ผู้เขียน หัวข้อ: ประชุมเครือข่ายวิชาการสุขภาพเขต 4 สนับสนุนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ  (อ่าน 1266 ครั้ง)

ออฟไลน์ Por-MedTech

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1192
    • อีเมล์
ประชุมเครือข่ายวิชาการสุขภาพเขต 4 สนับสนุนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ



สปสช.เขต 4 สระบุรีจับมือกับ เขตสุขภาพที่ 4 จัดประชุมเครือข่ายนักวิชาการของสถาบันการศึกษาในเขต เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ สร้างความร่วมมือในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพและนำไปสู่ประชาชนมีระบบบริการสุขภาพที่ดี

เมื่อวันที่ 16 ธ.ค.2558 ณ ห้องประชุม สปสช.เขต 4 สระบุรี เขตสุขภาพที่ 4 ร่วมกับ สปสช.เขต 4 สระบุรี ประชุมเครือข่ายนักวิชาการของสถาบันการศึกษา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 4 โดยมี นพ.ชลอ ศานติวรางคณา ผู้อำนวยการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เขต 4 สระบุรีเป็นประธานร่วมกับ นพ.ประสิทธิ์ชัย มั่งจิตร รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข นำเสนอที่มาของโครงการ เพื่อสร้างความร่วมมือในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ เป็นเครื่องมือในการต่อยอดด้านการเรียนการสอน เพื่อให้นักศึกษาที่เกี่ยวข้องด้านสุขภาพมีคุณภาพมากขึ้น เน้นให้นักศึกษาลงพื้นที่ สร้างการจดจำ สัมผัสสิ่งดีดีในชุมชน มีเครือข่ายสถาบันการศึกษาในพื้นที่ 8 จังหวัดกว่า 30 คนเข้าร่วมได้แก่ ผู้แทนจาก วพบ.นนทบุรี วพบ.สระบุรี วพบ.พระพุทธบาท วทก. คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ปทุมธานี คณะแพทย์ศาสตร์ มศว. คณะพยาบาลศาสตร์ มศว. คณะพละศึกษา มศว. คณะพยาบาลศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ เซนต์เทเรซา ผู้แทนจาก สสจ. และผู้แทนจาก รพ.

นพ.ชลอ กล่าวว่า คาดหวังว่าสถาบันการศึกษาจะเข้ามาร่วมในระบบสุขภาพมากขึ้น โดยขอให้มีแกนหลักเพื่อเคลื่อนต่อ การหารือในวันนี้หากมีการเคลื่อนต่อจะเห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน การทำงานร่วมกัน เห็นเป้าหมายร่วมกันคือประชาชน เช่น เรื่อง Open heart, new born ประเด็นสำคัญต้องมีจุดเริ่มก่อน โดยครั้งต่อไป ต้องเพิ่มศูนย์วิชาการต่างๆ ในพื้นที่ เช่น สถาบันวิชาการ ศูนย์อนามัย สคร. โดยต้องมีแกนหลักในการเคลื่อน ทิศทางในอนาคตเน้นทำงานเป็นเครือข่าย เคลื่อนด้วยพลังพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง หากไม่มีการเปลี่ยนแปลง ระบบจะไปไม่รอด หากสร้างเครือข่ายแล้วเคลื่อนไปด้วยกันจะเกิดรูปแบบการทำงานและระบบที่ยั่งยืน

นพ.ประสิทธิ์ชัย กล่าวต่อว่า ตามที่ นพ.ประเวศ วะสี ให้ทำ DHS Academy เนื่องจากประเทศไทยมีการรวมศูนย์การบริหาร การบริการทางวิชาการ ที่ส่วนกลางมากเกินไป โดยเฉพาะสถาบันวิชาการในคณะต่างๆ ใช้วิชาการที่เรียนมาในอดีตมาสอนนักศึกษาปัจจุบัน นักเรียนได้เรียนรู้กับอาจารย์และมีความรู้ตามที่อาจารย์สอน ทั้งนี้ในพื้นที่ จะ voice ว่า เด็กสมัยนี้ สู้รุ่นก่อนๆไม่ได้ มีการหารือใน สธ.ว่าจะทำอย่างไรที่จะเป็นพี่เลี้ยงให้วิทยาลัยพยาบาล (วพบ.) และในบทบาท สปสช.จะทำอย่างไร อาจารย์ประเวศ เคยเสนอรมว.สธ.และนายกรัฐมนตรีว่า การที่จะเดินต่อได้ ต้องหารือร่วมกันเพื่อให้เป็นรูปธรรม ซึ่งในเขต 4 ถือว่าโชคดีเป็นพื้นที่ที่หน่วยงานต่างๆ ต้องการส่งนักศึกษาสาขาต่างๆ เข้ามาฝึกงาน จึงมองว่าจะทำอย่างไรให้ใช้ประโยชน์ในพื้นที่อย่างเต็มที่ และพัฒนาพร้อมเรียนรู้ไปด้วยกัน การผลิต นศ.ที่เหมาะสม เสริมทักษะในบางเรื่องที่จำเป็น เช่น อุบัติเหตุ ถือเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากลิเบีย เรื่องผู้สูงอายุ ในอีก 20 ปี ตายกับเกิดจะพอๆ กัน ในอนาคตผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น และมีแนวโน้มระบบการเกษียณจะยืดอายุออกไปเป็น 65 ปี จึงต้องแสวงหาความร่วมมือจากทุกภาคส่วน โดยเฉพาะจากสถาบันการศึกษา

ทั้งนี้ข้อสรุปสาระสำคัญจากการประชุม เช่น ด้านความต้องการของสถานศึกษา ต้องการให้มีแหล่งฝึกและครูพี่เลี้ยงที่เป็นโมเดลที่ดี มีกระบวนการสร้างองค์ความรู้ และมีผลงานทางวิชาการ ด้านความต้องการของพื้นที่ การฝึกงานที่เน้น Context based ไม่ยึดติดกรอบมากเกินไป นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายเพื่อพัฒนาคุณภาพบริการในพื้นที่จริง โดยจะได้มีการประชุม workshop ร่วมกับฝ่ายการศึกษากับพื้นที่ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล resource ของแต่ละสถาบัน เพื่อหารูปแบบและเครื่องมือในการทำงานที่เน้นให้สร้างนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพให้สามารถทำงานในพื้นที่ได้อย่างเข้าใจตามบริบทของพื้นที่ และรองรับปัญหาสุขภาพในพื้นที่ โดยจะนำองค์ความรู้ของระบบหลักประกันสุขภาพ เข้าสู่หลักสูตรการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาในคณะที่เกี่ยวข้อง





************************************************
ที่มา : http://www.hfocus.org/news