ผู้เขียน หัวข้อ: ยาเบาหวาน ซื้อทานเอง ปลอดภัยจริงเหรอ?  (อ่าน 2635 ครั้ง)

ออฟไลน์ diabetes

  • medtech ปี 1
  • *
  • กระทู้: 1
ยาเบาหวาน ซื้อทานเอง ปลอดภัยจริงเหรอ?
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 24, 2022, 04:01:09 pm »
การรักษาเบาหวาน ด้วยการรับประทาน ยาเบาหวาน

โรคเบาหวาน ฟังคุ้นหูคนไทยเป็นอย่างดี เพราะมีคนไทยหลายรายเป็นโรคนี้กันเยอะมาก ที่สำคัญยังเป็นโรคที่ต้องรับประทาน ยาเบาหวาน เพื่อประคับประคองอาการไม่ให้ทรุดลงเท่านั้น ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่การพัฒนาด้านการแพทย์และยารักษาโรคก็ดีมากขึ้น ทำให้ยารักษาเบาหวานสามารถบรรเทาอาการจนแทบจะหายดี 100%



สารบัญ

  • ยาเบาหวาน สำหรับการรักษาเบาหวาน
  • ผู้ป่วยเบาหวานทุกราย จะต้องรับประทาน ยาเบาหวาน ทั้งหมดหรือไม่
  • ซื้อ ยาเบาหวาน มารับประทานเองได้หรือไม่
  • ยาเบาหวาน มีอะไรบ้าง
  • ผลข้างเคียงของยาเบาหวาน

ยาเบาหวาน สำหรับการรักษาเบาหวาน

เบาหวานนั้นถูกแบ่งออกเป็นหลายชนิด ซึ่งที่คนไทยเป็นกันส่วนใหญ่คือ เบาหวานชนิดที่ 2 ที่ต้องรับประทาน ยาเบาหวาน ในการประคับประคองอาการ ส่วนเบาหวานชนิดอื่นก็จะรักษาไปตามวิธีตามประเภทของเบาหวานที่เป็น แต่ก็ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละรายด้วยว่าใช่ว่าผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 จะได้รับประทานยาทั้งหมด

ผู้ป่วยเบาหวานทุกราย จะต้องรับประทาน ยาเบาหวาน ทั้งหมดหรือไม่

ถ้าหากสังเกตตัวเองว่ามีอาการคล้ายจะเป็นเบาหวานและได้รับการพิจารณาว่าเป็นเบาหวานระยะแรก อาจมีโอกาสหายขาดได้ ซึ่งแพทย์จะเลือกให้ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตก่อน โดยการปรับลดปริมาณอาหาร ลดน้ำตาล และออกกำลังกายปรับสมดุลให้กับร่างกาย แต่ถ้าหากพ้นระยะแรกมาแล้วจะต้องรับประทานยาควบคู่กับการปรับพฤติกรรมไปด้วย โดยแพทย์จะพิจารณาจาก อายุ ระดับความรุนแรงของโรค ระดับน้ำตาล ประสิทธิภาพของยา โรคอื่นๆ ของผู้ป่วยและราคาของยา

ซื้อ ยาเบาหวาน มารับประทานเองได้หรือไม่

การรักษาโรคเบาหวาน ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น หากใครคิดที่กำลังจะซื้อ ยาเบาหวาน มารับประทานเอง ต้องปรึกษาแพทย์ก่อนจะดีที่สุด เพราะตัวยาเบาหวานเป็นยาที่มีผลข้างเคียงต่อร่างกายค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่แล้วมีฤทธิ์ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดให้ต่ำลง ถ้าหากรับประทานเข้าไปอาจทำให้ร่างกายขาดน้ำตาลจนเกิดผลกระทบต่อร่างกาย มิหนำซ้ำถ้าหากตัวเรามีโรคประจำตัว ก็ยิ่งห้ามรับประทานยามั่วซั่ว เพราะยาเบาหวานมักจะมีผลกระทบต่ออวัยวะอื่นๆ ของร่างกายด้วยเช่นกัน ทางที่ดีที่สุดควรเข้ารับการรักษากับแพทย์

ลดน้ำตาล บอกลาเบาหวานได้ด้วยยาเบาหวานตัวเด็ด

ยาเบาหวาน มีอะไรบ้าง

ยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย  (Sulfonylureas)

ซัลโฟนิลยูเรีย มีฤทธิ์เข้าไปกระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน สารที่ลดน้ำตาลภายในร่างกายและควบคุมสมดุลของระดับกลูโคส หากรับประทานมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ มักใช้ร่วมกับยากลุ่มซัลฟาหรือยากลุ่มต้านอักเสบ

ยากลุ่มไบกัวไนด์ (Biguanides)

ไบกัวไนด์ มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกลูโคสและกระตุ้นการออกฤทธิ์ของอินซูลิน เพิ่มความสามารในการนำกลูโคสไปใช้งานของเซลล์เนื้อเยื่อ แพทย์มักจะพิจารณาให้ยากลุ่มนี้แก่ผู้ป่วยเบาหวานที่มีไขมันในเลือดสูง เพราะยาตัวนี้จะเข้าไปช่วยลดระดับไขมันในเลือด และใช้กับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน เพราะยาตัวนี้จะช่วยลดน้ำหนักได้ด้วย

ยากลุ่มเมกลิทิไนด์ (Meglitinides)
เมกลิทิไนด์ มีฤทธิ์กระตุ้นตับอ่อนให้หลั่งอินซูลิน คล้ายกับยากลุ่มซัลโฟนิลยูเรีย มีฤทธิ์ใกล้เคียงกันและสามารถใช้แทนกันได้ในกรณีที่ขาดแคลนยา

ยากลุ่มกลิตาโซน (Glitazone)
ลุ่มกลิตาโซน มีฤทธิ์กระตุ้นอินซูลินให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เซลล์กล้ามเนื้อนำกลูโคสไปใช้งานได้ดีขึ้น

ยากลุ่มยับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส (Alpha-glucosidase inhibitors)
เป็นกลุ่มยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่ใช้ในการย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาล จึงช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสดลือดได้ นิยมใช้ยากลุ่มนี้เป็นยาเสริมยารักษาเบาหวานกลุ่มอื่น ๆ

ผลข้างเคียงของยาเบาหวาน

อย่างที่ได้กล่าวไปว่า ยาเบาหวาน มีฤทธิ์ทำให้น้ำตาลในเลือดต่ำ หลังรับประทานแล้วอาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้ ซึ่งจะทำให้มีอาการเวียนหัว ใจหวิว เนื้อตัวสั่น หน้ามืด ตาลาย หากมีอาการหนักอาจทำให้หมดสติได้ โดยสามารถประคองอาการด้วยการรับประทานขนมหวานหรือน้ำตาล โดยจะเกิดขึ้นเมื่อรับประทานยาในปริมาณเกินกว่าแพทย์กำหนดไว้ รับประทานอาหารน้อยเกินไป หรือมีระดับน้ำตาลในเลือดที่น้อยอยู่แล้ว

สรุป

ยาเบาหวาน แม้อาจจะไม่ได้รับประทานเพื่อรักษาให้หายขาด แต่ก็สามารถประคับประคองอาหารจนเกือบหายดี 100% ได้ ถ้าหากอยู่ในการดูแลของแพทย์ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเองเนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ส่งผลกระทบไม่ดีต่อร่างกาย ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาอาการเบาหวานอย่างถูกต้อง

อ้างอิงบทความสุขภาพจาก : https://www.dmthai.org/index.php/knowledge/for-normal-person/diabetes-ebook/1072-53-1-2564