ผู้เขียน หัวข้อ: เรื่อง เทคนิคในการทดสอบปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจนหมู่เลือด ครั้งที่ 6  (อ่าน 3738 ครั้ง)

ออฟไลน์ webmaster

  • Administrator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 3951
    • อีเมล์
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ
 เรื่อง เทคนิคในการทดสอบปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจนหมู่เลือด  ครั้งที่ 6
วันที่ 3-5 เมษายน 2556
ณ ห้องบรรยาย 2 (ชั้น 12) และห้องปฏิบัติการ (ชั้น 5) อาคาร 12 ชั้น คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
---------------------------------------

1. ชื่อโครงการ           ประชุมเชิงปฏิบัติการเทคนิคในการทดสอบปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจน       
หมู่เลือด  ครั้งที่ 6
2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ
          แขนงวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต ภาควิชาเทคนิคการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. หลักการและเหตุผล

          ปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจนของหมู่เลือด มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจัดหาเลือดที่ปลอดภัยให้กับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นหลักการพื้นฐานในการตรวจหมู่เลือดระบบต่างๆ (Red blood cell phenotyping) การตรวจความเข้ากันได้ของเลือด (Compatibility testing) การตรวจกรองหาแอนติบอดีต่อแอนติเจนของเม็ดเลือดแดง (Antibody screening) รวมถึงการตรวจแยกชนิดของแอนติบอดีเหล่านั้น (Antibody identification) นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ในผู้ป่วยเด็กซึ่งได้รับการวินิจฉัยภาวะ Hemolytic disease of the newborn (HDN)  และผู้ป่วยที่เกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์หลังการรับส่วนประกอบของเลือด (Transfusion reaction) ตลอดจนการเลือกและเตรียมส่วนประกอบของเลือดที่เหมาะสมและมีความปลอดภัยให้กับผู้ป่วย อย่างไรก็ตามในบางครั้งปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจนของหมู่เลือดที่ต้องการตรวจหาไม่ชัดเจนหรือมีปฏิกิริยาอ่อนลง จึงมีความจำเป็นต้องใช้เทคนิคต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ปฏิกิริยาเหล่านั้นชัดเจนขึ้น เช่น การใช้เทคนิคการดูดซับ (Adsorption) การแยกแอนติบอดีออกจากเม็ดเลือดแดง (Elution) และ และการใช้เอนไซม์(Enzyme treated red cells) เป็นต้น และเนื่องจากเทคนิคต่างๆ เหล่านี้ในบางห้องปฏิบัติการไม่ได้ทำเป็นงานประจำวัน โดยทั่วไปเมื่อเกิดปัญหาการตรวจปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจนของหมู่เลือด ผู้ปฏิบัติงานมักส่งตัวอย่างไปยังหน่วยงานอ้างอิง ซึ่งทำให้มีความยุ่งยาก เสียค่าใช้จ่าย เสียเวลา และสำคัญที่สุดคือผู้ป่วยต้องรอผลการตรวจ หากผู้ปฏิบัติงานสามารถตรวจได้เองในห้องปฏิบัติการ จะช่วยเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของหน่วยงาน และลดปัญหา ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี  เทคนิคต่างๆ เหล่านี้ แม้ว่าจะมีหลายขั้นตอนแต่เทคนิคไม่ยุ่งยากและสามารถทำได้ในห้องปฏิบัติการงานธนาคารเลือด เนื่องจากน้ำยาและสารเคมีที่ต้องการใช้ หาได้ง่ายและราคาไม่แพง หากผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจพื้นฐานและหลักการของวิธีการทดสอบ จะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีความเชื่อมั่นในผลการทดสอบ

              นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมยังจะได้ฟื้นฟูความรู้ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต และตามทันเทคโนโลยีปัจจุบันที่ช่วยให้การจัดเตรียมส่วนประกอบของเลือดที่มีความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยมากขึ้น จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อันเป็นการเพิ่มทักษะการปฏิบัติงาน และแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนร่วมงานจากหน่วยงานต่างๆ อีกด้วย

4. วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจนหมู่เลือด ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการตรต่างๆ ทางห้องปฏิบัติการธนาคารเลือด  ตลอดจนการเลือกและเตรียมส่วนประกอบของเลือดที่เหมาะสมแก่ผู้ป่วยประเภทต่างๆ
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบหลักการของวิธีการตรวจปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจนของหมู่เลือดต่างๆ รวมถึงเทคนิคต่างๆ ที่จำเป็นต้องใช้นอกเหนือจากงานประจำวันเพื่อให้สามารถตรวจหาปฏิกิริยาได้ดียิ่งขึ้น
3.    เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมสามารถนำความรู้ในเชิงปฏิบัติการที่ได้รับไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง
4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้ทราบถึงเทคโนโลยีปัจจุบันต่างๆ ที่นำมาใช้ในงานธนาคารเลือด เพื่อให้ได้ส่วนประกอบของเลือดที่มีความปลอดภัยมากขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมประชุมได้แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่างห้องปฏิบัติการธนาคารเลือด
​5. คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ
 
       นักเทคนิคการแพทย์ แพทย์ พยาบาล นักวิทยาศาสตร์การแพทย์ เจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ และ ผู้สนใจที่ปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์การบริการโลหิตของโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล และศูนย์บริการโลหิต
    ประชุมเฉพาะภาคบรรยาย                  ไม่จำกัดจำนวน
    ภาคบรรยายและปฏิบัติการ                 30  คน (จำกัดจำนวนผู้เข้าประชุมภาคปฏิบัติการ)
6. ระยะเวลาในการประชุม

          3 วัน   ระหว่างวันที่ 3-5 เมษายน 2556

7. สถานที่จัดประชุม

-  ห้องบรรยาย 2 (ชั้น 12)   อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการ 12 ชั้น (ภาคบรรยาย)
-  ห้องปฏิบัติการแขนงวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต (ชั้น  5) อาคารเรียนและปฏิบัติการ 12 ชั้น
   คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
8. วิธีการจัดประชุม

          1. บรรยาย                          1 ½     วัน
          2. บรรยายและปฏิบัติการ         3        วัน
9. ค่าลงทะเบียน

          1. ภาคบรรยาย                     2,000  บาท
          2. ภาคบรรยายและปฏิบัติการ    3,000  บาท

10. วิทยากร

          วิทยากรจากแขนงวิชาวิทยาศาสตร์การบริการโลหิต   ภาควิชาเทคนิคการแพทย์
คณะเทคนิคการแพทย์   มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11. คณาจารย์ผู้ควบคุมปฏิบัติการ (Staff)

 1.    รศ.ดร.ปรียานาถ วงศ์จันทร์
 2.    รศ.วารุณี คุณาชีวะ
    3.     ผศ.ดร.เพ็ญนภา คลังสินศิริกุล
    4.     อ.ดร.พูนทรัพย์ ผลาขจรศักดิ์
    5.     คุณนที พรหมสง่า
12. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

    1.  ผู้ร่วมประชุมทราบถึงหลักการพื้นฐานของปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจนหมู่เลือด การเกิดปฏิกิริยาอันไม่พึงประสงค์หลังการรับ
       ส่วนประกอบของเลือด ตลอดจนการเลือกและเตรียมส่วนประกอบของเลือดที่เหมาะสมและปลอดภัยให้กับผู้ป่วย
    2.  ผู้ร่วมประชุมทราบหลักการพื้นฐานของการตรวจปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจนของหมู่เลือด วิธีตรวจกรองและวิธีตรวจแยก
        ชนิดของแอนติบอดีหมู่เลือด เทคนิคต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มปฏิกิริยาของแอนติบอดีและแอนติเจนหมู่เลือด
    3.   ผู้เข้าร่วมประชุมได้เพิ่มพูนความรู้และทราบถึงเทคโนโลยีที่เป็นปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับงานธนาคารเลือด
    4.   ผู้ร่วมประชุมได้ฝึกปฏิบัติการ และสามารถตรวจกรอง แยกชนิด และใช้เทคนิคต่างๆ ในการเพิ่มปฏิกิริยาระหว่างแอนติบอดีและแอนติเจน
        หมู่เลือดได้อย่างถูกต้อง โดยมีการแปลผลเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงและมีประสิทธิผลในห้องปฏิบัติการที่รับผิดชอบอยู่
 

ข้อมูลจาก http://www.ams.cmu.ac.th