนี้มีงานวิจัยของนางสาวปฤษฐพร กิ่งแก้ว นักวิจัยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ เรื่อง“การคัดกรองเบาหวานแบบไหนเหมาะสมที่สุดสำหรับกับคนไทย” ผลสรุปคือการใช้แบบสอบถามคัดกรองความเสี่ยงและการเจาะเลือดจากเส้นเลือดดำเพื่อยืนยันเป็น วิธีที่คุ้มค่าและมีต้นทุนตํ่าที่สุด

ทนพ.จตุรวิทย์ วรุณวานิชบัญชา โรงพยาบาลสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ให้ข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่า โรงพยาบาลหลายแห่งยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของการที่ อสม.ควรได้รับการอบรม เพราะไม่มีการแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรถึงโรงพยาบาลต่างๆ โดยตรง มีเพียงการแจ้งผ่านสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และ สสจ. บางแห่งไม่ให้ความสำคัญ อาจเกี่ยวเนื่องกับเรื่องของงบประมาณ นักเทคนิคการแพทย์ที่ทำหน้าที่เป็นครู ก. จึงจัดอบรมเฉพาะในเขตพื้นที่ตนเอง นอกจากนี้ศูนย์สุขภาพชุมชนไม่ให้ความร่วมมือเพราะคิดว่าเคยทำได้ดังนั้น จึงเห็นว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีหนังสือเวียนไปยังโรงพยาบาลทุกแห่งให้ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้บริการที่ถูกต้องตามมาตรฐาน สถานการณ์ปัจจุบันยังพบมี อสม. ที่ยังไม่ได้รับการอบรมแต่ทำหน้าที่เจาะเลือดเป็นจำนวนมากนอกจากนี้ จากการหาข้อมูลโดยการพูดคุยกับ อสม. พบมีเหตุผลอื่นร่วมด้วยเช่น อสม. ไม่อยากทำหน้าที่เจาะเลือด ไม่มีค่าตอบแทน ไม่มีแรงจูงใจในหน้าที่เพิ่มเติมส่วนนี้ จึงมี อสม.เพียงไมกี่รายที่เป็นผู้รู้แ้ ละปฏิบัติจริง ดังนั้นจึงควรเพิ่มการฝึกและบังคับใช้ระเบียบอย่างจริงจัง

ทนพ.สุทัศน์ บุญยงค์ โรงพยาบาลนครปฐม จ.นครปฐม ให้ข้อคิดเห็นว่า อสม. บางราย ไม่สามารถไปปฏิบัติงานได้จริง เช่น อ่านหนังสือไม่ออก อายุมาก ไม่มีความมั่นใจ หรือไม่เต็มใจเข้าร่วมกิจกรรม เครื่องมือในการตรวจนํ้าตาลปลายนิ้วมีการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา ทำให้เป็นปัญหาในการปฏิบัติงาน ทั้งด้านความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ การอ่านผลการทดสอบและแผ่นทดสอบที่แตกต่างกัน การแปลผลการทดสอบ มีหลายอย่าง เช่น ช่วงค่านํ้าตาลปกติ ช่วงค่านํ้าตาลก้ำกึ่งเบาหวาน หรือชว่ งคา่ น้ำตาลสูง ซึ่งมีบริบทในการแนะนำผู้รับบริการที่แตกต่างกัน การอบรมในระยะเวลาช่วงสั้นๆ จึงทำให้ไม่สามารถเข้าใจได้ทั้งหมด หลังการอบรม ควรมีการติดตามผลเป็นระยะ เช่น เมื่อออกไปคัดกรองประชาชนในหมู่บ้า้นต้องระบุให้ไ้ด้ว่า่ มีผู้ป่วยกี่รายที่ได้รับการคัดกรองแล้ว เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล หรือเพียงรู้ผลตรวจคัดกรองแต่ไม่ได้ตรวจยืนยันที่โรงพยาบาล โดยภาพรวม ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีหากดูจากจำนวนผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งหากมีการจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง สมํ่าเสมอ จะทำให้การปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขมีประสิทธิภาพ ประชาชนในชนบทรู้จักการดูแลสุขภาพมากขึ้น โรงพยาบาลศูนย์มีจำนวนคนไข้ลดลง ส่งผลให้โรงพยาบาลมีเวลามากขึ้นในการดูแลรักษาคนไข้ระดับทุติยภูมิและตติยภูมิ

ทนพญ.ธันวา หมวกเมือง โรงพยาบาลเนินมะปราง จ.พิษณุโลก ให้ข้อคิดเห็นแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่า ที่ผ่านมาการจัดการอบรม ดำเนินการเป็นอิสระในแต่ละอำเภอ ขึ้นกับการบริหารจัดการของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.) ซึ่งกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ในแต่ละแห่งมีความเข้มแข็งทางวิชาการแตกต่างกัน จึงมีวิธีและมาตรฐานการทำงานที่หลากหลาย เกิดข้อเปรียบเทียบและโต้แย้งระหว่างในกลุ่มผู้ปฏิบัติงาน รพ.สต และ อสม. ถึงทิศทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังนั้นเมื่อสภาเทคนิคการแพทย์ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขผลักดันรูปแบบการอบรมที่เป็นมาตรฐานขึ้น จึงใช้เป็นแนวทางที่ชัดเจน ลดความแตกต่าง และเป็นโอกาสให้ระบบคุณภาพเข้าไปถึงพื้นที่ ถึงตัว อสม. อย่างไรก็ตาม การปฏิบัติงานที่ถูกต้องและเหมาะสม ยังต้องอยู่ภายใต้กระบวนการกำกับดูแลประเมินผลและปรับปรุงให้เหมาะสมตามสภาพพื้นที่และงบประมาณ สำหรับ อสม. ในพื้นที่ มีความกระตือรือร้นในระดับปานกลาง ถึง มากที่จะเข้ารับการอบรม เพราะเป็นสิ่งใหม่สำหรับ อสม. แต่ด้วยจำนวน อสม.ที่มาก และ เครื่องตรวจนํ้าตาลจากปลายนิ้วมีความหลากหลาย จึงเป็นเรื่องท้าทายที่ทำอย่างไร ให้ทั่วถึง ต่อเนื่อง และยั่งยืน เพราะที่ผ่านมา รพ.สต.และ ส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนเครื่องตรวจหลากหลายชนิดที่มีการใช้งานต่างกัน แต่แทบจะไม่ใส่ใจระบบคุณภาพ จึงเกิดคำถามว่า ทำไมต้องทำ ดังนั้นในระดับนโยบาย ควรมีตัวชี้วัดที่สามารถสะท้อนการทำงานอย่างมีคุณภาพของ อสม. เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญ และจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบคุณภาพของการตรวจนํ้าตาลจากปลายนิ้ว

ทนพญ. ลำไพร มุ่งแสง โรงพยาบาลบ้านผือ จ.อุดรธานีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ว่าเป็นโอกาสดีของบุคลากรกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ ในการออกไปทำงานในบริบทอื่นบ้างนอกจากงานประจำ และด้วยหลักสูตรการอบรมที่ใช้เวลา 7 ชั่วโมง จึงทำให้มีโอกาสใกล้ชิดและประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรในเชิงเทคนิคของ อสม. ที่เข้าร่วมอบรม สิ่งที่พบคิดว่าเป็นอุปสรรคที่ต้องร่วมกันแก้ไขคือ 1) อสม. ส่วนใหญ่ คิดว่าตัวเองสามารถตรวจเลือดปลายนิ้วเป็นแล้วจึงไม่ให้ความสนใจ แต่จากการสอบถามพูดคุยทำให้รู้ว่า่ อสม. ยังไมมี่ความมั่นใจว่าทำได้ถูกต้อง วิทยากรจึงปรับรูปแบบของการสอนเพื่อทบทวนในส่วนที่ยังไม่มั่นใจและใช้ระบบการประเมินทักษะต่อหน้าวิทยากรเพื่อประเมินเชิงเทคนิค เพื่อรับรองการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย 2) อสม. บางส่วนยังไม่เข้าใจโดยเฉพาะศัพท์ภาษาอังกฤษที่ปรากฎในเครื่องมือและชุดตรวจ บางส่วนรู้เนื่องจากเข้าใจและสามารถอ่านได้ แต่หลายคนรู้ได้จากการจดจำลักษณะของตัวอักษร มิใช่จากการรู้ภาษาอังกฤษ นอกจากนี้ยังพบปัญหาในการสื่อสารและการใช้ภาษาที่ใช้ฝึกอบรม วิทยากรควรใช้ภาษาถิ่นเพราะเข้าใจได้ง่าย 3) อสม.ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ เริ่มมีอุปสรรคจากสายตาและการมองเห็น ร่วมกับเครื่องมือและชุดทดสอบมีเอกสารกำกับขนาดเล็กมาก ทำให้มองไม่เห็น หรือเห็นไม่ชัดเจน หรือไม่เข้าใจโดยเฉพาะเรื่องวันหมดอายุ ตัวอยา่ งที่ยืนยันไดคื้อผูเ้ ขา้ รับการอบรมนำชุดตรวจที่หมดอายุแล้ว มาใช้ใ้ นการฝึกปฏิบัติการเรียนรู้ 4) ปัญหาด้า้นการจัดการอบรม การเดินทางและสถานที่ และงบประมาณในการจัดการ แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนเห็นตรงกัน คือผลที่ได้รับกลับมาคุ้มค่ามากกว่า ทำให้สายงานเทคนิคการแพทย์ มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ อสม. มีโอกาสได้ทำงานร่วมกัน ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดกระบวนการคุณภาพในดูแลประชาชนผ่านทางพี่น้อง อสม. เมื่อโครงการเสร็จสิ้นวิทยากรเชื่อว่าพี่น้อง อสม. จะสามารถเจาะเลือดปลายนิ้วได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานที่ได้รับการอบรม ซึ่งต้องมีการติดตามผลและประเมินปรับแก้ไขต่อไป โดยเน้นมาตรฐานและความถูกต้อง

ทนพญ.จงกล ส่อนนารา โรงพยาบาลสร้างคอม จ.อุดรธานี ให้ข้อคิดเห็นและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านต่างๆ ได้แก่ 1) การจัดหาแถบทดสอบตรวจนํ้าตาลในเลือด ผู้จัดซื้อควรตกลงกับบริษัทผู้ขาย/ผู้ผลิตในการสนับสนุนสารควบคุมคุณภาพ และการบำรุงรักษา รวมถึงการเปลี่ยนเครื่องกรณีมีปัญหา เนื่องจาก ส่วนใหญ่บริษัทผู้ผลิตจะรับประกันเครื่องตรวจตลอดอายุการใช้งาน แต่ผู้ใช้ คือ อสม.ไม่ทราบว่าสามารถเปลี่ยนได้ ในเบื้องต้นวิทยากรได้แนะนำให้ติดต่อกับห้องปฏิบัติการ กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลที่เป็นพี่เลี้ยงเพื่อช่วยประสานงานให้ 2) การฝึกอบรมควรกำหนดสัดส่วน ครู ก/ครู ข เทคนิคการแพทย์ต่อผู้เข้ารับการอบรมให้ชัดเจน เพื่อให้การดูแลการฝึกปฏิบัติได้ทั่วถึง 3)จัดระบบการประสานงานและกำหนดงานในความรับผิดชอบให้ชัดเจน ระหว่างผู้จัด รพ.สต.พี่เลี้ยง และ อสม.ที่เข้าฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความราบรื่นในการฝึก อสม.ใหม่ ซึ่งหากได้รับการฝึกจากครู ก. เทคนิคการแพทย์โดยตรงจะทำให้ อสม. นั้นสามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องและมีคุณภาพมากกว่าฝึกจากบุคลากรสายงานอื่น สำหรับการแปลผลการตรวจคัดกรองนั้น อสม.ควรมีความสามารถในการเชื่อมโยงกับระบบบริหารจัดการของเบาหวาน เช่น ปิงปองจราจรชีวิต 7 สีตามระดับความรุนแรง แบ่งตามกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มที่เป็นโรคและกลุ่มมีโรคแทรกซ้อน เพื่อให้คำแนะนำเบื้องต้นต่อผู้รับการตรวจ และแนวทางในการปฏิบัติต่อไปได้ นักเทคนิคการแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนทุกคน ควรผ่านหลักสูตรนี้ หรือ ร่วมสังเกตการณ์ ดูแลในการฝึกปฏิบัติ เพื่อร่วมเรียนรู้ ร่วมกับ อสม. เนื่องจาก อสม.เป็นผู้มีทักษะความรู้ที่สั่งสมภายในตัวเองสูง (tacid knowledge) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะช่วยเพิ่มทักษะปฏิบัติงาน การยอมรับ นับถือ และสามารถจัดระบบการควบคุมคุณภาพการใช้เครื่องตรวจนํ้าตาลจากปลายนิ้ว ได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อประชาชนผู้รับบริการต่อไป

ผลจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ สามารถสรุปเป็นแนวทางการปรับปรุงพัฒนาได้ดังนี้ 1) นักเทคนิคการแพทย์ควรให้เวลาอย่างเพียงพอในการจัดฝึกอบรมและประเมินผลอย่างเข้มข้นเป็นรายบุคคล โดยเฉพาะการเน้นยํ้าบทบาทเรื่องให้การรายงานผลเท่านั้นมิใช่ให้แปลผลหรือวินิจฉัย 2) การควบคุมและป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจาก อสม.มีความหลากหลายทั้งคุณวุฒิ วัยวุฒิ 3) ควรมีการประสานงานโดยเร็วกับสำนักงานสาธารณสุขอำเภอ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานภายหลังการฝึกอบรม ทั้งนี้คาดว่า อสม.จะได้มีความรู้ ความเข้าใจสามารถปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐานตามที่หลักสูตรกำหนด ส่วนนักเทคนิคการแพทย์ก็ได้แสดงศักยภาพในการทำงานลงลึกถึงหน่วยบริการระดับปฐมภูมิและได้ทำงานร่วมกับ อสม.ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็คือทำให้ประชาชนรู้จักวิชาชีพเทคนิคการแพทย์มากขึ้นนั่นเอง






*********************************
ที่มา : https://www.facebook.com/Medtechtoday?fref=ts