ผู้เขียน หัวข้อ: พบทารกป่วยต้อกระจก 4 รายต่อวัน จักษุแพทย์ ห่วงเด็กตาบอดตลอดชีวิต  (อ่าน 2000 ครั้ง)

ออฟไลน์ vt

  • medtech ปี เอก
  • ******
  • กระทู้: 530
    • อีเมล์


    รพ.เด็กเผยพบทารกป่วยต้อกระจก 4 รายต่อวัน จักษุแพทย์ ห่วงเด็กตาบอดตลอดชีวิต แนะพ่อแม่พาลูกมาตรวจตาหาความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด หากตรวจพบเป็นต้อกระจก พบจักษุแพทย์ทันที
       
       รศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์ ประธานราชวิทยาลัยจักษุแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาตาต้อกระจกที่เกิดในผู้สูงอายุวัยตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป มีสาเหตุมาจากความเสื่อมสภาพของสายตาแล้ว ขณะนี้พบปัญหาต้อกระจกในเด็กแรกเกิด เด็กเล็กถือว่าน่าเป็นห่วง ขณะนี้มีเด็กเล็กที่เข้ามาตรวจวัดสายตาเฉพาะในสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กทม.บางวันพบเด็กเป็นต้อกระจก 3-4 ราย ซึ่งพ่อแม่ควรจะตระหนักในเรื่องนี้ เพราะหากเป็นต้อกระจกแล้วไม่ได้รับการสลายเลนส์สายตาที่เสียออกแล้วใส่เลนส์เทียมโดยเร็ว โอกาสที่จะตาบอดตลอดชีวิตก็ยิ่งสูง
       
       “ผู้ใหญ่หลายคนที่มีปัญหาพิการทางสายตา เพราะเป็นต้อกระจกตั้งแต่วัยเด็ก แต่ด้วยเทคโนโลยีและความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบันกุมารแพทย์จะแนะนำให้ตรวจวัดสายตาและวินิจฉัยความผิดปกติตั้งแต่คลอดได้ราว 1 เดือน ถ้าเด็กเป็นต้อกระจกจะพบว่ามีจุดสีขาวที่ตาดำ แล้วเด็กจะรู้สึกระคายมัวๆ ทำให้ตาดำสั่นในจำนวนครั้งที่ถี่ขึ้น หากผู้ปกครองเห็นความผิดปกติควรพบจักษุแพทย์โดยเร็ว เพื่อจะได้นัดวันเวลาในการรักษาให้ทัน” รศ.นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวและว่า ต้อกระจกในเด็ก มีสาเหตุหลัก คือ 1. มารดาป่วยเป็นโรคหัดเยอรมัน 2 .เป็นเพราะกรรมพันธุ์ คือ ญาติหรือพี่น้อง เคยเป็นตาต้อกระจกมาก่อนแล้วถ่ายทอดสู่ทารก


ภาพประกอบข่าวจากอินเทอร์เน็ต

       เมื่อตรวจพบแล้วแพทย์จะสลายต้อแล้วเอาเลนส์เสียออก จากนั้นติดตามอาการพอเด็กอายุ 2 ขวบก็ใส่เลนส์เทียมทดแทนอวัยวะดั้งเดิมที่ขุ่นเป็นต้อซึ่งไม่ต้องเป็นภาระในการถอดล้างหรือทำความสะอาด และสามารถใช้ได้ตลอดชีวิตของผู้ป่วยเลย อย่างไรก็ดี ยังต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง เพราะบางรายมีปัญหาสายตาสั้นเพิ่มเข้ามาแพทย์แนะนำวิธีการรักษาแบบผู้ใหญ่ตามขั้นตอน
       
       รศ.นพ.ศักดิ์ชัย กล่าวว่า สำหรับขั้นตอนการรักษาปัญหาสายตาสั้น ในเบื้องต้นจักษุแพทย์จะแนะนำให้สวมแว่นก่อน เว้นแต่บางรายมีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น นักกีฬา ก็ควรใส่คอนแทกต์เลนส์ซึ่งผู้ป่วยหลายรายเลือกวิธีนี้ แต่ข้อควรระวัง คือ ต้องให้ความสำคัญกับการรักษาความสะอาด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อที่กระจกตา ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นเสียตาได้ การใช้คอนแทกต์เลนส์จึงควรได้รับการดูแลโดยจักษุแพทย์ แต่คนจำนวนมากไม่สามารถใส่คอนแทกต์เลนส์ได้ เนื่องจากการแพ้เลนส์
       
       ส่วนวิธีสุดท้ายที่ปลอดภัย แม่นยำและทันสมัยที่สุด คือ เลสิก หมายถึง วิธีการรักษาสายตาสั้นด้วยเลเซอร์ โดยทำการผ่ากระจกตาออกมาก่อน แล้วยิงเลเซอร์เข้าไปเพื่อปรับความโค้งของกระจกตาให้แบน แต่ข้อจำกัด คือ ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปีห้ามทำเพราะวิธีนี้ทำแล้วไม่สามารถปรับแก้ได้มากนัก และคนวัยดังกล่าวสายตายังไม่คงที่ ยังมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอีกผู้สูงอายุที่เป็นโรคต้อกระจก และผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) เพราะบางครั้งแผลจากโรค ก็ทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น เป็นแผลเป็น โต บวมมาบังแก้วตาดำอีก ผู้ป่วยอาการก็จะแย่ลง ดังนั้นทางที่ดีหากมีปัญหาเรื่องสายตาสั้น เอียงแนะนำว่าปรึกษาจักษุแพทย์ก่อนจะดีที่สุด