ผู้เขียน หัวข้อ: นอนกรนเพชฌฆาต (ไม่) เงียบ  (อ่าน 329 ครั้ง)

ออฟไลน์ tikky

  • Global Moderator
  • medtech ปี เอก
  • *****
  • กระทู้: 1985
นอนกรนเพชฌฆาต (ไม่) เงียบ
« เมื่อ: มกราคม 10, 2013, 11:51:58 am »
นอนกรนเพชฌฆาต (ไม่) เงียบ
 

นอนกรนเพชฌฆาต (ไม่) เงียบ


เสียงกรนเกิดจากเหตุและปัจจัยมากมายหลายอย่างแต่สาเหตุสำคัญที่นำไปสู่การกรนก็คือ โรคความดันโลหิต เบาหวาน โรคหัวใจ โรคนอนกรน รวมถึงโรคอ้วน โดยเสียงกรนจะเกิดจากการที่อากาศเคลื่อนตัวผ่านทางเดินหายใจที่แคบลง เช่น บริเวณที่มีเนื้อเยื่ออ่อน นุ่ม หรือหย่อนเกินไปหรือบริเวณที่ไม่มีอวัยวะส่วนแข็งค้ำยัน ซึ่งเป็นบริเวณที่สามารถเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจได้ง่าย เช่น ส่วนเพดานอ่อน ลิ้นไก่ โคนลิ้น กล้ามเนื้อ และเยื่อบุของลำคอ

อาการของโรคคนนอนกรนมีอยู่ 2 ประเภท คือ

- อาการนอนกรนธรรมดา ซึ่งไม่อันตราย เพราะจะไม่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ


- อาการนอนกรนอันตราย ซึ่งจะส่งผลร้ายต่อสุขภาพ เพราะอาจจะเกิดการหยุดหายใจขณะหลับ นอกจากนี้ยังทำให้ผู้ป่วยนอนหลับไม่สนิท สะดุ้งตื่นเป็นช่วงๆ จึงไม่ได้พักผ่อนเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลต่อการทำกิจกรรมในช่วงเวลากลางวัน เช่น การเรียน การทำงาน


สำหรับการรักษาผู้ที่มีอาการนอนกรน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ จำเป็นที่จะต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่เหมาะสม โดยแบ่งการรักษาออกเป็น 3 วิธีคือ


การรักษาโดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งเป็นวิธีแรกที่แพทย์จะแนะนำแก่ผู้ป่วย โดยเริ่มจากการลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยานอนหลับ ฯลฯ รวมถึงการปรับเปลี่ยนท่านอน โดยไม่ควรนอนหงาย


การรักษาโดยใช้เครื่องหายใจขณะนอน ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวจะช่วยให้ทางเดินหายใจโล่งขึ้น ลดการอุดกั้นขณะนอนหลับ


การรักษาโดยวิธีผ่าตัด หากทั้ง 2 วิธีข้างต้นไม่สามารถทำให้อาการนอนกรนดีขึ้น การผ่าตัดเพิ่มขนาดของทางเดินหายใจส่วนบนจะเป็นอีกทางหนึ่งในการรักษา เพื่อแก้ไขการอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจโดยแพทย์จะวินิจฉัยชนิดและตำแหน่งของการอุดกั้นทางเดินหายใจและเลือกวิธีที่เหมาะสม แต่การผ่าตัดนั้นจะแก้ไขได้เพียงจุดเดียว ซึ่งอาจไม่ช่วยให้อาการดีขึ้น จึงอาจต้องมีการผ่าตัดซ้ำๆ เพื่อแก้ไขทางเดินหายใจส่วนที่แคบในบริเวณอื่น


นอกจากนี้ผู้ป่วยก็ต้องดูแลตนเองด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เพิ่มขึ้น

เพราะความอ้วนทำให้ไขมันไปสะสมอยู่รอบผนังช่องคอ ทำให้ส่วนนี้กลับมาแคบใหม่ และเป็นเหตุให้เกิดการนอนกรนและภาวะหยุดหายใจขณะหลับกลับมาเป็นเหมือนเดิม รวมถึงยังควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณทางเดินหายใจส่วนบนตึงตัว กระชับและชะลอการหย่อนยาน

เห็นไหมว่า ถึงอย่างไรการออกกำลังกายและการควบคุมน้ำหนักก็ยังเป็นตัวช่วยสำคัญอยู่ดี



นิตยสาร HealthToday